Skip to content Skip to footer

หม่อมราชวงศ์ เจริญสุข สุขสวัสดิ์

รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐศาสตร์

หม่อมราชวงศ์ เจริญสุข สุขสวัสดิ์ เป็นบุตรของหม่อมเจ้าชายกิติเดชขจร และหม่อมแส สุขสวัสดิ์ โดยหม่อมเจ้าชายกิติเดชขจร เป็นพระโอรสใน พลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดช ซึ่งเป็นพระราชโอรส องค์ที่ 27 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาจันทร์

หม่อมราชวงศ์ เจริญสุข สุขสวัสดิ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้รับ วุฒินิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปีพุทธศักราช 2506 ได้รับวุฒิบัตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บยส. รุ่น 3) จากวิทยาลัย การยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม วุฒิบัตรรับรองการเป็นทนายความ ผู้ทำคำรับรอง ลายมือชื่อเอกสาร และวุฒิบัตรหนังสือรับรองการเป็นทนายความคดีปกครอง ของสำนักคดีปกครอง สภาทนายความ ในปีพุทธศักราช 2546

หม่อมราชวงศ์ เจริญสุข สุขสวัสดิ์ เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้าน นิติศาสตร์เป็นอย่างสูง ดังจะเห็นได้จากการได้รับประกาศเกียรติคุณ ให้เป็น ทนายความดีเด่นจากสภาทนายความ ในปีพุทธศักราช 2552 และได้รับ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ในปีพุทธศักราช 2516 นอกจากนี้ ยังได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่ง กรรมการบริหาร สภาทนายความ ภาค 5 ระหว่างปีพุทธศักราช 2532-2547 ที่ปรึกษา สภาทนายความ ภาค 5 ทนายความหัวหน้า และเจ้าของสำนักงานกฎหมายและธุรกิจภาคพายัพ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมสภาทนายความ และคณะกรรมการคุ้มครอง ผู้บริโภคแห่งสภาทนายความ

นอกเหนือจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าวข้างต้นแล้ว หม่อมราชวงศ์ เจริญสุข สุขสวัสดิ์ ยังได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะอาจารย์พิเศษด้านกฎหมาย ใน สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาหลายแห่ง อาทิ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่และคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นอกจากนี้ ท่านยัง เป็นวิทยากรบรรยายความรู้ด้านกฎหมายให้แก่สถาบันและองค์กรหลายแห่ง และเป็น วิทยากรฝึกอบรมของสำนักฝึกอบรมสภาทนายความ

ในด้านการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม ท่าน คือ แบบอย่างของผู้ที่ เสียสละอย่างแท้จริง สังเกตได้จากการตั้งใจปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ดังตัวอย่างปัญหาของชาวม้ง จากจังหวัดน่าน ได้รับความทุกข์ยากและเดือดร้อน จากการที่สวนลิ้นจี่ถูกทำลายเสียหาย เหตุการณ์ครั้งนั้นสะเทือนใจทุกคน ชาวมังต้อง สิ้นทุนทรัพย์และผลผลิตทั้งหมด เวลาหกปีเต็มที่ทุ่มเทกำลังกายและกำลังใจ รวมทั้ง กำลังทรัพย์ เพื่อปลูกลิ้นจี่ให้มีผลงอกงาม แต่สิ่งที่ได้รับ คือ พื้นที่ทั้งหมดถูกทำลาย ชาวม้ง จึงขอความช่วยเหลือจากหม่อมราชวงศ์เจริญสุข สุขสวัสดิ์ เพื่อเรียกร้อง ความยุติธรรม ซึ่งท่านได้ช่วยเหลืออย่างเต็มกำลังความสามารถ จนในที่สุด รัฐบาลไทย ได้แก้ไขปัญหา จนชาวม้งได้รับการบรรเทาความเสียหายในภายหลัง นอกจากนี้ ยังได้รับคัดเลือกให้ปฏิบัติหน้าที่สำคัญในสังคม อาทิ ประธานองค์กรกลางการเลือกตั้ง จังหวัดเชียงใหม่ รองประธานคณะกรรมการองค์กรกลางการเลือกตั้งภาคเหนือตอนบน ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการเงินและการคลังวุฒิสภา ประธานสภาผู้ว่าการไลออนส์ สากล ภาค 310 ประเทศไทย ระหว่างปีพุทธศักราช 2552-2553 ผู้ว่าการไลออนส์ สากล ภาค 310-เอ 1 ปีพุทธศักราช 2547-2548 กรรมการบริหารโครงการพัฒนาสถานีตำรวจเพื่อประชาชน ระดับกองบัญชาการที่ปรึกษากรรมการบริหารโครงการ พัฒนาสถานีตำรวจเพื่อประชาชนระดับกองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค 5 ที่ปรึกษา ของหน่วยจราจร ตำรวจภูธร จังหวัดเชียงใหม่ และดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิรวมใจ อาสาสมัครป้องกันภัยพลเรือน (อปพร.) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ ปีพุทธศักราช 2543 จนถึงปัจจุบัน

ในส่วนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ หม่อมราชวงศ์ เจริญสุข สุขสวัสดิ์ ได้ให้ ความอนุเคราะห์แก่มหาวิทยาลัยเป็นอย่างสูง อาทิ การดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา คณะผลิตกรรมการเกษตร คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะกรรมการอุทธรณ์ และร้องทุกข์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะกรรมการตรวจสอบระบบงานและบริหารความเสี่ยง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นอกจากนี้ ท่านยังให้ความอนุเคราะห์แก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในด้านการให้คำปรึกษา เกี่ยวกับกฎหมาย

โดยที่ หม่อมราชวงศ์ เจริญสุข สุขสวัสดิ์ เป็นผู้มีผลงานทางวิชาการดีเด่น เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการด้านนิติศาสตร์ เป็นนักบริหารและนักกฎหมายที่มี จรรยาบรรณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมทุกระดับ และดำรงตนเป็นแบบอย่างทั้งด้านวิชาการและคุณธรรม สมควรได้รับพระราชทาน ปริญญา รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชา รัฐศาสตร์ เพื่อเป็นเกียรติประวัติ สืบไป

หมายเหตุ: ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 33 วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2554

Go to Top