Skip to content Skip to footer

นายนพดล ศิริจงดี

ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารการพัฒนา

นายนพดล ศิริจงดี สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเกษตรกรรม เชียงใหม่ (แม่โจ้) เมื่อปีพุทธศักราช 2513 มีประวัติการทำงาน อันยาวนานและมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานมาโดยตลอด กล่าวคือ เคยดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ อุตสาหกรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทกรุงเทพผลิตผล อุตสาหกรรมการเกษตร จำกัด ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจไก่ครบวงจร กทม. บริษัทกรุงเทพค้าสัตว์ จำกัด รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจไก่ครบ วงจร ซี.พี.อุตสาหกรรมอาหารส่งออก จำกัด รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจไก่ครบวงจร สระบุรี บริษัทกรุงเทพโปรดักส์ จำกัด (มหาชน) และ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธุรกิจไก่ครบวงจร โคราชและสระบุรี บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) ตามลำดับ

นายนพดล ศิริจงดี เป็นผู้ประสบความสำเร็จในงานอาชีพอัน เป็นแบบอย่างที่ดี ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการเกษตรด้วยการนำ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และนำเครื่องจักร ตลอดจนเครื่อง อุปกรณ์ที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรทั้งด้านฟาร์มและ โรงงาน มีส่วนร่วมที่สำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมการส่งออก ไก่เนื้อแช่แข็งและอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง ได้นำเอาระบบคุณภาพ สากลมาใช้จนสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีมีคุณภาพสูงและได้ มาตรฐานสากล สามารถเป็นสินค้าออกแข่งขันในตลาดโลก ทำให้มี เงินตราเข้าประเทศจำนวนมาก

นอกจากจะประสบความก้าวหน้าในอาชีพของตนแล้ว นายนพดล ศิริจงดี ยังเห็นความสำคัญของการศึกษา ได้ให้การส่งเสริมการดำเนิน โครงการฟาร์มทดลองการเลี้ยงไก่กระทง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และได้ ให้การส่งเสริมการดำเนินการโครงการสร้างฟาร์มทดลองแม่สุกร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตลอดจนมีการเผยแพร่ผลงานเพื่อประโยชน์ ของสาธารณชนในโอกาสต่างๆ อาทิ งานแสดงนิทรรศการ โครงการ BOI เพื่อชี้นำชุมชนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตไก่กระทงเพื่อการส่งออก ที่แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี งานแสดงนิทรรศการ โครงการเกษตรโลก (World Tech) ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา งานแสดงนิทรรศการ โครงการ BOI เพื่อชี้นำชุมชนเกี่ยวกับ อุตสาหกรรมการผลิตไก่กระทงเพื่อการส่งออก ที่เมืองทองธานี เป็นสมาชิกสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย และเข้าร่วมโครงการ พัฒนาสัมพันธ์การบริหารงานส่งกำลังบำรุง และการอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศรุ่นที่ 1 แสด4 โดยที่ นายนพดล ศิริจงดี เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ประสบ ความสำเร็จในอาชีพการงาน ได้เผยแพร่ความรู้สู่สาธารณชน และมี ส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรที่ส่งให้เกิดผลดีแก่สังคม ประเทศชาติโดยรวม นับเป็นบุคคลที่มีเกียรติประวัติและคุณสมบัติ เหมาะสม สมควรได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารการพัฒนา เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

หมายเหตุ: ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 27 วันจันทร์ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2548

Go to Top