Skip to content Skip to footer

นายนฤทธิ์ คําธิศรี

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ

นายนฤทธิ์ คำธิศรี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต สาขาวิชาประมง คณะผลิตกรรมการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้) จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อพุทธศักราช 2530 ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเทคโนโลยีการเกษตร แขนงวิชาเกษตรศาสตร์เชิงบูรณาการ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร เมื่อพุทธศักราช 2549 และปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาทรัพยากรเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อพุทธศักราช 2556

นายนฤทธิ์ คำธิศรี ดำรงตำแหน่งนักวิชาการประมง สำนักงานประมง จังหวัดสกลนคร เมื่อพุทธศักราช 2530 ดำรงตำแหน่งผู้จัดการฟาร์ม บริษัทแหลมทองอะควอเทค จำกัด อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อพุทธศักราช 2531 และได้ทำงานประจำเป็นเกษตรกรและวิทยากรเกี่ยวกับ การเกษตร (พืช สัตว์ ประมง) ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2540

นายนฤทธิ์ คำธิศรี เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในการทำการเกษตร ได้ศึกษาการปลูกพืชตามหลักวิชาการอย่างจริงจัง โดยศึกษาปริมาณน้ำฝน พันธุ์พืช หลักการปรับปรุงบำรุงดิน ศึกษาการทำการเกษตรแบบธรรมชาติ และภูมิปัญญา ท้องถิ่น ศึกษาดูงานส่วนเกษตรที่ประสบความสำเร็จทั่วประเทศ ได้เริ่มลงมือ ปลูกพืชโดยใช้หลักวิชาการผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น แบ่งพื้นที่การเกษตร เป็นพื้นที่ปลูกพืชและปศุสัตว์ ในส่วนการเกษตรตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้ดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรในรูปแบบเกษตรผสมผสาน ทั้งด้านการปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์และการประมง ที่เน้นการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นที่ ลูกรังให้เกิดความยั่งยืน เป็นแบบอย่างให้แก่เกษตรกรในการปรับเปลี่ยนความเชื่อ ว่า “ดินลูกรัง” ไม่สามารถใช้ปลูกพืชใดๆ ได้ ทำให้ต้นไม้ไม่เติบโต จากสภาพพื้นดิน ที่เป็นลูกรังซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ขาดน้ำในฤดูแล้ง ได้ปรับเปลี่ยนให้มีการจัดสรรพื้นที่ดินอย่างเหมาะสม มีการผลิตที่หลากหลาย เพื่อกระจายความเสี่ยง เน้นการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะอาหารของเกษตรกร โดยยึดหลักการที่ว่า ส่วนที่เหลือจากการบริโภคในครัวเรือนจึงนำไปขาย เน้นระบบการ ผลิตภายในฟาร์มแบบเกื้อกูลกัน และลดการพึ่งพิงปัจจัยการผลิตจากภายนอกให้ได้ มากที่สุด กิจกรรมทางการเกษตรของนายนฤทธิ์ คำธิศรี จึงเป็นการสร้าง ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้เป็นอันดับแรก (เศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน) เมื่อตนเองพอเพียงแล้วจึงถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน และสังคม โดยการใช้พื้นที่ภายในฟาร์มของตนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต

ผลงานทางวิชาการที่ดีเด่นของนายนฤทธิ์ คำธิศรี คือ การเป็นวิทยากร ให้ความรู้เกี่ยวกับการเกษตร (พืช สัตว์ ประมง) การจัดการทรัพยากรให้แก่ ประชาชน ข้าราชการ นักเรียน และนักศึกษาทั่วประเทศ โดยไม่รับค่าตอบแทน ตลอดจนใช้พื้นที่ฟาร์มเป็นจุดถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรแบบผสมผสาน และเป็นแหล่งเรียนรู้ในด้านการเกษตรอื่นๆ นำองค์ความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอด ให้แก่ชุมชน เปลี่ยนคนที่ไม่มีอาชีพการงานให้กลับมาเป็นคนที่มีอาชีพมั่นคงในชีวิต เป็นตัวอย่างเชิงประจักษ์แก่คนในชุมชน และเป็นแรงผลักดันให้คนในชุมชนหันมา ให้ความสำคัญกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยยึดหลักการพึ่งตนเอง นอกจากนี้ยังได้ขยายผลการทำการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่ผู้คนภายในพื้นที่ตำบลโพธิไพศาล โดยมีเกษตรกรปลูกพืชยืนต้นและทำสวนไม้ผล เพิ่มขึ้น 10 ราย และเลี้ยงสัตว์แบบกึ่งพัฒนาจำนวนมากกว่า 10 ราย นับว่า เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ครอบครัวเกษตรกรทั่วไป

นายนฤทธิ์ คำธิศรี เป็นผู้ที่มีความขยัน อดทน มีความรับผิดชอบ และอุทิศตนเพื่อชุมชนและสังคม โดยบำเพ็ญประโยชน์ในด้านต่างๆ อาทิ การดำรงตำแหน่งประธานเหรัญญิกกองทุนต่างๆ ภายในหมู่บ้าน จำนวน 9 กองทุน เป็นผู้ประสบความสำเร็จในวิชาชีพ ได้รับการยอมรับและยกย่องจนได้รับเกียรติคุณ ดีเด่น ให้เป็นปราชญ์ชาวบ้านแห่งเมืองสกลนคร เป็นคนดีเมืองสกล “เชิงประจักษ์” จากชมรมส่งเสริมคนดีเมืองสกล ได้รับรางวัล “คนดีแทนคุณ แผ่นดิน” (โครงการแทนคุณแผ่นดิน ปี 2555 : 36 ต้นแบบคนดีสู่ 60 ล้านคนดีไทย) รางวัล “เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด” จากมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด

ด้วยความรู้ความสามารถทางวิชาการ นายนฤทธิ์ คำธิศรี จึงได้รับรางวัล พระราชทานปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเทคโนโลยี การเกษตร แขนงวิชาเกษตรศาสตร์เชิงบูรณาการ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ สกลนคร จังหวัดสกลนคร เมื่อพุทธศักราช 2549 และปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาทรัพยากรเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อพุทธศักราช 2556

โดยที่ นายนฤทธิ์ คำธิศรี เป็นผู้ประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมในงาน วิชาชีพนั้นจนเป็นที่ยอมรับ เป็นประโยชน์และแบบอย่างที่ดีแก่คนทั่วไป และเป็น บุคคลต้นแบบที่ดำเนินตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง จึงนับเป็นบุคคลผู้มีเกียรติประวัติและคุณสมบัติเหมาะสมอย่างยิ่ง สมควรได้รับ พระราชทานปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยี การประมงและทรัพยากรทางน้ำ เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

หมายเหตุ: ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 37 วันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2558

Go to Top