Skip to content Skip to footer

นายพินิจ กังวานกิจ

ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชา การประมง

นายพินิจ กังวานกิจ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี การประมงบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปีพุทธศักราช 2511 จากนั้นในปีพุทธศักราช 2513 สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตร Certificate in Marine Fisheries Biology โดย ได้รับทุนของ SEAFDEC Fellowship in Marine Fisheries Development Centre ประเทศสิงคโปร์ ปีพุทธศักราช 2517 สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตร Certificate in Shrimp Culture Inglaiunulau OTCA Fellowship in Shrimp Hatcheries and Culture, Kagoshima Prefecture Fisheries Research Institute ประเทศญี่ปุ่น และในปี พุทธศักราช 2523 สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตร Certificate in Aquaculture Extension on Auburn University

หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นายพินิจ กังวานกิจ ได้เข้ารับราชการ เป็นนักวิชาการประมง สถานีประมง จังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2511-2520 ในปีพุทธศักราช 2520-2524 ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสถานีประมงน้ำกร่อย จังหวัดสตูล ในปีพุทธศักราช 2525 – 2534 ดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ องค์การอาหารและเกษตร ขององค์การสหประชาชาติ ประจำประเทศฟิลิปปินส์และ อินโดนีเซีย และในปีพุทธศักราช 2535  ได้ดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการ อาวุโส บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และดำรงตำแหน่งรองประธาน บริษัท CP AQUACULTURE (INDIA) CO.,LTD รวมทั้งในปัจจุบันยังดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาให้แก่องค์กรที่เกี่ยวข้องกับสัตว์น้ำอีกหลายแห่ง

นายพินิจ กังวานกิจ เป็นผู้มีผลงานดีเด่นในด้านการริเริ่มทางด้านวิชาการและ งานวิจัย อาทิ เป็นผู้ประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์กุ้งกุลาดำ เพาะพันธุ์ปลากะรัง โดยวิธีผสมเทียม คิดค้นวิธีการเร่งปลากะพงให้วางไข่โดยวิธีธรรมชาติ ริเริ่มการเลี้ยงปลา ทะเลในกระชัง เป็นผู้ปรับปรุงหลักสูตรและรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ให้แก่สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง และปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษด้านการเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำในสถาบันอุดมศึกษาหลายสถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ ในปีพุทธศักราช 2549 นายพินิจ กังวานกิจ ยังได้รับรางวัลเกียรติยศ “ผู้มีคุโณปการต่อการประมงไทย” จากกรมประมง

โดยที่ นายพินิจ กังวานกิจ เป็นผู้มีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ และ ประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมในงานวิชาชีพ จนปรากฏเป็นที่ยอมรับ เป็นประโยชน์และแบบอย่างที่ดีแก่คนทั่วไป เป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านการประมง ได้บำเพ็ญคุณ ประโยชน์ให้แก่สถาบันและสังคมอย่างกว้างขวาง นับเป็นบุคคลที่มีเกียรติประวัติและ คุณสมบัติเหมาะสม สมควรได้รับพระราชทานปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาวิชา การประมง เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

หมายเหตุ: ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 29 วันจันทร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2550

Go to Top