Skip to content Skip to footer

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสหวิทยาการเกษตร

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง สําเร็จการศึกษาจากโรงเรียน นายทหารชั้นผู้บังคับฝูง รุ่นที่ 55 เมื่อพุทธศักราช 2539 สําเร็จการศึกษา จากโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่นที่ 37 เมื่อพุทธศักราช 2533 สําเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยกองทัพอากาศ รุ่นที่ 33 เมื่อพุทธศักราซ 2541 จากนั้น สําเร็จการศึกษารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อพุทธศักราช 2546 สําเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 48 พุทธศักราช 2548 และสําเร็จการศึกษาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรังสิต พุทธศักราช 2556

ในด้านประวัติการทํางาน พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ดํารงตําแหน่ง เสนาธิการทหารอากาศ พุทธศักราช 2556 ตํารงตําแหน่งผู้บัญชาการ ทหารอากาศ พุทธศักราซ 2557 ต่อมาเมื่อพุทธศักราช 2558 ได้รับการ แต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบงานกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพลังงาน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ และสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม พุทธศักราช 2549 ได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ อีกทั้งดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พุทธศักราช 2560 ดํารงตําแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ สังคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงศึกษาธิการ และสํานักงานคณะกรรมการวิจัย แห่งชาติ นอกจากนี้ยังดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรงยุติธรรม

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง เป็นผู้บริหารที่ให้ความสําคัญในการวาง ระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้เชื่อมโยงกันอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่

ด้านการศึกษา ท่านดํารงตําแหน่งประธานคณะกรรมการบูรณาการ การบริหารจัดการปฏิรูประบบงานวิจัยและนวัตกรรม ผลักดันและให้ความสําคัญ กับการปฏิรูปงานวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ โดยการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง นำเสนอแผนยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม แห่งชาติ 20 ปี (พุทธศักราช 2560 – 2579) และนโยบาย Thailand 4.0 เพื่อนประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน นอกจากนั้น ท่านยังขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา โดยการผลักดันนโยบายการศึกษาแบบทวิภาคีที่เป็นการพัฒนาผู้เรียน ให้มีฝีมือ ความรู้ ความสามารถ ทันต่อเทคโนโลยี ตามความต้องการของสถานประกอบการ และนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ เน้นการลงมือปฏิบัติจริง โดยเชื่อมโยงกับแหล่งการเรียนรู้ใหม่ ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล และฐานข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

ในด้านการเกษตร พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ให้การสนับสนุน ให้มีการดําเนินการควบคุมปริมาณการผลิตสินค้าการเกษตรให้ตรงกับความ ต้องการของผู้บริโภคในแต่ละช่วงเวลา และให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์ การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พุทธศักราช 2560 – 2564 (ตามที่คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติได้ยกร่างและเห็นชอบในหลักการไว้ โดยมี ยุทธศาสตร์ 4 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1) ส่งเสริมการวิจัย การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้และนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ 2) พัฒนาการผลิตสินค้าและ บริการเกษตรอินทรีย์ 3) พัฒนาการตลาดสินค้าและบริการ การรับรองมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ และ 4) การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ โดยมีเป้าหมายให้ประเทศไทย เป็นผู้นําในระดับภูมิภาค ด้านการผลิต การบริโภค การค้าสินค้าและการบริการ เกษตรอินทรีย์ที่มีความยั่งยืนและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ด้านการคมนาคมขนส่ง พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ส่งเสริม การจัดทําแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 8 ปี โดยเฉพาะระบบการขนส่งทางราง ที่นอกเหนือจากโครงการรถไฟฟ้าในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 10 เส้นทางแล้ว ท่านยังสนับสนุนเรื่องการซ่อมแซม รถไฟระบบรางเดียวขนาด 1 เมตรที่มีอยู่ตั้งเต็ม ระบบรถไฟขนาตราง 1.435 เมตร ที่มีความเร็วปานกลาง และระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อสนับสนุนการพัฒนา ด้านเศรษฐกิจ โดยการเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งภายในประเทศและต่างประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นอกจากนี้ได้สนับสนุน การวางโครงข่ายเฟเบอร์ออพติค เชื่อมโยงการเข้าถึงข้อมูลไปยังพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ยุคดิจิทัล เพิ่มความสามารถในการแข่งขันและ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

โดยที่ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง เป็นผู้มีผลงานอันเป็นแบบอย่าง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมุ่งมั่นในการกําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบแสะ โครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อันนําไปสู่การพัฒนา ประเทศอย่างยั่งยืน จึงนับเป็นบุคคลผู้มีเกียรติประวัติและคุณสมบัติเหมาะสม สมควรได้รับพระราชทานปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชา สหวิทยาการเกษตร เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

หมายเหตุ: ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 40 วันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2561

Go to Top