Skip to content Skip to footer

พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล

พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารโทรคมนาคม (เกียรตินิยมเหรียญทอง) จากโรงเรียน นายร้อยพระจุลจอมเกล้า เมื่อพุทธศักราช 2533 ระดับปริญญาโท จํานวน 3 ปริญญา ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (Computer Communication Network) จาก สถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย (Georgia Institute of Technology) และสาขาวิชา วิศวกรรมสื่อสารและโทรคมนาคม (ระบบสื่อสารเคลื่อนที่และเซลลูล่า) (Mobile Communication Systems) จาก มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน (The George Washington University) ประเทศสหรัฐอเมริกา

พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ดํารงตําแหน่งที่สําคัญทางการทหาร อาทิ ผู้บังคับหมวด กองพันทหารสื่อสารที่ 1 รักษาพระองค์ เมื่อพุทธศักราช 2533 ต่อมาได้ปฏิบัติหน้าที่อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า สองวาระ คือ พุทธศักราช 2535 – 2538 และ พุทธศักราช 2543 – 2550 ภายหลังได้ดํารงตําแหน่งนายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจําเสนาธิการทหารบก เมื่อพุทธศักราช 2550 – 2551 ตําแหน่งที่สําคัญ ลําดับถัดมา คือ นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจํารองผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองบัญชาการกองทัพไทย

พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ เคยดํารงตําแหน่งประธาน กรรมการกิจการโทรคมนาคม และรองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

ในด้านวิชาการนั้น พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ เป็นผู้มีผลงาน วิชาการดีเด่น กล่าวคือ เป็นนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่จํานวนมาก และเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ อีกทั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการพิจารณาผลงานวิจัย ข้อเสนอโครงการวิจัยและพัฒนา พิจารณาผลงานวิจัย อีกทั้งได้รับทุนวิจัยจากสถาบันต่าง ๆ และได้รับรางวัล “นําเสนองานวิจัยดีเด่น” จากสถาบันวิชาการ ป้องกันประเทศ ประจําปีงบประมาณ 2558

พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้าน การสื่อสารและโทรคมนาคม โดยได้รับมอบหมายหน้าที่ที่สําคัญ ดังนี้ ได้ปฏิบัติงาน ในบริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) (CAT Telecom Public Company Limited) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยดํารงตําแหน่งที่สําคัญ คือ เลขานุการ ประธานกรรมการ บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) และตําแหน่งกรรมการกํากับดูแล การดําเนินงานและโครงการของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) นอกจากนี้ ยังดํารงตําแหน่งประธานโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการกํากับดูแลเรื่อง การบริหารคลื่นความถี่ด้วยเทคโนโลยี Dynamic Spectrum Allocation เพื่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย ภายใต้การสนับสนุนของ สํานักงาน คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กรรมการร่างหลักเกณฑ์ ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมผ่านดาวเทียมสื่อสาร และโครงข่ายสถานีวิทยุคมนาคมภาคพื้นดิน เป็นอนุกรรมการบริหารโปรแกรมเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ได้ใช้ความรู้ความสามารถด้านการ สื่อสารและโทรคมนาคม เพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของ เทคโนโลยี อาทิ เป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาศึกษาหามาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของเกมส์คอมพิวเตอร์ (ออนไลน์) เป็นที่ปรึกษาในคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (CIO Board) สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน เป็นกรรมการกําหนดและจัดสรร คลื่นความถี่ใหม่ ภายใต้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) อีกทั้ง เป็นกรรมการกําหนดนโยบายการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง และบริการเพื่อสังคม ภายใต้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ด้วยความสามารถด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม อันเป็นที่ประจักษ์จึงได้รับ การยกย่องจากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ ได้รับรางวัล Executive of the Year 2016 สาขานวัตกรรมด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม เมื่อพุทธศักราช 2558 และรางวัล “นักบริหารดีเด่นแห่งปี ประจําพุทธศักราช 2559” (Executive of the Year 2016) สาขานวัตกรรมด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม

โดยที่ พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน การสื่อสารและโทรคมนาคม มีผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน ได้ใช้ความรู้ ความสามารถในการขับเคลื่อนกิจการโทรคมนาคมของประเทศให้ก้าวหน้า ทันต่อ การเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ เป็นนักปฏิบัติที่ประสบความสําเร็จในงานวิชาชีพ จนปรากฏเป็นที่ยอมรับด้วยการยกย่องอย่างยอดเยี่ยม เป็นผู้เปี่ยมด้วยความรู้ ทางวิชาการและการวิจัยทางการสื่อสาร ดํารงตนเป็นประโยชน์และแบบอย่างที่ดี แก่บุคคลทั่วไป จึงนับเป็นบุคคลผู้มีเกียรติประวัติและคุณสมบัติเหมาะสมอย่างยิ่ง สมควรได้รับพระราชทานปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

Go to Top