Skip to content Skip to footer

นายธำมรงค์ ประกอบบุญ

ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการประมง

นายธำมรงค์ ประกอบบุญ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีวนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เคยเข้ารับการอบรมหลักสูตรนักบริหาร ระดับสูง รุ่นที่ 10 ในปีพุทธศักราช 2532 เข้ารับการอบรมหลักสูตรนัก บริหารการพัฒนาการเกษตรรุ่นที่ 3 ในปีพุทธศักราช 2533 และเข้ารับ การอบรมหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ว.ป.อ.) ในปีพุทธศักราช 2537 นอกจากนั้นเคยได้รับทุนฝึกอบรมของ U.S. National Park Service และทุนฝึกอบรมของ IUCN ประเทศสหรัฐอเมริกา

นายธำมรงค์ ประกอบบุญ เข้ารับราชการในตำแหน่งนักวิชาการป่าไม้ตรี กรมป่าไม้ในปีพุทธศักราช 2511 ดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัด เชียงใหม่ในปีพุทธศักราช 2525 ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติ ในปีพุทธศักราช 2529 ต่อมาในปีพุทธศักราช 2532 ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมป่าไม้ และในปีพุทธศักราช 2536 ดำรง ตำแหน่งอธิบดีกรมประมง จนกระทั่งดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์

นายธำมรงค์ ประกอบบุญ เป็นผู้มีผลงานวิชาการดีเด่นทั้งทาง ด้านวิชาการป่าไม้ และทางด้านวิชาการประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทาง ด้านวิชาการประมง ได้สนับสนุนโครงการวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ ชาติและประชาชน นานัปการ อาทิ โครงการเลี้ยงปลาเทร้าท์เชิงพาณิชย์ ซึ่งได้ทดลองเลี้ยง ที่ดอยอินทนนท์ และได้รับผลสำเร็จสมบูรณ์ในช่วง ระยะเวลาอันสั้น ทำให้เกษตรกรในพื้นที่สูงมีทางเลือกในอาชีพเพิ่มขึ้น และสิ่งสำคัญคือสามารถลดการนำเข้าปลาเทร้าท์จากต่างประเทศ ทำให้ ประเทศเสียดุลการค้าน้อยลง

โครงการเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำเพื่ออนุรักษ์ปลาไทยที่ใกล้สูญ พันธุ์โดยเฉพาะปลาหมูอารีย์ ซึ่งตกอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย โดยทำการศึกษาและเพาะขยายพันธุ์จนกระทั่งได้ผลสำเร็จในปีพุทธศักราช 2542

โครงการวิจัยและพัฒนาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบปิดและรีไซเคิล ซึ่งเป็นการเลี้ยงกุ้งแบบยั่งยืน ที่ไม่ทำลายแต่ช่วยฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและ ช่วยแก้ปัญหาสภาพแวดล้อม เนื่องจากการเลี้ยงกุ้งในระบบดั้งเดิมเป็น ระบบเปิด ที่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม เกิดการปนเปื้อนของสารพิษ และเชื้อโรคนานาชนิด ผลสำเร็จจากโครงการทำให้สามารถแก้ไขปัญหา การทำลายสภาพแวดล้อมจากการเลี้ยงกุ้ง และทำให้ประเทศไทยยังคง เป็นผู้นำการผลิตกุ้งกุลาดำของโลกต่อไป

นอกเหนือจากผลงานในด้านวิชาการแล้ว นายธำมรงค์ ประกอบบุญ เป็นบุคคลที่ ตระหนักถึงความสำคัญของเยาวชนและปัญหา ยาเสพติดว่า เป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่ต้องช่วยกัน ท่านจึงริเริ่มโครงการ เลี้ยงปลาต้านยาเสพติดขึ้นในปีพุทธศักราช 2542 ให้แก่เยาวชน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเยาวชนจากโรงเรียน กลุ่มเยาวชนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ และกลุ่ม เยาวชนที่เคยมีปัญหายาเสพติด ได้เรียนรู้เรื่องการเลี้ยงสัตว์น้ำและได้ทำ กิจกรรมต่างๆ ทำให้เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ สามารถเลี้ยงปลา เพื่อบริโภคในครัวเรือน สร้างรายได้จากการขายปลา มีกิจกรรมเพื่อ ความเพลิดเพลิน และมีเครือข่ายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
โดยที่นายธำมรงค์ ประกอบบุญ เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในด้านการประมง และเป็นผู้สร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคมและประเทศชาติ จนเป็นที่ยอมรับและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนทั่วไป นับเป็นบุคคลที่มี เกียรติประวัติและคุณสมบัติเหมาะสม สมควรได้รับพระราชทานปริญญา วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการประมง เพื่อเป็นเกียรติ ประวัติสืบไป

หมายเหตุ: ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 25 วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2546

Go to Top