Skip to content Skip to footer

นายทวารัฐ สูตะบุตร

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานทดแทน

นายทวารัฐ สูตะบุตร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชา วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมโยธา) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ (Soil Mechanics) จากสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชา วิศวกรรมศาสตร์ (Civil & Environmental Engineering) จากสถาบันเทคโนโลยี แห่งมลรัฐแมสซาชูเซตต์ (MIT) สหรัฐอเมริกา

ด้านการทำงาน นายทวารัฐ สูตะบุตร เป็นวิศวกรปิโตรเลียม กองเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมทรัพยากรธรณี เมื่อพุทธศักราช 2542-2544 โดยในพุทธศักราช 2544 นั้นเป็นเลขานุการ คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้ง บริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยด้วย ต่อมานายทวารัฐ สูตะบุตร ได้ทำงาน ในกระทรวงพลังงาน ในตำแหน่งดังนี้ เป็นหัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์ สำนักนโยบาย และยุทธศาสตร์ เมื่อพุทธศักราช 2545-2548 รักษาการผู้อำนวยการสำนัก ประชาสัมพันธ์ เมื่อพุทธศักราช 2548-2551 เป็นรองโฆษกกระทรวงพลังงาน เมื่อพุทธศักราช 2549-2550 เป็นผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ เมื่อพุทธศักราช 2549 – 2552 เป็นโฆษกประจำกระทรวงพลังงาน เมื่อพุทธศักราช 2550-2561 เป็นรองอธิบดี กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน เมื่อพุทธศักราช 2552-2557 เป็นรองปลัดกระทรวง เมื่อพุทธศักราช 2557-2558 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานนโยบาย และแผนพลังงานระหว่างพุทธศักราช 2558-2561 และตั้งแต่พุทธศักราช 2561 ถึงปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน

ด้านวิชาการ นอกเหนือจากผลงานด้านนโยบายและขับเคลื่อนแผนพัฒนา พลังงานของประเทศไทยแล้ว นายทวารัฐ สูตะบุตร ยังมีบทบาทในด้านการนำเสนอ ผลงานด้านวิชาการที่เชี่ยวชาญในระดับชาติหลายเรื่อง ทั้งผลงานเดี่ยวและผลงานร่วมกับนักวิชาการท่านอื่น เช่น เรื่อง The effect of temperature on the methanogenic activity in relation to micronutrient availability ตีพิมพ์ในวารสาร Energies เมื่อพุทธศักราช 2561 เรื่อง Evaluation on environmental impact from utilization of fossil fuel, electricity and biomass producer gas in the double-chambered crematories ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Cleaner Production เมื่อพุทธศักราช 2559 และเรื่อง Analysis of the biomass gasification-based shape of the crematory’s secondary chamber by using Computational Fluid Dynamics ตีพิมพ์ในวารสาร Analysis เมื่อพุทธศักราช 2557 เป็นต้น

ด้านผลงานอาชีพ นายทวารัฐ สูตะบุตร เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ อุทิศตนบำเพ็ญประโยชน์เพื่อประเทศชาติ เช่น เป็นผู้ส่งเสริมด้านการอนุรักษ์พลังงาน การจัดการพลังงาน นอกจากนั้นยัง ส่งเสริมในเรื่องของการพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนใหม่ เพื่อเสริมศักยภาพ ด้านพลังงานของประเทศไทยในรูปแบบของงานวิจัยและการพัฒนา โดยมี ผลงานเด่นของโครงการซึ่งแสดงถึงความสำเร็จอันเป็นแบบอย่างที่ดี ดังนี้ ได้ริเริ่ม นโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FIT) สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก แบบ SPP Hybrid Firm โดยเปิดให้ผลิตไฟฟ้า โดยผสมผสานได้มากกว่าหนึ่งประเภทจากพลังงานธรรมชาติ โดยใช้ระบบ ESS ร่วมได้ เพื่อช่วยลดความผันผวนของพลังงานทดแทนสร้างความมั่นคง ในระบบไฟฟ้า ทำโครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities-Clean Energy) เป็นหนึ่งในโครงการด้าน Energy 4.0 ที่จัดขึ้นเพื่อสนับสนุน หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัย องค์กรเอกชน ร่วมโครงการออกแบบและพัฒนาเมืองที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนารูปแบบ และโครงสร้างของเมือง การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ได้ทำเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน (Energy storage System : ESS) หนึ่งในโครงการขับเคลื่อนตามนโยบาย Energy 4.0 ของกระทรวงพลังงานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาพลังงานทดแทนให้มีศักยภาพ และเสถียรภาพ ถือเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นคงระบบไฟฟ้าตามแผน PDP 2015 ได้ทำโครงการสนับสนุนการเปลี่ยนรถตุ๊กตุ๊กเป็นรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าซึ่งเป็น หนึ่งในนโยบาย Energy 4.0 ที่สนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV) ลดการพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิงและส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังจัด การประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีพลังงานเอเชีย (ASIAN Ministerial Energy Roundtable : AMER) ครั้งที่ 7) เมื่อวันที่ 1-3 เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช 2560 เพื่อระดมวิสัยทัศน์ รัฐมนตรีพลังงานเอเชียในยุคเปลี่ยนผ่านตลาดพลังงาน โลกสู่ทางปฏิบัติ ได้ผลักดันร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าของโครงการบูรณาการ ด้านไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ไปยังประเทศมาเลเซีย ผ่านระบบส่งไฟฟ้าของไทย (LTM-PIP) จนประสบความสำเร็จ ทำโครงการ เปิดธุรกิจเสรี ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เต็มรูปแบบ ได้ริเริ่มวางแนวทาง การส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้เกิด การแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติทั้งระบบ

นายทวารัฐ สูตะบุตร ได้เผยแพร่ผลงานเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชน โดยดำเนินงานตามนโยบาย Energy 4.0 เพื่อผลักดันนวัตกรรมใหม่ในระบบ พลังงานของประเทศ โครงการสนับสนุนการติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้า รองรับการเกิดขึ้น ของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ โครงการเทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System : ESS) และโครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ Smart cities-clean energy มาร่วมกันสร้างเมืองอัจฉริยะ เพื่อให้ประเทศไทยยั่งยืน

โดยที่ นายทวารัฐ สูตะบุตร เป็นผู้มีผลงานทางวิชาการดีเด่นเป็นที่ยอมรับ ในวงวิชาการ ดังจะเห็นได้จากการไปนำเสนอผลงานด้านวิชาการที่เชี่ยวชาญ ในระดับชาติ เป็นผู้ประสบความสำเร็จยอดเยี่ยมในงานวิชาชีพ จนปรากฏ เป็นที่ยอมรับ เป็นประโยชน์และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนทั่วไป โดยปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจและยึดประโยชน์ขององค์กรและประเทศชาติ อีกทั้งยัง ส่งเสริมด้านการอนุรักษ์พลังงาน การจัดการพลังงาน และส่งเสริมในเรื่องของ การพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนใหม่เพื่อเสริมศักยภาพด้านพลังงานของ ประเทศไทยในรูปแบบของงานวิจัย เป็นผู้บำเพ็ญกรณียกิจด้วยความริเริ่มจนเกิด ประโยชน์แก่สังคม โดยได้ส่งเสริมให้มีการพัฒนางานวิจัยในระดับประเทศ เพื่อตอบสนองแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก นายทวารัฐ สูตะบุตร เป็นผู้ทำคุณประโยชน์สำคัญให้แก่สถาบันเป็นอเนกประการ โดยให้คำปรึกษา ด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนและการส่งเสริมพลังงานทดแทนให้แก่ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นอกจากนี้ยังสนับสนุนทุนวิจัยด้านการศึกษาแก่นักศึกษา นักวิจัย ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงนับเป็นบุคคล ที่มีเกียรติประวัติดีเด่นและมีคุณสมบัติเหมาะสมอย่างยิ่ง สมควรได้รับพระราชทาน ปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานทดแทน เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

หมายเหตุ: ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 42 วันที่ 7-8 มิถุนายน 2562

Go to Top