CraftsmanKNOWLEDGE

อำไพร สุวรรณ ด้านหัตถศิลป์ ดุลโลหะ

0

ผลงาน

นางอำไพร สุวรรณ ด้านหัตถศิลป์ ดุลโลหะ ประสบการณ์การดุลโลหะกว่า 40 ปี เรียนรู้จากบิดามารดา สามารถตอกลายได้หลายชิ้นงาน เช่น ขันเงิน พาน สลุ่ง จอก(แก้วน้ำ) เครื่องประดับ กำไล ตุ้มหู ปิ่นปักผม สังวาลย์ เข็มขัดเงิน รัดแขน พานรอง มีความชำนาญด้านการตอกลายดุนได้หลายลาย เช่น ลายดั้งเดิมแม่ย่อย ลายดอกพิกุล ลายไทย ลายดอกกระถิน จะรับจ้างดุนโลหะตอกลายอย่างเดียวทั้งเงิน ทองแดงและอลูมิเนียม จะคิดค่าจ้างจากน้ำหนักของชิ้นงานถ้าชิ้นงานมีลวดลายไม่มาก ไม่ค่อยละเอียดมากเท่าใดจะคิดราคาค่าแรงบาทละ 15 บาท แต่ถ้าชิ้นงานไหนที่มีความละเอียดลวดลายมาก ๆ ราคาบาทละ 20 บาท ส่วนใหญ่จะทำส่งบ้านวัวลาย อำเภอเมืองเชียงใหม่

ลายแม่ย่อย

เครื่องมือ

  1. สิ่วเหล็กตอกที่มีส่วนปลายแตกต่างกันออกไปหลาย ๆ ขนาด
  2. ค้อน หัวค้อนทามาจากเขาควาย
  3. ขี้ย้า (ชัน) เคี่ยวผสมกับน้ามันหมู
  4. พิมพ์ไม้สำหรับใส่ขี้ย้าและวางโลหะเพื่อดุลลาย
  5. เครื่องเป่าแก๊ส
  6. ถังแก๊ส
  7. แผ่นอลูมิเนียม
  8.  แม่พิมพ์ไม้รูปแบบต่าง ๆ
  9.  กรรไกรตัดแผ่นโลหะ

การตอกลายสลุ่ง โลหะเงินผสมทองแดงน้าหนัก 15 บาท

  1. ต้มขี้ย้า(ชัน) เคี่ยวผสมกับน้ำมันหมูจนเหนี่ยวตักลงในสลุ่งที่ขึ้นรูปมาแล้วทิ้งไว้ให้แข็งตัวประมาณ 2 ชั่วโมง
  2. วาดรูปลายดอกพิกุลลงบนสลุ่งจากนั้นใช้สิ่วตอกลายหลาย ๆ ขนาด ตอกลงผิวสลุ่ง (ภาษาที่ใช้เรียกว่า “โต๋ง”) ขึ้นรูปลายนูนต่ำ นูนสูง ลายเส้น
  3. จากนั้นจุดไฟเครื่องเป่าแก๊สเผาสลุ่งเอาขี้ย้าออกทำความสะอาด
  4. ต้มขี้ย้า(ชัน) ตักใส่ลงไปในสลุ่งอีกครั้งทิ้งไว้จนขี้ย้าแข็งตัว 2 ชั่วโมง
  5. ใช้สิ่วตอกลายหลาย ๆ ขนาด ตอกลงผิวสลุ่ง โต๋งลาย ลายนูนอีกครั้งเป็นการเก็บรายละเอียดของลวดลาย ตกแต่งด้วยความประณีตสวยงามจนได้รูปแบบที่กำหนดไว้
  6. จุดไฟเครื่องเป่าแก๊สเผาสลุ่งเอาขี้ย้าออกทำความสะอาดด้วยน้ำขัดจนแห้ง
  7. นำไปเผาชุบเงินทำความสะอาดอีกครั้ง จะได้สลุ่งเงินน้าหนัก 15 บาท

แนวโน้มในการอนุรักษ์สืบสานเผยแพร่และการถ่ายทอดองค์ความรู้

ไม่มีคนรุ่นใหม่มาให้ความสนใจที่จะทำ เพราะงานแต่ละชิ้นต้องใช้ระยะเวลาทำนานหลายขั้นตอน ค่าตอบแทนได้ไม่มากหนัก ด้านการเผยแพร่ได้นำไปแสดงสาธิตการดุนตอกลายของงานจำหน่ายสิ้นค้า OTOP การมาศึกษาดูงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ทางเทศบาลตาบลสันทรายหลวงเชิญไป และการไปจัดแสดงตามห้างร้าน โรงแรมต่าง ๆ ตามคาเชิญของหน่วยงานนั้น ๆ

แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

Yaowapa Khueankham
Information Specialist at Maejo University Archives

    นิด พิชัยเงาะ ด้านหัตถศิลป์ ดุลโลหะ

    Previous article

    อรญาพรรณ อาษากิจ ด้านหัตถศิลป์ ดุลโลหะ

    Next article

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    Manage Consent Preferences
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      Always Active

      ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

    บันทึก