CraftsmanKNOWLEDGE

อรญาพรรณ อาษากิจ ด้านหัตถศิลป์ ดุลโลหะ

0

ผลงาน

ออกแบบ ดุนตอกลาย ลงสี เพ้นท์ลาย ปิดทองคำเปลว ขึ้นรูปขันเงิน ถาดเงิน อลูมิเนียม ทองแดง ของที่ระลึก เครื่องประดับ ป้าย สลุ่ง พาน กระเป๋าเงิน แจกัน น้ำต้น น้ำหม้อ ตกแต่งภายในโรงแรม โคมไฟ ร่มต้นโพธิ์ นาฬิกา ฉลุโลหะรอบเสาและทำงานทุกรูปแบบตามสั่ง ลวดลายที่ใช่ดุนตอกลายลายแม่ย่อย ลายแม่ย่อยประยุกต์ ลายดอกพิกุล ลาย 12 ราศี ฉลุลาย 12 ราศี ลายไทย ฯลฯ นางอรญาพรรณ อาษากิจ รับทำงานตามสั่งของลูกค้าและเปิดร้านจัดจำหน่ายที่บ้านของตนเอง มีคนงาน 7 คน การทำงานของแต่ละคนแยกทำตามความถนัดของตนเองทั้งงานขึ้นรูป งานดุนตอกลาย งานชุปเนื้อเงินและงานเครื่องประดับ

เครื่องมือ

  1. สิ่วเหล็กตอกที่มีส่วนปลายแตกต่างกันออกไปหลายๆ ขนาด
  2. ค้อน หัวค้อนทามาจากเขาควาย
  3. ขี้ย้า (ชัน) เคี่ยวผสมกับน้ามันหมู
  4. พิมพ์ไม้สาหรับใส่ขี้ย้าและวางโลหะเพื่อดุลลาย
  5. เครื่องเป่าแก๊ส
  6. ถังแก๊ส
  7. แผ่นอลูมิเนียม
  8. แม่พิมพ์ไม้รูปแบบต่างๆ
  9. กรรไกรตัดแผ่นโลหะ

การตอกลายเครื่องประดับ

  1. วาดแบบลงบนแผ่นอลูมิเนียม
  2. ต้มขี้ย้า(ชัน) เคี่ยวผสมกับน้ำมันหมูจนเหนี่ยวตักลงแม่พิมพ์ขี้ย้า วางแผ่นอลูมิเนียมที่วาดรูปเสร็จลงไปที่แม่พิมพ์ขี้ย้ากดทับให้แน่น ทิ้งไว้ให้เย็นตัว
  3. ใช้สิ่วตอกลายหลายๆ ขนาด ตอกลงแผ่นอลูมิเนียมที่วาดรูป (ภาษาที่ใช้เรียกว่า “โต๋ง”) ขึ้นรูปลายนูนต่ำ ลายเส้น
  4. จากนั้นจุดไฟเครื่องเป่าแก๊สเผาอลูมิเนียมเอาขี้ย้าออกทำความสะอาด
  5. นำแผ่นอลูมิเนียมที่ขึ้นรูปลายนูนต่ำ ลายเส้นไปวางบนแม่พิมพ์ขี้ย้าแข็ง
  6. ใช้สิ่วตอกลายหลายๆ ขนาด ตอกลงโต๋งลายลายนูนอีกครั้งเป็นการเก็บรายละเอียดของลวดลาย ตกแต่งด้วยความประณีตสวยงามจนได้รูปแบบที่กำหนดไว้
  7. จุดไฟเครื่องเป่าแก๊สเผาเอาขี้ย้าออกทำความสะอาดด้วยน้ำขัดจนแห้ง
  8. นำไปเผาชุบเงินทำความสะอาดอีกครั้ง

แนวโน้มในการอนุรักษ์สืบสานเผยแพร่และการถ่ายทอดองค์ความรู้

ในด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้เคยมีคนมาเรียนรู้แต่ไม่ทน เพราะการดุนตอกลายต้องใช้ความอดทน ใช้เวลาในการฝึกฝนจนกว่าจะสามารถตอกลายขึ้นรูปและลงรายละเอียดของชิ้นงานได้ มีนักศึกษาจากสถาบันในจังหวัดเชียงใหม่มาเก็บข้อมูลประวัติความเป็นมา ขั้นตอนการดุนตอกลายรูปแบบต่างๆ ถือเป็นการเก็บข้อมูลทางเอกสารและภาพเคลื่อนไหว เพื่อนำไปเผยแพร่ให้บุคคลภายนอกได้เรียนรู้ต่อไป รวมถึงทางเทศบาลตำบลสันทรายหลวงได้นำคณะศึกษาดูงานจากหน่วยงานต่างๆ เข้ามาศึกษาดูงานที่บ้านของตนเอง การนาสินค้าออกร้านและสาธิตในงาน OTOP

ในปัจจุบันโลหะที่ใช้ขึ้นรูปดุนตอกลายคือ อลูมิเนียม ซึ่งมีราคาถูกกว่าเงินแท้หรือทองแดงผสมเนื้อเงิน จึงทำให้คนนิยมมากกว่า แต่ก็มีลูกค้าบางรายที่อยากจะได้ชิ้นงานที่เป็นเงินแท้ ทางร้านก็จะดำเนินการจัดทำให้ตามที่ลูกค้าต้องการ เม็ดเงินราคาอยู่ที่ประมาณบาทละ 300-350 บาท ถ้าทำขันเงินน้าหนักประมาณ 5 บาท ราคาเฉพาะเนื้อเงินประมาณ 1,500-1,750 บาท รวมค่าแรงประมาณ 2,000 บาท

แหล่งที่มา : โครงการสำรวจข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นล้านนา โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

Yaowapa Khueankham
Information Specialist at Maejo University Archives

    อำไพร สุวรรณ ด้านหัตถศิลป์ ดุลโลหะ

    Previous article

    อินทร์แก้ว จันทรัตน์ ด้านหัตถกรรมปั้นหล่อพระ

    Next article

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    Manage Consent Preferences
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      Always Active

      ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

    บันทึก