Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

ปริญญากิตติมศักดิ์ (บุคคลทั่วไป)

วีระพันธ์ ไพศาลนันท์

นายวีระพันธ์ ไพศาลนันท์ ปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม นายวีระพันธ์ ไพศาลนันท์ สําเร็จการศึกษาประโยควิชาชีพเกษตรกรรม จากวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่แม่โจ้ เมื่อปีพุทธศักราช 2513 ต่อมาได้สําเร็จการศึกษาด้านเกษตรศาสตร์ ได้รับวุฒิวิทยาศาสตรบัณฑิต จากประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2516 และในปีพุทธศักราช 2523 ได้รับวุฒิภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยหลุยเซียน่าสเตท ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ดํารงตําแหน่งกรรมการผู้จัดการและภูมิสถาปนิกอาวุโส บริษัท พีแอล ดีไซน์ จํากัด กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ยังดํารงตําแหน่งประธานบริษัท แอลซี เอ็ม แลนด์สเคป คอนซัลแตนท์ แมนเนจเมนท์ จํากัด ซึ่งตั้งอยู่ที่อําเภอลําลูกกา จังหวัดปทุมธานี นายวีระพันธ์ ไพศาลนันท์ เป็นผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่บุคคล ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผลงานในประเทศล้วนแต่สร้างคุณประโยชน์และแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถในขั้นสูง ผลงานประการแรก ได้แก่ งานวางผังแม่บทโครงการขนาดใหญ่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พระราชอุทยานเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรี สวนสาธารณะเบญจกิติ ประการที่สอง ได้แก่ งานออกแบบภูมิทัศน์และควบคุมงาน…

Read More

สมสิน สิงขรัตน์

นายสมสิน สิงขรัตน์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชไร่ นายสมสิน สิงขรัตน์ สําเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูงจากวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ แม่โจ้ ปัจจุบันดํารง ตําแหน่งผู้จัดการไร่บริษัท บีบีดี (บุญรอด บริวเวอร์รี่ ดิวิลอฟเม้นต์) จํากัด ซึ่งมีที่ตั้ง ณ บ้านโละป่าห้า ตําบลข้าวเปลือก อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย และดํารงตําแหน่งพิเศษ คือ ผู้จัดการบริษัท น้ําหยดอโกรดรอป จํากัด นายสมสิน สิงขรัตน์ เป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านวิชาการได้แก่ การเป็นผู้ร่วมวิจัยปรับปรุงพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ พันธุ์ บ.ร.บ.1 และ บ.ร.บ.2 อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกษตรกรมีอาชีพปลูกข้าวบาร์เลย์แบบไม่ไถพรวน และยังทํางานวิจัยการใช้ระบบน้ําหยดในไม้ผลชนิดต่าง ๆ ในด้านการเผยแพร่ผลงานวิชาการนั้น ได้เผยแพร่ผลงานในที่ประชุมวิชาการธัญพืชเมืองหนาวแห่งชาติ และได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษาฝึกงานจากสถาบันต่าง ๆ อาทิ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงราย เป็นต้น …

Read More

บัณฑูร จิระวัฒนากูล

นายบัณฑูร จิระวัฒนากูล ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ นายบัณฑูร จิระวัฒนากูล สําเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทํากิจการ สวนส้มพื้นที่ประมาณ 3,000 ไร่ เคยได้รับพระราชทานปริญญาเทคโนโลยีมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นตัวแทนจําหน่ายปุ๋ยไข่มุกตราเรือใบไวกิ้ง ในจังหวัดเชียงใหม่ และมีกิจการส่งออกสินค้าผลไม้ของภาคเหนือไปยังประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง จีน และแคนาดา นายบัณฑูร จิระวัฒนากูล เป็นบุคคลที่มีผลงานทางวิชาการไม้ผลมากมาย ได้แก่ ทําบันทึกเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ย การใช้ยา ลักษณะตอพันธุ์ที่เหมาะสมกับดินแต่ละพื้นที่ เพื่อ ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ รวมไปถึงระยะการปลูกที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว เป็นผู้เริ่มนําเครื่องจักรเข้ามาเพื่อช่วยลดปัญหาแรงงานไม่เพียงพอ ได้บันทึกวงจรชีวิตของ แมลงศัตรูพืชเพื่อลดการใช้ปุ๋ยและยา อีกทั้งพยายามเสาะแสวงหาพันธุ์ใหม่เพื่อหาสายพันธุ์ ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศและสภาพดินของอําเภอฝาง เพื่อให้สามารถส่งไปขายยังต่างประเทศได้ ในปีพุทธศักราช 2542 ได้นําสัมพันธุ์ใหม่ที่มีรสชาติดี มีเปลือกหนา สะดวก แก่การขนส่ง คือ ธนาธรนัมเบอร์วัน (ธนาธร No.1) ออกเผยแพร่ และยังได้พยายาม ปรับปรุงกรรมวิธีรักษาผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว…

Read More

อุทัย วาสนาพันธ์พงศ์

นายอุทัย วาสนาพันธ์พงศ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ นายอุทัย วาสนาพันธ์พงศ์ จบการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แผนกเกษตรกรรม จากวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ เมื่อปีพุทธศักราช 2505 เป็นเจ้าของและผู้จัดการสวนส้มสุจินต์ อําเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ประมาณ 500 ไร่ ทําการปลูก ขยายพันธุ์ ส่งเสริมและสาธิตการทําสวน ผลไม้ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ลิ้นจี่ ส้มเขียวหวาน ส้มฟรีมองต์ ส้มสายน้ําผึ้ง แก้วมังกร และไม้ผลอื่น ๆ ได้แก่ เงาะโรงเรียน กระท้อน มะม่วง และลองกอง เป็นเจ้าของ และผู้จัดการร้านจําหน่ายผลไม้และผลิตผลการเกษตรในตลาดเมืองใหม่ นายอุทัย วาสนาพันธ์พงศ์ มีผลงานอาชีพซึ่งแสดงถึงความสําเร็จ อันเป็นแบบอย่างที่ดี นอกจากได้ใช้ความรู้จากการศึกษาประกอบอาชีพจนประสบ ความสําเร็จแล้ว ยังทําการส่งเสริมอาชีพให้แก่เกษตรกรและชาวสวนในอําเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และผู้สนใจทั่วไป โดยเฉพาะการขยายพันธุ์ส้มสายน้ําผึ้งและไม้ผลต่างถิ่น เช่น เงาะโรงเรียน ทุเรียน กระท้อน…

Read More

เฉลิมเกียรติ ชวชาติ

ว่าที่ร้อยตรี เฉลิมเกียรติ ชวชาติ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ ว่าที่ร้อยตรี เฉลิมเกียรติ ชวชาติ สําเร็จการศึกษาปริญญาตรีเทคโนโลยี การเกษตรบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวนประดับจากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เป็นเจ้าของสวนเฉลิมเกียรติ ชวชาติ เป็นนักจัดสวน ออกแบบ และตกแต่ง บริเวณทั่วราชอาณาจักร และเป็นสมาชิกและกรรมการตัดสินของสมาคมกล้วยไม้เชียงใหม่ ด้วยความสามารถและประสบการณ์ทําให้มีผลงานดีเด่นทั้งผลงานวิชาการและงานอาชีพ อาทิ อาจารย์พิเศษสอนวิชาจัดสวน ที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยากรฝึกอบรมด้านการจัดสวนและตกแต่งสถานที่ ที่สํานักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กรรมการตัดสินการจัดสวน หย่อมต่าง ๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ สําหรับผลงานทางวิชาชีพและแสดงถึงความ สําเร็จอันเป็นแบบอย่างที่ดีได้แก่ รางวัลถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จากการประกวดประเภทสวนหย่อมกล้วยไม้ฟ้ามุ่ยและกล้วยไม้ทั่วไป ในงานลานนาพฤกษาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ 3 ปีซ้อน รางวัลยอดเยี่ยมและชนะเลิศ จากการจัดสวนประเภทการจัดสวนกล้วยไม้ทั่วไป ในงานกล้วยไม้นานาชาติที่ ซาอา ลาม ประเทศมาเลเซีย ทั้ง 3 ปี คือ…

Read More

สมพร พันธุ์พณาสกุล

นายสมพร พันธุ์พณาสกุล ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารการเกษตรและป่าไม้ นายสมพร พันธุ์พณาสกุล สําเร็จการศึกษาประโยควิชาชีพชั้นสูง สาขาเกษตรกรรมจากวิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ เมื่อปีพุทธศักราช 2512 และเริ่มรับ ราชการเป็นพนักงานเกษตรตรี สถานีทดลองยาง อําเภอเมือง จังหวัดกระบี่ โดยปฏิบัติงานที่ศูนย์วิจัยการยางหาดใหญ่ อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ต่อมาในปี พุทธศักราช 2523 ได้ลาศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร แม่โจ้จนสําเร็จการศึกษา เมื่อปีพุทธศักราช 2524 ปัจจุบันดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการ สถานีทดลองยางปัตตานี อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี นายสมพร พันธุ์พณาสกุล เป็นผู้มีผลงานดีเด่น ในฐานะผู้บุกเบิกการทําแปลงทดลองวิจัยของสถานีทดลองยาง โดยขอใช้พื้นที่สาธารณประโยชน์ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ อําเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี จากสภาตําบล อําเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี จํานวน 328 ไร่ 2 งาน 25 ตารางวา และในปีพุทธศักราช 2532-2533 ได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด ปัตตานีให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการชดเชยพื้นที่แต่อย่างใด แปลงทดลองวิจัยดังกล่าวได้ช่วยแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น และเป็นแหล่งฝึกอบรม…

Read More

Go to Top