Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

Tag: มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์

เผ่าไทย ปาลกะวงศ์ ณ อยุทธยา

นายเผ่าไทย ปาลกะวงศ์ ณ อยุทธยา ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ นายเผ่าไทย ปาลกะวงศ์ ณ อยุทธยา สําเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จากวิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ ประกอบอาชีพการเลี้ยงผึ้ง โดย เริ่มต้นจากพันธุ์ผึ้งจํานวน 4 รัง ปัจจุบันมีผึ้งอยู่จํานวน 2,600 รัง ในอดีตเคยเป็น กรรมการก่อตั้งสมาคมผู้เลี้ยงผึ้งภาคเหนือ เป็นนายกสมาคมผู้เลี้ยงผึ้งภาคเหนือ เป็น กรรมการก่อตั้งสหกรณ์ผู้เลี้ยงผึ้งภาคเหนือ และเป็นประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงผึ้ง ภาคเหนือ จํากัด แม้ว่าราคาของผลิตภัณฑ์ผึ้งจะมีแนวโน้มต่ำลงทุกปี แต่นายเผ่าไทย ก็สามารถเป็นเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพด้วยการเลี้ยงผึ้งแต่เพียงอย่างเดียว และ ยังมีกิจการที่รุดหน้าต่อไปได้ เพราะได้มีการศึกษา วิจัย ที่ทําให้มีต้นทุนการผลิตต่ํา กล่าวคือ ได้ประสพผลสําเร็จในการวิจัยมากมาย อาทิเช่น เทคนิคในการผลิตนางพญาผึ้ง เทคนิคในการจัดเตรียมรังผึ้งสําหรับเพาะพันธุ์ เทคนิคของการย้ายตัวอ่อนตลอดจนเทคนิคการจัดการต่าง ๆ เกี่ยวกับผึ้ง จากผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องดังกล่าว ทําให้สามารถปรับปรุงผลผลิตที่มีคุณภาพ มาตรฐานเป็นที่เชื่อถือและยอมรับทั้งภายใน และต่างประเทศ นายเผ่าไทย เป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมแผนใหม่ที่บุกเบิกงาน ด้วยตนเอง…

Read More

สุรินทร์ เผ่าทองศุข

นายสุรินทร์ เผ่าทองศุข ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร นายสุรินทร์ เผ่าทองศุข สําเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพเกษตร จากวิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2500 เริ่มการทํางานเป็น พนักงานสงเคราะห์สวนยาง สํานักงานสงเคราะห์การทําสวนยาง จังหวัดจันทบุรี การทํางานได้เจริญก้าวหน้ามาโดยตลอด และได้เป็นหัวหน้างานบริการพัฒนา สํานักงานสงเคราะห์การทําสวนยางจังหวัดระยอง นายสุรินทร์ เผ่าทองศุข เป็นผู้ที่ริเริ่มส่งเสริมการปลูกยางด้วย ยางชําถุงพลาสติกเป็นครั้งแรก จนเป็นที่นิยมปลูกกันมาจนถึงปัจจุบัน ส่งเสริมการ ปลูกยางด้วยเมล็ดในหลุมปลูกแล้วติดตาในหลุม โดยนผู้ชํานาญการติดตามาจากจังหวัด พังงามาทําการติดตาที่จังหวัดระยอง จนเป็นที่นิยมใช้วิธีการดังกล่าวอย่างแพร่หลาย ในปัจจุบัน เริ่มตั้งกลุ่มปรับปรุงคุณภาพยางแผ่น และรวมกลุ่มขายยางขึ้นเป็นครั้งแรก ที่จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด ขณะกลุ่มขายยางที่จังหวัดตราดยังดําเนินการอยู่ งานด้านการเผยแพร่ผลงานเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนนั้น นายสุรินทร์ เผ่าทองศุข เป็นผู้ที่ส่งเสริมเอกชนปลูกยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นแห่งแรก ที่อําเภอปักธงไชย จังหวัดนครราชสีมา เป็นระยะเวลาติดต่อกันมา 3 ปี จนในปัจจุบันมีสวนยางที่ปลูกตามการส่งเสริมแล้วประมาณ 280 ไร่ และในขณะนี้ เกษตรกรจากจังหวัดนครราชสีมาได้ให้ความสนใจมากขึ้น…

Read More

สมเกียรติ ศุภโกวิท

นายสมเกียรติ ศุภโกวิท ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจการเกษตร นายสมเกียรติ ศุภโกวิท สําเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ จากวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้ เชียงใหม่ หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อ ณ โรงเรียนวนศาสตร์ จังหวัดแพร่ จนสําเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรหลักสูตร วนศาสตร์ เริ่มรับราชการในตําแหน่งพนักงานป่าไม้ ประจํากรมป่าไม้ ต่อมาได้ ย้ายไปประจําสํานักงานป่าไม้จังหวัดขอนแก่น และสํานักงานป่าไม้จังหวัดพิบูลสงคราม ตามลําดับ แต่เนื่องจากมีความต้องการทํางานที่เป็นอิสระ จึงได้ลาออกจากราชการ หลังจากการรับราชการเป็นเวลาเกือบ 3 ปี ประกอบอาชีพธุรกิจการค้า ใน ตําแหน่งประธานผู้อํานวยการ บริษัทสมจิตต์โอสถ จํากัด และบริษัทผงพิเศษตราร่มชูชีพ จํากัด นายสมเกียรติ ศุภโกวิท ได้เริ่มทําการค้าผลิตผลทางการเกษตรใน จังหวัดขอนแก่น โดยยึดมั่นในความซื่อสัตย์ สุจริต มีสัจจะ ยุติธรรม ไม่เอาเปรียบใครเสียสละ อดทน ถือคติว่า นานดี ดีนาน เป็นหลักสําคัญประจําใจในการดําเนินชีวิต เมื่อการค้าได้ผลดีขึ้น จึงได้ขยายกิจการด้านอื่นอีก ได้แก่…

Read More

เลื่อน เมฆบังวัน

นายเลื่อน เมมบังวัน ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ นายเลื่อน เมรบังวัน สําเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรประโยค ครูประถมกสิกรรม จากโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ เมื่อ พ.ศ.2478 เริ่มรับราชการครั้งแรกเป็นครูและอาจารย์ในโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ และวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่แม่โจ้ เนื่องจาก นายเลื่อน เมฆบังวัน เป็นผู้ที่มีผลงานวิชาการดีเด่น คือเป็นผู้คนพบวิธีเสริมรากลําไย ทําให้ต้นลําไยแข็งแรงเจริญเติบโตเร็วกว่าปกติ และริเริ่มการเพาะปลูกและผลิตมะเขือเทศในฤดูฝน นอกจากนี้ นายเลื่อน เมฆบังวัน ยังเป็นครู อาจารย์ ผลิตลูกศิษย์จนได้รับความสําเร็จในชีวิตเป็นจํานวนมาก นับว่า นายเลื่อน เมฆบังวัน เป็นผู้มีเกียรติประวัติและคุณสมบัติ เหมาะสมยิ่ง สมควรได้รับพระราชทานปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรมหาบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ ของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เพื่อเป็น เกียรติสืบไป หมายเหตุ: ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 8 วันที่ 27 มกราคม 2529

Read More

จรวย พงษ์ชีพ

นายจรวย พงษ์ชีพ ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ นายจรวย พงษ์ชีพ สําเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียน บุรวิทยาคาร วัดวันยาวบน อําเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี หลังจากนั้นได้ช่วย มารดาทําสวนเงาะ ในเนื้อที่ 5 ไร่ และหารายได้เพิ่มเติมด้วยการรับจ้างขุดดิน ดายหญ้าในเวลากลางวัน รับจ้างกรีดยางพาราในเวลากลางคืน ในเวลาต่อมา ชาวสวนเงาะประสพกับปัญหาเงาะไม่ติดผลทําให้ขาดรายได้ไปมาก จึงพยายาม แก้ปัญหาโดยวิธีการต่าง ๆ และประสพผลสําเร็จโดยการฉีดฮอร์โมนกับดอกเงาะ ทําให้ผลดก มีรายได้ดี จากเหตุดังกล่าวทําให้มีเงินเช่าสวนเงาะและซื้อเป็นของ ตัวเองในภายหลัง นายจรวย พงษ์ชีพ เป็นผู้ที่นําพันธุ์เงาะโรงเรียนไปปลูกที่อําเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เป็นกลุ่มแรก การทําสวนเงาะโรงเรียนได้ขยายเพิ่มมากขึ้น ในเวลาต่อมา ทําให้เกิดปัญหาเรื่องน้ำไม่พอใช้ประกอบกับการเกิดภาวะขาดแคลน น้ำมากในปี พ.ศ. 2520 ถึงขนาดต้องซื้อน้ำรดต้นเงาะ จากสาเหตุนี้เองทําให้นําปัญหานี้มาขบคิดและสังเกตเห็นเงาะต้นหนึ่งงามกว่าต้นอื่น ซึ่งพบว่าเป็นเพราะ ท่อน้าที่บริเวณนั้นรั่วมีน้ำหยดอยู่ตลอดเวลา จึงทําการทดลองโดยไม่ให้น้าแก่เงาะ ต้นนั้น ปรากฏว่าเงาะต้นนั้นติดดอกออกผลดีสม่ําเสมอ จึงเป็นแนวคิดในการเริ่มต้น ระบบการให้น้าต้นไม้แบบหยด โดยเริ่มศึกษาจากหนังสือและได้ทราบว่า…

Read More

เสมอ สมนาค

นายเสมอ สมนาค ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ นายเสมอ สมนาค สําเร็จการศึกษาระดับ ปวช. จากสถาบันแห่งนี้ครั้งยัง เป็นโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ เข้ารับราชการครั้งแรกที่กองการยาง กรมกสิกรรม กระทรวงเกษตราธิการ และเป็นระยะเวลาที่กองการยางได้เริ่มให้ดําเนินงาน บริหารควบคุมอุตสาหกรรมยางให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ควบคุมยาง ปี 2481 คือ การควบคุมการ ผลิต การจําหน่าย และคุณภาพให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างประเทศ นายเสมอ สมนาค ได้เข้ารวมงานนี้ในช่วงแรกให้ได้รับผลสําเร็จด้วยดี นับว่าเป็นผู้บุกเบิกในการสร้างหน่วยงาน สนามเรื่องยางที่ใหญ่ที่สุด และเป็นผู้รวมดําเนินงานในการสรางยางพันธุ์ดี เพื่อสนับสนุน โครงการปลูกแทน คณะแรกของประเทศไทย ในระยะเวลาต่อมาเมื่อได้ย้ายมาประจํา ปฏิบัติงานเป็นหัวหน้าหน่วยงานจังหวัดภูเก็ต ได้นําเทคโนโลยีการติดตาเปลี่ยนยอดยาง เพื่อป้องกันโรคใบร่วงไปแนะนำแก่ชาวสวนยาง ซึ่งทําให้ได้ประโยชน์อย่างแท้จริงในการปลูก ยางทางฝั่งทะเลตะวันตกของประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นผู้นําทางภาคสนามในการบุกเบิก ค้นคว้า ศึกษา การปลูกยางในท้องที่แห้งแล้งในการเปิดสถานีทดลองยางสนามชัยเขต จนพัฒนามาเป็นศูนย์วิจัยการยางฉะเชิงเทราในปัจจุบัน เป็นผู้นําและควบคุมงานศึกษาวิจัยการ ปลูกยางในท้องที่แห้งแล้งและกันดารตามโครงการในพระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะมีการเปิดกรีดยางในปี 2559  ผลงานที่กล่าวมาแล้วแสดงถึงความเป็นนักทํางาน นักต่อสู้ที่คลุกคลีกับเรื่องยางมาโดยตลอด นับว่าทําประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมเป็นอันมาก นับว่า…

Read More

Go to Top