Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

Tag: ปริญญากิตติมศักดิ์

สุรพล สงวนศรี

ศาสตราจารย์ ดร. สุรพล สงวนศรี ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล สงวนศรี สําเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชากสิกรรมและสัตวบาล จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท สาขาการ ศึกษาเกษตร จาก Oklahoma State University และสําเร็จปริญญาเอกทางส่งเสริมการเกษตรจาก University of Philippines ประเทศฟิลิปปินส์ ในปีพุทธศักราช 2513 และเคยได้รับวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี 2529 นอกจากนั้น ยังได้ผ่านการอบรมและดูงานทั้งภายในและต่างประเทศอีกหลายครั้ง ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล สงวนศรี เริ่มรับราชการในแผนกโรงสีข้าวทดลอง กองวิศวกรรมเกษตร กรมการข้าว กระทรวงเกษตร เมื่อปี 2497 เคยได้รับ แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งทางด้านบริหารที่สําคัญ ๆ เช่น หัวหน้าแผนกฝึกหัดครูมัธยมเกษตรกรรม วิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ เชียงใหม่, รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวางแผน วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา…

Read More

ปัญญา โชติเทวัญ

นายปัญญา โชติเทวัญ ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ นายปัญญา โชติเทวัญ สําเร็จการศึกษาวิชาเสนารักษ์ จากกรมการแพทย์ทหารเรือ เมื่อปี พ.ศ. 2494 ได้เข้ารับราชการในตําแหน่งเสนารักษ์ใน กองทัพเรือ เป็นเวลา 11 ปี แล้วโอนย้ายไปรับราชการในตําแหน่งพนักงานสุขาภิบาลของกรุงเทพมหานคร เป็นเวลา 12 ปี ตําแหน่งครั้งสุดท้ายคือ หัวหน้าสุขาภิบาลเขตสามเสน ขณะรับราชการอยู่ในกรุงเทพมหานครนั้น ได้เริ่มเลี้ยงไก่ เป็น อาชีพรองเพื่อเสริมรายได้ของครอบครัว ได้จัดตั้งโรงงานขนาดเล็กชําแหละเนื้อไก่ เพื่อขายภายในประเทศในปี พ.ศ.2517 ได้ลาออกจากราชการมาประกอบอาชีพการเลี้ยงไก่อย่างจริงจัง และได้ดําเนินกิจการโรงงานชําแหละเนื้อไก่จนได้ก่อตั้งบริษัทสหฟาร์มจํากัดขึ้น และได้ดํารงตําแหน่งประธานกรรมการบริษัทมาจนถึง ปัจจุบัน นายปัญญา โชติเทวัญ เป็นผู้ที่ได้ส่งเสริมและได้พัฒนาเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ในระบบทันสมัย ได้จัดโครงการประกันราคาไก่เนื้อให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วม โครงการทําให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงไก่เนื้อเป็นอาชีพหลักจนมีรายได้มั่นคง กระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ใน 12 จังหวัด รอบกรุงเทพมหานคร และกําลังขยายโครงการระบบนี้ออกไปอีกหลายจังหวัด ปัจจุบันมีโรงงานชําแหละเนื้อไก่เพื่อการส่งออกที่ทันสมัยที่สุด เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาและปรับปรุงการเลี้ยงไก่เนื้อระบบทันสมัยเพื่อการส่งออก และพัฒนาผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกที่เรียกว่า "ไก่แช่แข็ง” ตลอดจนได้พัฒนาเทคนิคการตัดแต่งเนื้อไก่เพื่อให้เป็นสินค้าสําเร็จรูป จนเป็นที่ยอมรับของ ตลาดต่างประเทศ…

Read More

ทวีศักดิ์ เสสะเวช

นายทวีศักดิ์ เสสะเวช ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร นายทวีศักดิ์ เสสะเวช สําเร็จการศึกษาปริญญาตรีด้านการเกษตรจาก Utah State University ประเทศสหรัฐอเมริกา และจบหลักสูตรได้รับ ปริญญาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 29 ปัจจุบันรับราชการ ดํารง ตําแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร และดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการและคณะ กรรมการของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรรมการบริหารงานวิจัยการเกษตรระดับชาติ, กรรมการที่ปรึกษาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ, กรรมการดําเนินการโครง การส่งเสริมสนับสนุนการเกษตรสมาชิกพิการของมูลนิธิสายใจไทยเป็นต้น นายทวีศักดิ์ เสสะเวช เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและเกียรติประวัติ อันดีเด่นในด้านการพัฒนาการเกษตรของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านงานส่งเสริม การเกษตร อันเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นกําลังสําคัญ ในการจัดทําโครงการปรับปรุงระบบส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทย ขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2519 โดยใช้เงินกู้จากธนาคารโลกจนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน งานส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทย ช่วยให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีความ รู้ทางวิชาการเกษตรแผนใหม่ มีวัสดุอุปกรณ์และสามารถเพิ่มจํานวนเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรให้มากขึ้น สามารถทําการส่งเสริมเกษตรกรได้อย่างต่อเนื่อง นายทวีศักดิ์ เสสะเวช เป็นผู้บริหารงานเกษตรระดับสูงของประเทศที่ เข้าใจถึงปัญหาของเกษตรกรได้ดี มีความปรารถนาที่จะเห็นเกษตรกรที่ยากจนมีชีวิต…

Read More

สะมะแอ อิสอ

นายสะมะแอ อิสอ ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ (สัตว์ปีก) นายสะมะแอ อิสอ สําเร็จชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนบ้านนา จังหวัดสงขลา แล้วได้เรียนต่อโรงเรียนสอนศาสนา 3 ปี ต่อจากนั้นได้ทํางานประจํา เป็นลูกจ้างทําหน้าที่ช่างทองจนสามารถมีกิจการร้านขายทองเป็นของตัวเอง ต่อมาได้เลิกกิจการร้านทองมาเลี้ยงนกเขาชวาจนประสบความสําเร็จโดยเป็นบุคคลแรกที่ เปิดตลาดการส่งออกนกเขาชวาสู่ตลาดต่างประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และบรูไน ด้วยความวิริยะอุตสาหะในการประกอบอาชีพเลี้ยงนกเขาชวาเพื่อการค้า นายสะมะแอ อิสอ จึงมีความชํานาญด้านนกเขาชวาเป็นพิเศษ สามารถแยก ลักษณะสายพันธุ์ของนกเขาชวาเป็นสายพันธุ์ต่าง ๆ คัดเลือกและผสมพันธุ์ให้ได้ นกลักษณะตามความต้องการของตลาด ประสบความสําเร็จด้านการวางแผนและการ ทําฟาร์มนกเขาชวา จนสามารถมีฟาร์มนกเขาชวาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ก่อให้เกิด อาชีพฟาร์มนกเขาชวาขึ้นทั่วไปและเกิดอาชีพเสริมอย่างอื่นตามมาอีก เช่น การทํา กรงนก อุปกรณ์เกี่ยวกับนกเขาชวา สามารถยกระดับความเป็นอยู่ของชาวชนบทใน 4 จังหวัดภาคใต้ นอกจากนี้ นายสะมะแอ อิสอ ยังได้เผยแพร่ผลงาน เพื่อประ โยชน์แก่สาธารณชน โดยการเปิดอบรม และบรรยายพิเศษ เรื่องนกเขาชวาให้แก่…

Read More

ประสงค์ คงพิชญานนท์

นายประสงค์ คงพิชญานนท์ ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ (พืชสวนประดับ) นายประสงค์ คงพิชญานนท์ สําเร็จการศึกษาประโยคครูมัธยมเกษตรกรรมจากวิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ ในระหว่างที่กําลังศึกษาอยู่ได้รับการยกย่อง เป็นเยาวชนตัวอย่างของจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2503 ได้ เข้าทํางานเป็นผู้จัดการ "ธนฟาร์ม" ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ต่อมาได้ รับราชการในตําแหน่งครู กรมสามัญศึกษาที่ศูนย์พัฒนาการศึกษาภาค 8 และปี 2509 ได้เป็นที่ปรึกษายุวเกษตรกรแห่งชาติ นอกเหนือจากงานในอาชีพครูแล้ว นายประสงค์ คงพิชญานนท์ เคยถวาย งานต่อสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โดยได้ช่วยสอนคนสวนในพระตําหนัก ภูพิงคราชนิเวศน์ ด้านการตกแต่งไม้ดอกและไม้ประดับ เมื่อปี พ.ศ.2512 ได้รับ พระราชทานเหรียญราชรุจิทองจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เคยเป็นกรรมการ สมาคมและชมรมต่าง ๆ หลายแห่ง อาทิเช่น สมาคมกล้วยไม้เชียงใหม่ ตลาดนัด สวนบวกหาดเชียงใหม่ และเป็นวิทยากรพิเศษประจําหน่วยงานต่าง ๆ นายประสงค์ คงพิชญานนท์ เป็นผู้มีประสบการณ์ทางด้านอาชีพ…

Read More

สว่าง เลาหทัย

นายสว่าง เลาหทัย ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจการเกษตร นายสว่าง เลาหทัย สําเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ และปริญญาตรีด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัย ซึบายูระ โตเกียว ได้ดํารงตําแหน่ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เจ้าพระยาพืชไร่ จํากัด และยังดํารงตําแหน่งกรรมการ องค์การด้านการสังคมสงเคราะห์ อาทิ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย และกรรมการ บริษัทต่าง ๆ ที่ทําธุรกิจเกี่ยวข้องกับการผลิตและผลผลิตทางการเกษตรอีกหลายแห่ง นายสว่าง เลาหทัย เป็นผู้คิดและพัฒนาสูตรปุ๋ยข้าวจากสูตรมาตรฐาน 16-20-0 และ 16-16-18 เพิ่มขึ้นอีก 2 สูตร ได้แก่ 16-8-8 และ 18-12-6 เป็นผล ให้ได้ปุ๋ยที่มีราคาถูกลง ผลผลิตเพิ่มขึ้นและคุณภาพดีขึ้น เป็นผู้บุกเบิกพัฒนาการผลิตมันอัดเม็ดแข็ง ทําให้ลดการสูญเสียระหว่างการขนส่งและสร้างความเชื่อถือในคุณภาพมันอัดเม็ด จากประเทศไทยให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นผู้สนับสนุนทุนให้มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ทําการวิจัยการใช้ปุ๋ยกับมันสําปะหลังและการวิเคราะห์ดินทั่วประเทศ ผลงานที่แสดงถึงความสําเร็จอันเป็นแบบอย่างที่ดีในการแก้ปัญหาผลผลิตการเกษตรล้นตลาดคือ เป็นผู้ดําเนินการด้านการค้าต่างประเทศ จนบรรลุข้อตกลงในการทํา สัญญาการค้าแลกเปลี่ยนกับประเทศต่าง ๆ…

Read More

Go to Top