Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

Tag: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์

บุหงา บุตรชา

วิทยา ศาส ตรมหา บัณฑิตกิตติมศักดิ์,  สาขาวิชา ส่งเสริมการเกษตรและการพัฒนาชนบท   ประจำปี 2563 นางบุหงา บุตรชา สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ เมื่อพุทธศักราช 2526 และสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เมื่อพุทธศักราช 2529 จากวิทยาลัยเกษตรกรรมชัยภูมิ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ (สัตว์ปีก) จากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้) เมื่อพุทธศักราช 2530  ด้านประวัติการทำงานและผลงานอาชีพซึ่งแสดงถึงความสำเร็จอันเป็นแบบอย่างที่ดีนั้น นางบุหงา บุตรชา เริ่มต้นจากการเห็นช่องทางทางการตลาดเกี่ยวกับกิจการขายยาสูบและหมาก ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัว โดยเริ่มขยายธุรกิจจากรูปแบบการค้าปลีกเป็นกิจการค้าส่ง ต่อมากิจการค้าส่งยาสูบเริ่มขยายตัวมากขึ้นจึงริเริ่มคิดค้นสูตรยาสูบขึ้น และก่อตั้งโรงงานผลิตยาสูบและพัฒนากิจการเรื่อยมาจนประสบความสำเร็จภายใต้ตราสินค้า ยาเส้นตราดาว ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าของกิจการโรงงานยาสูบ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เลิศเรืองสิริวัฒนา และส่งจำหน่ายยาสูบไปทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ นางบุหงา บุตรซา ยังส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกยาสูบในหลายพื้นที่ เช่น จังหวัดน่าน จังหวัดหนองคาย จังหวัดเพชรบูรณ์…

Read More

อิทธิพงศ์ ประเสริฐสันติ

พันเอกอิทธิพงศ์ ประเสริฐสันติ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ พันเอกอิทธิพงศ์ ประเสริฐสันติ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน ในปีพุทธศักราช 2510 สำเร็จการศึกษาประโยค วิชาชีพชั้นสูง จากวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ ในปีพุทธศักราช 2515 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (หลักสูตรพิเศษ) ในปีพุทธศักราช 2516 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาพืชศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ในปีพุทธศักราช 2525 ปัจจุบันพันเอกอิทธิพงศ์ ประเสริฐสันติ ดำรงตำแหน่งรองเจ้ากรมการสัตว์ทหารบก และมีภาระงานพิเศษคือ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสายวิทยาการด้านคุณลักษณะเฉพาะสิ่งอุปกรณ์ แห่งทหารการสัตว์ และเป็นที่ปรึกษาโครงการอาชาบำบัดเด็กพิเศษ ของกรมการสัตว์ทหารบก พันเอกอิทธิพงศ์ ประเสริฐสันติ เป็นผู้เริ่มดำเนินงานโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ในรูปแบบของเกษตรอินทรีย์ และนำการเกษตรทฤษฎีใหม่ รวมทั้งแนวคิดปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง เสนอกรมกิจการพลเรือนทหารบก จนเกิดกา เย์การเรียนรู้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริและมูลนิธิส่งเสริมและสาธิตงานศิลปาชีพ ภาคเหนือ ทั้ง 4 ภาค โดยคณะคู่สมรสรัฐมนตรีในขณะนั้น นอกจากนี้ ยังเป็นผู้เสนอแนะ แก้ไข…

Read More

จำนงค์ บุญเลิศ

นายจํานงค์ บุญเลิศ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการประมง นายจำนงค์ บุญเลิศ  เกษตรกรหมู่ 14 ตำบล เมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงปลานิล ด้วยความวิริยะอุตสาหะ เอาใจใส่ และค้นคว้าหาข้อมูลมาพัฒนาอาชีพของตน อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนการสั่งสมประสบการณ์ในการประกอบอาชีพนี้ มาอย่างยาวนาน ส่งผลให้เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงปลานิล โดยเฉพาะปลานิลแปลงเพศ จนเป็นที่รู้จัก และยอมรับในแวดวงวิชาการ ด้านการประมงและเกษตรกรทั่วไป นายจำนงค์ บุญเลิศ ได้อุทิศกำลังแรงกาย และกำลังความรู้ ความสามารถของตน สร้างสรรค์ประโยชน์ให้เกิดแก่สังคม และแวดวงวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านเทคโนโลยีการประมงมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การเป็น วิทยากรให้กับกรมประมง และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในการฝึกอมรมให้ความรู้ ด้านการเพาะเลี้ยงปลานิลแปลงเพศและการเลี้ยงกบ ให้แก่เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประชาชนผู้สนใจทั่วไป โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นายจำนงค์ บุญเลิศ ถือได้ว่าเป็นบุคคลที่อุทิศตน เพื่อประโยชน์ทางด้านวิชาการ ของมหาวิทยาลัยอย่างอเนกอนันต์ ด้วยการเป็นวิทยากรให้แก่บุคคลากร และนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง…

Read More

วรรณจิตร ชุ่มจิตร

นายวรรณจิตร ชุ่มจิตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชา ส่งเสริมการเกษตร นายวรรณจิตร ชุ่มจิตร สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรอาชีวศึกษาชั้นสูง แผนกเกษตรกรรม จากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ในปีพุทธศักราช 2500 สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แผนกเกษตรกรรม จากวิทยาลัย เทคนิคเกษตร ในปีพุทธศักราช 2508 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปีพุทธศักราช 2529 ปัจจุบัน นายวรรณจิตร ซุ่มจิตร ได้เกษียณอายุราชการเป็นข้าราชการบำนาญ ในอดีตเคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเกษตรจังหวัดฝ่ายบริหาร จังหวัดอุทัยธานี และ มีภาระงานพิเศษ คือ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาชมรมแม่โจ้นครสวรรค์ เป็นกรรมการ นายทะเบียนชมรมแม่โจ้ รุ่นที่ 20 เป็นรองประธานวุฒิอาสาธนาคารสมอง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นที่ปรึกษาสมาคมวัยทองนครสวรรค์และเป็นบรรณาธิการ วารสาร “จากใจ-ถึงใจ” นายวรรณจิตร ซุ่มจิตร เป็นผู้ที่มีผลงานดีเด่นด้านวิชาการ คือ ริเริ่ม ส่งเสริมการใช้ยาเคมีระบบ ULV ป้องกันกำจัดศัตรูฝ้ายแทนการพ่นยาเคมีผสมน้ำ ตามระบบเดิม ที่อำเภอปากช่อง…

Read More

ชัชวาลย์ เกตุแก้ว

ว่าที่ร้อยตรีชัชวาลย์ เกตุแก้ว วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ ว่าที่ร้อยตรีชัชวาลย์ เกตุแก้ว สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นต้น และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จากวิทยาลัยเกษตรกรรม ชลบุรี ในปีพุทธศักราช 2528 สำเร็จระดับปริญญาตรี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะธุรกิจการเกษตร จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปีพุทธศักราช 2529 และระดับ ประกาศนียบัตร ด้านภาษาญี่ปุ่นและธุรกิจ จากโรงเรียนสอนภาษานานาชาติริวกิว และมหาวิทยาลัยริวกิว ประเทศญี่ปุ่น ในปีพุทธศักราช 2534 ด้านงานประจำ ว่าที่ร้อยตรีชัชวาลย์ เกตุแก้ว ได้ดำรงตำแหน่งประธาน บริษัทสยามไทโยฟาร์มจำกัด จังหวัดสมุทรสาคร อีกทั้งยังได้ดำรงตำแหน่ง กรรมการสหกรณ์ผู้ประกอบการสวนกล้วยไม้ไทย และกรรมการสมาคมผู้ส่งออก กล้วยไม้ไทยรวมถึงเป็นที่ปรึกษาสมาคมผู้ประกอบการสวนกล้วยไม้ไทย ที่ปรึกษา ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสมุทรสาคร และเป็นที่ปรึกษา สมาคมริวกิว - สยามสัมพันธ์ โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ด้านผลงานทางวิชาการ ว่าที่ร้อยตรีชัชวาลย์ เกตุแก้ว ได้เป็นผู้คิดค้นและ พัฒนากล้วยไม้สายพันธุ์หวายโซนีน่า…

Read More

สหพรรณชนก ศรีสวัสดิ์

นายสหพรรณชนก ศรีสวัสดิ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารจัดการอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ นายสหพรรณชนก ศรีสวัสดิ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จาก สถาบัน เทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ในปีพุทธศักราช 2528 และสำเร็จการศึกษาใน ระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ในปีพุทธศักราช 2538 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายสรรหาทรัพยากรบุคคล บริษัทคาร์กิลล์ มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด นายสหพรรณชนก ศรีสวัสดิ์ เป็นบุคคลที่มีความสามารถโดดเด่นในด้าน การบริหารจัดการในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ จนได้รับการยกย่องจากบริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ให้เป็น “ผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงานต่างด้าว” เนื่องจาก เป็นผู้ริเริ่มส่งเสริมให้มีการนำแรงงานต่างด้าวสัญชาติลาวและกัมพูชา เข้ามาทำงาน ในบริษัทอย่างถูกกฎหมาย ภายใต้บันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างราชอาณาจักรไทย กับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2549 จนถึงปัจจุบัน และบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับ ประเทศกัมพูชา ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2553 จนถึงปัจจุบัน ในด้านงานวิชาการนายสหพรรณชนก…

Read More

Go to Top