Skip to content Skip to footer

นายอานันท์ ปันยารชุน

ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์

นายอานันท์ ปันยารชุน จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จากนั้นได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ดัลลิชคอลเลจ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ประเทศ อังกฤษ จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขากฎหมาย (เกียรตินิยม) ในปี พุทธศักราช 2498

ภายหลังจบการศึกษา นายอานันท์ ปันยารชุน เข้ารับราชการที่กระทรวงการ ต่างประเทศ โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ เมื่อปี พุทธศักราช 2510 จากนั้นจึงย้ายไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศ แคนาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำ สหประชาชาติ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ตามลำดับ จนกระทั่งถึงปีพุทธศักราช 2522 หลังจากลาออกจากราชการ นายอานันท์ ปันยารชุน ได้ใช้ความรู้ความสามารถในการ ทำงานด้านธุรกิจจนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยดำรงตำแหน่งเป็นประธาน กรรมการกลุ่มบริษัทสหยูเนียน ในปีพุทธศักราช 2534 และเคยดำรงตำแหน่งประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ นายอานันท์ ปันยารชุน ยังได้ร่วมงานใน ฐานะกรรมการ ที่ปรึกษา กรรมการที่ปรึกษา และเป็นประธานกรรมการบริษัทเอกชนอีก หลายแห่ง อาทิ เป็นกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาบริษัท เชฟรอน เอเซีย เซาท์ จำกัด เป็นกรรมการสถาบันอู่ ถิ่น เฟลโลว์ ของโรงเรียนดัลลิช กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นกรรมการที่ปรึกษาบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอ เรชั่น จำกัด เป็นประธานกรรมการบริษัท เชียงใหม่ ไนท์บาซาร์ จำกัด เป็นต้น

นายอานันท์ ปันยารชุน เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของราชอาณาจักรไทย 2 สมัย สมัยแรกระหว่างวันที่ 6 มีนาคม พุทธศักราช 2535 ถึงวันที่ 22 มีนาคม พุทธศักราช 2535 และสมัยที่สอง ในวันที่ 10 มิถุนายน พุทธศักราช 2535 ถึงวันที่ 23 กันยายน พุทธศักราช 2535 โดยการบริหารประเทศของนายอานันท์ ปันยารชุน ได้เน้นนโยบายด้านความโปร่งใส ทำให้รัฐบาลได้รับเสียงชื่นชมจากประชาชนและได้รับ การยอมรับจากต่างประเทศตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าว

นายอานันท์ ปันยารชุน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมาธิการพิจารณา ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ ประชาชน นอกจากนี้ ด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเทในการรณรงค์ส่งเสริมการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และความมุ่งมั่นในการปราบปราม การคอร์รัปชั่นมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้นายอานันท์ ปันยารชุน ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขารัฐบริการ จากมูลนิธิรางวัลรามอนแม็กไซไซ และได้รับรางวัลบุคคลแห่งปี ประจำปี พุทธศักราช 2540 ขณะดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 นายอานันท์ ปันยารชุน มีบทบาทสำคัญ ในการบัญญัติกฎหมายในการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์ เพื่อนำมาใช้ให้เกิด ประโยชน์แก่ประชาชน จนทำให้เกิดวิทยุและโทรทัศน์ชุมชนอย่างกว้างขวาง อันถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการดำเนินการเพื่อทำให้สื่อเป็นของชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง

โดยเหตุที่นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นแบบอย่างของสื่อบุคคลที่มีสติปัญญา ความรู้ความสามารถ โดยเฉพาะการเป็นสื่อบุคคลที่เป็นแบบอย่างของพลังแห่งปัญญา และพลังของความดีงาม จากการที่นายอานันท์ ปันยารชุนได้อุทิศตนทำงานเพื่อประเทศ ชาติโดยยึดหลักคุณธรรมและความดีงาม มีความกล้าหาญทางจริยธรรมในการแสดงออก ทั้งในด้านแสดงความคิดเห็นและการกระทำมาโดยตลอด นับเป็นบุคคลที่มีเกียรติประวัติ และคุณสมบัติเหมาะสม สมควรได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

หมายเหตุ: ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 31 วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552

Go to Top