Skip to content Skip to footer

นายพิสิษฐ ศศิผลิน
เทคโนโลยีการเกษตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาพืชศาสตร์)

การศึกษา

นายพิสิษฐ์ ศศิผลิน สําเร็จการศึกษาปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดยเรียนเตรียม วิทยาลัยเกษตรศาสตร์จากแม่โจ และได้รับปริญญาบัตรและ เข็มรัฏฐาภิรักษ์ จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

การทํางาน

นักเกษตร กองสัตวบาล กรมเกษตร
นายสัตวบาล กองส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ กรมปศุสัตว์
นักกสิกรรม สถานกสิกรรมแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
หัวหน้าสถานกสิกรรมแม่โจ จังหวัดเชียงใหม่
หัวหน้าสถานีกสิกรรมพริ้ว จังหวัดจันทบุรี
ผู้อํานวยการกอง กองคนควาและทดลอง กรมกสิกรรม
ผู้อํานวยการกอง กองส่งเสริมพืชพันธุ์ กรมส่งเสริมการเกษตร
รองอธิบดี กรมส่งเสริมการเกษตร

ปัจจุบันเป็น อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร

งานพิเศษ

อาจารย์พิเศษวิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ
อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ที่ปรึกษา ก.ร.ป. กลาง

ผลงานดีเด่น

ผลงานทางวิชาการ 

  1. ริเริ่มให้มีการทดลองปลูกพืชเมืองหนาว (Deciducus crops ) และพืชกึ่งเขตรอน (Sub – tropical crops ) ขึ้นที่สถานีทดลอง พืชสวนฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2498 โดยได้นําพันธุ์พืชเหล่านั้นจากต่างประเทศ มาทดลอง ปลูก เพื่อทําการทดสอบว่าสามารถปลูกในประเทศไทย ได้หรือไม่ มีการคัดพันธุ์และหาวิธีปลูกที่เหมาะสม
  2. ริเริ่มให้มีการทดลองผลิตเมล็ดพันธุ์ผักกึ่งเขตร้อนหลายชนิด ที่สถานีทดลองพืชสวนฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2498 โดยนําพันธุ์ที่มีแนวโน้มที่จะสามารถปลูกได้ ในตอนเหนือของประเทศไทยมาขยายพันธุ์ โดยใช้ เทคนิคการผลิตเมล็ดพันธุวิธีการต่าง ๆ จนสามารถผลิต เมล็ดพันธุ์พืชที่ไม่เคยผลิตได้ในประเทศ และจําเป็นต้อง สั่งซื้อจากต่างประเทศหลายชนิด เช่น ถั่วลันเตา ผักกาดหัว ผักกาดขาวปลี ฯลฯ ซึ่งเทคโนโลยีในด้านการผลิตและขยายพันธุ์ ดังกล่าวนี้ ต่อมาได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นลําดับ อัน เป็นผลให้ประเทศไทยได้มีพันธุ์พืชใหม่ ๆ ไว้ปลูกอย่าง กว้างขวางโดยไม่ต้องสั่งเข้าทั้งหมด เป็นประโยชน์ในด้านการสงวนเงินตราต่างประเทศได้ทางหนึ่ง
  3. ริเริ่มให้มีการฝึกอบรมวิชาการทําสวนผลไม้กับชาวสวนขึ้น ที่สถานีทดลองพืชสวนพริ้ว จังหวัดจันทบุรี ในปี พ.ศ.2505 และต่อมากรมกสิกรรมได้จัดขยาย งานฝึกอบรมวิชาการทําสวนผลไม้ขึ้นดําเนินการในแหล่ง ที่มีการทําสวนผลไม้ขึ้นทั่วประเทศ ทําให้ชาวสวนผลไม้ ได้รับความรู้ในการดูแลรักษาส่วนให้มีความสมบูรณ์ สามารถเพิ่มผลผลิตและรักษาคุณภาพของผลไม่ได้อย่างประหยัด
  4. ริเริ่มจัดระบบการจัดทําและวิเคราะห์โครงการส่งเสริมการเกษตรของกรมส่งเสริมการเกษตร ให้ใช้เป็นรูป แบบเดียวกันทั่วประเทศ ในปี 2516 ทําให้เกิดความ สะดวกแก่การวิเคราะห์ และการบริหารโครงการ ของกรมส่งเสริมการเกษตรมาจนถึงปัจจุบันนี้

ผลงานอาชีพซึ่งแสดงถึงความสําเร็จอันเป็นแบบอยางที่ดี

จะเห็นได้จากช่วงซึ่งปฏิบัติงานที่สถานีกสิกรรมฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วง พ.ศ.2500 – 2504 ซึ่งเป็นระยะเริ่ม แรกของสถานี และอยู่ในสถานที่ตอนเหนือของประเทศจัดวาอยู่ห่างไกล การคมนาคมไม่สะดวกเป็นอย่างยิ่ง หัวหน้าสถานีจําเป็นต้องมีความเข้มแข็ง อดทน มีวิริยะอุตสาหะเป็นอย่างมาก เพื่อทนต่อสภาวะดินฟ้าอากาศและ ความเป็นอยู่ ต้องอุทิศทั้งกายและกําลังใจ เพื่อบุกเบิกงานในหน้าที่รับผิด ชอบ หากเป็นบุคคลที่ขาดคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุ ผลสําเร็จได้ แต่เมื่อปรากฎว่าการปฏิบัติงานของ นายพิสิษฐ ศศิผลิน นอก จากจะบรรลุผลตามเป้าหมายแล้ว ยังได้ฝากผลงานในด้านการผลิตและ ขยายพันธุ์พืชเมืองหนาว ไว้เป็นรากฐานของการค้นคว้าวิจัย และเป็นผล ประโยชน์ต่อเนื่องแก่เกษตรกรทั่วไปด้วย จึงนับว่าผลงานดังกล่าวเป็นแบบ อย่างของความสําเร็จที่ดี ต่อมาเมื่อทําหน้าที่ระดับบริหาร ได้นําเอาประสบ การณ์ในด้านวิชาการ และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมาผสมผสาน เพื่อใช้ ในการบริหารและแนะแนวทางแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาใช้เป็นวิธีการปฏิบัติราชการต่อไป ขณะเดียวกันงานที่ได้ริเริ่มไว้ และมีประโยชน์ต่อเกษตรกรมากก็ได้ มีการพัฒนาและสนับสนุนให้มีองค์กรรองรับ หรือจัดเป็นโครงการอย่างถาวร เช่น งานด้านการผลิตและขยายพันธุ์พืช งานด้านการฝึกอบรม เป็นต้น

  1. การเผยแพรผลงานเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะชน

งานการเผยแพรเพื่อประโยชน์สาธารณะชนเริ่มตั้งแต่ครั้งได้ ปฏิบัติงานตามสถานกสิกรรมต่าง ๆ เช่น สถานกสิกรรมฝาง สถานีกสิกรรมแม่ใจ สถานกสิกรรมพริ้ว ซึ่งนอกเหนือจากงานวิจัยในสถานี ยังได้นําวิธีการและ ผลการวิจัยออกเผยแพร่สู่เกษตรกร และสาธารณะชนทั่วไปด้วย เช่น การ เผยแพร่การผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก พันธุ์พืชเมืองหนาว และพืชกึ่งเขตรอนไปสู่ เกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่และใกล้เคียง เมื่ออยู่ที่สถานีทดลองพืชสวนพริ้ว ก็ได้อบรมเผยแพร่วิธีการปลูกและดูแลรักษาสวนผลไม้ ซึ่งจัดว่าเป็นเทคโนโล ยีการเกษตรสมัยใหม่ให้เกษตรกรชาวสวนให้นําไปปฏิบัติ ซึ่งความรู้เหล่านั้นได้ กลายเป็นพื้นฐานของการทําสวนผลไม้ พัฒนาก้าวหน้าขึ้นมากในเขตจันทบุรี และจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งเป็นเขตปลูกผลไวที่สําคัญของประเทศในขณะนี้

นอกจากนี้ยังไดถ่ายทอดข้อคิดเห็น และความรู้ในด้านการพัฒนา การเกษตรแกกลุ่มชนสาธารณะชนทั่วไป ทั้งที่ดําเนินการโดยตรงด้วยตนเอง และอาศัยทรัพยากรบุคคลที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การ อภิปราย การเขียนบทความ การบรรยายทางวิทยุกระจายเสียง และโทรทัศน์ เป็นต้น ซึ่งผลของการประชาสัมพันธ์และเผยแพรดังกล่าว สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทยได้ยกย่องประกาศเกียรติคุณให้ได้รับกิตติคุณสัมพันธ์ “สังข์เงิน” ในปี 2525

หมายเหตุ: ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 6 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2527

Go to Top