Skip to content Skip to footer

ศาสตราจารย์ระพี สาคริก
เทคโนโลยีการเกษตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาพืชศาสตร์)

การศึกษา

ศาสตรจารย์ระพี สาคริก สําเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ บางเขน โดยเรียนเตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จากแม่โจ้ ได้รับการฝึกอบรมวิชาข้าวจากสหรัฐอเมริกา และได้รับการฝึกอบรมสถิติ การวางแผนวิจัยจากองค์การอาหารและเกษตรสหประชาชาติ ณ. ศูนย์ ฝึกอบรมที่อินเดีย

การทํางาน

  • เป็นนักเกษตรอยู่สถานีทดลองกสิกรรมแม่โจ้และสถานีทดลองเกษตรกลางบางเขน
  • หัวหน้าแผนกการโรงสี กรมการข้าว
  • อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เลขาธิการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • รองอธิการบดี และอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2 วาระสมาชิก
  • สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ปัจจุบันดํารงตําแหน่ง :

  • กรรมการทบวงมหาวิทยาลัย สมัยที่ 2
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วาระที่ 2
  • กรรมการมูลนิธิส่งเสริมยุวเกษตรกรไทย ในพระราชูปถัมภ์ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
  • กรรมการบริหารผู้ทรงคุณวุฒิศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเอเชีย ที่ใต้หวัน วาระที่ 3
  • กรรมการบริหารสถาบันพัฒนาชนบทแห่งเอเชียที่ อินเดีย
  • กรรมการที่ปรึกษาคณะกรรมการส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ ในสาขาส่งเสริมเผยแพร่ประชาธิปไตย
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • กรรมการในคณะอนุกรรมการ การจัดการศึกษาด้านเกษตร สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
  • สมาชิกในคณะกรรมาธิการวิชาการ องค์การกล้วยไม้แห่งโลก ติดต่อกันมาถึงปัจจุบัน กว่า 20 ปี
  • กรรมการกล้วยไม้โลก สมัยที่ 4
  • ที่ปรึกษาของสมาคมกล้วยไม้ในประเทศต่าง ๆ 16 ประเทศ
  • ที่ปรึกษาทางวิชาการอีกหลายสถาบันการศึกษา

ผลงานดีเด่น

ผลงานทางวิชาการ

  1. เป็นผู้ที่ริเริ่มงานวิจัยและพัฒนากล้วยไม้ของประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 เริ่มก่อตั้งสมาคมกล้วยไม้แห่งประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2500 เริ่มงานสอนงานวิจัยกล้วยไม้อย่างเป็นทางการแกมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เพื่อสร้างนักวิชาการทางด้านนี้ในปี พ.ศ.2500
  2. ค้นคว้าทางเทคนิคใหม่ ๆ ให้แก่วงการแล้วยไม้ เช่น เพาะ เมล็ดกล้วยไม้โดยใช้วันอาหาร การเพาะเมล็ดกล้วยไม้จากผักออน การถ่ายขวดเพาะกล้วยไม้ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งเทคนิคเหล่านี้ ในสมัยนั้นต่างประเทศปิดบังหวงแหนกันเป็นความลับได้ทําสําเร็จและยัง เผยแพร่ออกสู่ประชาชนโดยไม่เก็บไว้เป็นประโยชน์ส่วนตัว และยังได้ นําแนวความคิดเกี่ยวกับเทคนิคดังกลาวออกเผยแพรเพื่อการพัฒนาพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ ด้วย
  1. พัฒนาการจัดการสังคมควบคู่กันไป โดยจัดตั้งสมาคมรวม กลุ่มผู้สนใจ สนับสนุนให้กระจายรายได้และผลประโยชน ผลงานอาชีพซึ่งแสดงถึงความสําเร็จอันเป็นแบบอย่างที่ดี
  2. ได้รับการยกย่องจากต่างประเทศทั่วโลก ได้รับเชิญเป็น องค์ปกฐกในงานประชุมกล้วยไม้โลกทุกครั้ง และได้รับเชิญเข้าร่วมประชุม เป็นองค์ปาฐกในประเทศต่าง ๆ ติดต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนานจนถึง ปัจจุบัน
  3. ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการวิชาการระดับโลกหลายสาขา เช่น ในสาขาการจดทะเบียนตั้งชื่อกล้วยไม้ และในสาขาอนุรักษ์กล้วยไม้ ป่า เป็นต้น
  4. ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา พ.ศ. 2511 ยกของความเป็นเลิศทางวิชาการ และอุทิศตนทางดานวิชาการ เพื่อประชาชนส่วนรวม
  5. ได้รับประกาศนียบัตรยกย่องเกียรติคุณ Award of Honour จากงานกล้วยไม้โลกครั้งที่ 6 ที่ออสเตรเลีย พ.ศ. 2512 เหรียญทอง เชิดชูเกียรติจากสมาคมกล้วยไม้เอเชียอาคเนย์ พ.ศ. 2521 เหรียญ เงินจากสมาคมกล้วยไม้สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2521 ในฐานะบุคคลผู้อุทิศ ตนเพื่อมวลมนุษยชาติ ฯลฯ
  6. ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิทยาศาสตร์) สาขาเกษตรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2525

การเผยแพร่ผลงานเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชน

ประสบผลสําเร็จในการนําเอางานชุมนุมกล้วยไม้โลก ครั้งที่ 9 มาจัดในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นงานประชุม นานาชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ มีผู้เข้าร่วมประชุมถึง 3,000 กว่าคน จาก 41 ประเทศทั่วโลก และได้แสดงความสามารถในการจัด งานนี้ โดยวางแผนและบริหารงานในรูปแบบที่ไม่ต้องใช้เงินจากรัฐเลย แม้แต่น้อย งานประสพผลสําเร็จเป็นที่กล่าวขวัญไปทั่วโลก สามารถนําเอาวัฒนธรรมไทยเข้าประยุกต์กับกิจกรรมนานาประเทศได้อย่างดียิ่ง ทํา ให้ต่างประเทศตื่นเต้นต่อเอกลักษณ์ของชาติไทย ซึ่งฝังลึกอยู่ในรูปแบบของการแสดงอยางชัดเจน

ได้ทําให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศผู้ส่งกล้วยไม้ออกตาง ประเทศอย่างสําคัญ ในช่วงเวลาเพียงไม่ถึง 20 ปี รายได้จากการส่ง ออกขึ้นถึงประมาณ 500 ล้านบาท นับได้ว่าช่วยเศรษฐกิจของประเทศ ได้อย่างดี และยังได้ทําให้ประเทศไทยมีภาพพจนเป็นประเทศกล้วยไม้งาม ของโลกด้วย ทั้งยังได้เพียรพยายามให้ประชาชนใช้หลักการที่ได้จากการ พัฒนากิจการกล้วยไม้ เพื่อการริเริ่มงานพัฒนาผลิตผลใหม่ ๆ ของไทยเพื่อสู่ตลาดต่างประเทศ

ในระยะที่เข้ารับตําแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ได้ทําการแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างงานพัฒนาการ เกษตรที่สําคัญ หลายอย่าง เช่น การปรับปรุงโครงสร้างกรมวิชาการ เกษตร เพื่อให้มุ่งสู่สถาบันวิจัย ที่สมบูรณ์แบบและการริเริ่มให้มีการพัฒนา แหล่งปลูกยาง ด้านทิศตะวันออกของประเทศ ซึ่งในอดีตได้มีอยู่แล้ว แต่ ถูกกระทบกระเทือนอย่างหนักจากการขยายตัวของการปลูกมันสําปะหลัง ให้กลับคืนสภาพสู่สวนยาง เพื่อดุลทางเศรษฐกิจและการอนุรักษ์ธรรมชาติ

อนึ่ง ศาสตราจารย์ระพี สาคริก ได้ให้ความสนใจปรัชญา ชีวิต และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มาเป็นระยะเวลานานกว่า 20 ปี ได้ ใช้ชีวิตในยามว่างทํางานพัฒนาชนบทในรูปอาสาสมัคร ได้เขียนบทความที่เกี่ยวกับปรัชญาในการพัฒนาสังคมและการศึกษาในระดับพื้นฐานอย่างต่อ เนื่อง บทความต่าง ๆ ได้เป็นที่ยอมรับกันในวงการศึกษาและวงการต่าง ๆ อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ซึ่งนับว่าศาสตราจารย์ระพี สาคริก เป็นผู้ที่ มีเกียรติประวัติและคุณสมบัติเหมาะสมยิ่ง สมควรแก่ปริญญาเทคโนโลยีการ เกษตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพืชศาสตร์ ของสถาบันเทคโนโลยีการ เกษตรแม่โจ้ เพื่อเป็นการยกย่องและประกาศเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์ ต่อสาธารณชนสืบไป

หมายเหตุ: ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 6 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2527

Go to Top