บอน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Colocasia esculenta Hasskari อยู่ในวงศ์ ARACEAE เป็นพืชที่ชอบขึ้นอยู่ตามชายน้ำ หรือที่ลุ่มน้ำขัง เจริญเติบโตเป็นกอ ลำต้นมีไหล (stolon) แตกออกรอบ ๆ มีรากแตกออกเป็นกระจุกด้านล่าง ใบเป็นใบเดี่ยวมีขนาดใหญ่ แผ่นใบกว้างและอวบ ใบแตกออกรอบลำต้น จึงทำให้มีลักษณะเป็กอ ส่วนโคน ก้านใบแผ่กว้างหุ้มประกอบกันไว้ ก้านบยาว อวบพอง จึงทำให้ลอยน้ำได้ ด้านของใบสีเขียวแก่สด มีขี้ผุ้งคลุมเป็นมัน หยอดน้ำกลิ้งไปมาได้ ดอกออกเป็นช่อมีขนาดเล็ก เกิดบริเวณซอกใบ มีกาบหุ้ม ช่อดอกสีนวล ห่อหุ้มช่อดอกตอนล่าง ดอกตัวเมียจะอยู่ส่วนล่าง ๆ ของช่อดอก เป็นดอกที่ไม่มีกลีบดอก ติดผลสีเขียว ภายในเมล็ดหลายเมล็ด เมื่อถูกอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งจะเกิดอาการคัน
บอนเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีรากและหัว มีสรรพคุณทางการแพทย์และอาหารได้หลากหลาย ตามริมน้ำ ชอบขึ้นในที่ชุ่มชื้น มี 2 ชนิด คือ บอนหวาน และบอนคัน ลักษณะของบอนหวาน ใบและต้นจะมีสีเขียวสด และไม่มีนวลสีขาวเคลือบอยู่ตามก้านและใบ ส่วนบอนคัน จะมีสีที่ซ๊ดกว่า และมีนวลสีขาวเกาะตามก้านใบ และเมื่อตัดบอนคัดทั้งไว้สัก 5 นาที มักปรากฎสีเขียวปนน้ำเงิน แต่ในบอนหวานจะไม่ปรากฎ ชาวบ้านจะนิยมใช้บอนหวานมาทำอาหารมากกว่าบอนคัน เพราะถ้าจะใช้บอนคันมาประกอบอาหารต้องนำมาต้มหลายครั้ง เพื่อไม่ให้คัน โดยส่วนที่มักนิยมเอามาทำอาหาร คือ หลี่บอน ซึ่งเป็นยอดอ่อน หรือใบอ่อนของบอนที่ใกล้โคนต้น
บอนเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีรากและหัวที่นำมาใช้เป็นยาและอาหารในหลายภาคของไทย มีสรรพคุณทางการแพทย์และอาหารหลากหลาย
ที่มา : สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ หน้า 3377