Yaowapa Khueankham
-
วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล
วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล ตั้งอยู่ที่ 467 หมู่ 5 ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีประวัติอันยาวนาน โดยเป็นที่ประดิษฐาน พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ และเคยเป็นที่ที่ตั้งทัพของพญามังรายมมหาราช อายุมากกว่า 735 ปี ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัดแรกของอําเภอพร้าว โดยวัดพระธาตุดอยเวียงชัยก่อนที่จะมีการบูรณปฏิสังขรณ์จนเป็นวัดพระธาตุดอยเวียงชัยในปัจจุบัน โดยแบ่งออกเป็น 5 ยุคด้วยกัน คือ ยุคที่ 1 อ้างในตำนานพระเจ้าเลียบโลก เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเดินทางมายังดินแดนสุวรรณภูมิเขตล้านนาไทย พระพุทธองค์ทรงเสด็จมายังม่อนดอยเวียง (ปัจจุบันคือวัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล) พร้อมพระอานนท์เถระ เมื่อชาวบ้านทราบข่าวจึงได้พากันมาทำบุญใส่บาตรฟังธรรมอุปัฏฐากดูแลพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระอานนท์ทุกวัน […]
-
โรงเรียนเกษตรแม่โจ้สมัยบุกเบิก
กําจร บุญแปง สิ่งประทับใจครั้งแรก ต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2477 ผมได้ไปรายงานตัวที่แผนกศึกษาธิการในฐานะเป็น นักเรียนทุนครูเกษตรของจังหวัดเชียงใหม่ แล้วก็เดินทางออกจากจังหวัดกลับไปบ้านที่บ้านต้นซาง หมู่ที่ 9 ต. สันทรายหลวง อ. สันทราย โดยพาหนะรถจักรยานสามล้อแบบตอปิโด (คือรถพ่วงข้าง คนโดยสารนั่งข้างคนขี่รถ แต่หันหน้าไปข้างหน้า 1 คน และหันหน้าไปทางท้ายรถ 9 คน) เสียค่ารถหนึ่งสลึง (25 สตางค์) สำหรับระยะทางราว 10 กม. […]
-
วัดดอยแท่นพระผาหลวง “พระบิ่นหลังต๋ำ”
วัดเก่าแก่ที่ซ่อนตัวบนภูเขาหลังอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ เป็นวัดที่มีตำนานที่เล่าขานกันมาเกี่ยวกับการสร้างวัดตั้งแต่สมัยมีการสร้างเมืองเชียงใหม่ ตำนานเกี่ยวกับ ”พระบิ่นหลังต๋ำ” แห่งวัดดอยแท่นพระผาหลวง ตัววัดตั้งอยู่ที่ ต.ป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ จากเส้นทางถนน เชียงใหม่-พร้าว ขับรถมาเรื่อย ๆ เลยตลาดแม่โจ้ไปกลับรถที่หน้าศูนย์วิจัยพืชไร่ และมีเลี้ยวเข้าซอยขวามือทางไปอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ ขับรถตามเส้นทางไปเรื่อย ๆ จะมีทางเลี้ยวซ้ายเข้าไปที่อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ เส้นทางผ่านป่าชุมชน พอเลยอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ขึ้นไป จะมองเห็นพระนอนองค์ใหญ่สีเหลืองอร่าม อยู่บริเวณตีนเขา มีปู่เทพอสูร คอยปกปักรักษาพื้นที่ของวัด และ เพื่อรอรับพุทธศาสนิกชนที่จะขึ้นไปสักการะพระพุทธรูปในตำนาน “พระบิ่นหลังต๋ำ” ซึ่งเป็นภาษาเหนือ “บิดหลัง” คือการหันหลัง […]
-
อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ ทะเลสาบแห่งผืนป่าบ้านโปง
เมื่อมีคนถามว่าแม่โจ้มีสถานที่สวย ๆ หรือเปล่า ตอบเลยว่ามีค่ะ มีหลายที่ด้วย และหนึ่งในนั้นคือ อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่มีความสวยงามไม่แพ้ที่ใด อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ ตั้งอยู่บริเวณชุมชนบ้านโปง ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ รัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทาน เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2527 ให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อส่งน้ำเสริมให้กับพื้นที่จัดสรรของราษฎรที่อพยพจากเขตน้ำท่วม 300 ครอบครัว […]
-
สระเกษตรสนาน
งานฤดูหนาวจังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2478 นั้น เริ่มตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2478 ถึงวันที่ 5 มกราคม 2479 ทางสถานีทดลองกสิกรรม และโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ภาคเหนือ ก็ได้จัดนิทรรศการแสดงกิจกรรมการเกษตรด้วยโดยใช้อาคาร “เรือนเพชร” โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยเป็นที่จัดแสดงเป็นครั้งแรกที่มีการออกร้านนิทรรศการของหน่วยงานราชการ จากส่วนกลางไปร่วมงานฤดูหนาวเชียงใหม่ วันที่ 18 ธันวาคม 2478 อาจารย์ใหญ่ คุณพระช่วงฯ ได้หารือกับนักเรียนทั้งหมด 266 คน ในวันปิดภาคเรียนเทอมกลาง […]
-
อาหารท้องถิ่นภาคเหนือ : คั่วเห็ดถอบ (คั่วเห็ดเผาะ)
“เห็ดถอบ” ภาษาเหนือหรือเรียกกันอีกชื่อว่า เห็ดเผาะ เป็นเห็ดพื้นบ้านที่จะออกในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือและภาคอีสาน มีรูปร่างกลม หรือรี เนื้อสัมผัสกรุบกรอบ มีรสชาติดี และสามารถนำมาทำอาหารได้หลากหลายเมนู ราคาค่อนข้างสูง และหายาก เห็ดถอบหรือเห็ดเผาะ เป็นเห็ดราชั้นสูงที่อาศัยเจริญเติบโตและการสังเคราะห์แสงจากรากพืช ที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็น เห็ดถอบหนัง และ เห็ดถอบฝ้าย ส่วนใหญ่พบในป่าเต็งรัง และป่าสนเขา เกิดในดินที่เป็นดินเหนียวปนดินแดง ซึ่งปกติมักจะออกในบริเวณโคนต้นยาง […]
-
อาหารท้องถิ่นชนเผ่าปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) : ข้าวต้มมัด (เมตอ)
“เมตอ” (ข้าวต้มมัด) เป็นอาหารท้องถิ่นของชนเผ่าปะกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) บ้านห้วยผักกูด ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมนูอาหารที่ได้มาจากพืชผักที่หาได้จากธรรมชาติ “เมตอ” เป็นเมนูอาหารที่ชาวปะกาเกอะญอ นำมาใช้ประกอบในพิธีมงคลต่างๆ เช่น พิธีมงคลสมรส พิธีมัดมือคนในครอบครัว พิธีมัดมือสัตว์เลี้ยง (ช้าง และ กระบือ) โดยมีความเชื่อว่าจะทำให้เกิดความรักความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เฉกเช่นข้าวต้มที่มัดอยู่ด้วยกัน พิธีมัดข้อมือเรียกขวัญ เชื่อว่าจะทำให้เกิดความรัก […]
-
คุตีข้าว
ในการทำนาของภาคเหนือ เมื่อถึงฤดูเกี่ยวข้าว ก็ต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับเกี่ยวข้าว ตีข้าว และเก็บข้าวขึ้นยุ้งฉาง การในตีข้าวสามารถตีได้หลายวิธี ไม่ว่าจะทำตาราง โดยการนำขี้วัว มาทาบริเวณพื้นนา รอให้แห้งแล้ว เอาฟ่อนข้าวมาตีกับตารางได้เลย หรือจะใช้คุสำหรับตีข้าว ซึ่งคุสำหรับตีข้าวเป็นเครื่องจักสานขนาดใหญ่ที่ทำจากไม้ไผ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 – 2.50 เมตร สูงประมาณ 90-100 เซนติเมตร โดยจะนำคุไปวางที่ใกล้ ๆ กองข้าวที่เกี่ยวเรียบร้อยแล้ว โดยมีการปูเสื่อไม้ เรียกว่า “สาดกะลา” (เสื่อกะลา) สานด้วยผิวไม้บง มาปูไว้ด้านหนึ่งของคุ […]
-
วัดทุ่งหมื่นน้อย
วัดทุ่งหมื่นน้อย ตั้งอยู่ เลขที่ 289 หมู่ 9 บ้านทุ่งหมื่นน้อย ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ถนนสายเชียงใหม่-พร้าว เขตเทศบาลเมืองแม่โจ้ เดิมวัดทุ่งหมื่นน้อยนี้เป็นวัดร้าง วัดสร้างเมื่อไรนั้นไม่มีประวัติเพียงแต่มีคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่เท่านั้น จากคำบอกเล่าว่ามีขาวบ้านชื่อพ่ออุ้ยหมื่น และแม่อุ้ยหน้อย เป็นคนบริจาคที่เพื่อสร้างวัด แต่กระนั้นก็ไม่ได้มีหลักฐานชี้ชัดว่าเป็นเช่นนั้นหรือไม่ อีกข้อสันนิฐานหนึ่งอาจเป็นชื่อของผู้ที่มอบพื้นที่ให้สร้างวัดที่มีตำแหน่งทางราชการเป็นท่านหมื่น อันนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดเช่นเดียวกัน สมัยก่อนชาวบ้านอาศัยอยู่ท้ายวัด วัดจะอยู่หัวบ้าน แต่มาตอนหลังทางท้ายหมู่บ้านเกิดน้ำท่วมชาวบ้านเลยหนีขึ้นมาปลูกบ้านบนที่ดอน ปัจจุบันวัดเลยอยู่ท้ายหมู่บ้าน วัดนี้ถือว่าเป็นวัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งในอำเภอสันทราย ในสมัยก่อนมีพระภิกษุเวียนมาจำพรรษาบ้าง ไม่มีบ้าง จนกลายเป็นวัดร้างไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาเป็นช่วงเวลาหนึ่ง ไม่มีคนดูแลวัดชาวบ้านเลยเอาวัวเอาควายมาเลี้ยงที่บริเวณวัด และวัดนี้ได้เจริญขึ้นมาในสมัยที่หลวงพ่อชัย ชยฺยวุฒฺโฑ ได้เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัด ปัจจุบันมีเนื้อที่ 4 […]
-
วัดจันทร์
ประวัติและความเป็นมามีหลากหลายเรื่องเล่าเกี่ยวกับวัดจันทร์ ดังนี้ วัดจันทร์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ วัดจันทร์ มีการสันนิษฐานว่า มีการสร้างมานานกว่า 300 ปีได้มีชนเผ่าลั๊วะที่มาบุกเบิกสร้างหมู่บ้านอย่างไม่เป็นทางการมีการปักหลักที่อยู่ในท้องที่ต่าง ๆ พร้อมทั้งแบ่งกันเป็นกลุ่มในการสร้างวัดขึ้นเป็นจำนวนมาก ที่มีความเลื่อมใสพระพุทธศาสนาในสมัยเจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น ซึ่งในพื้นที่ตำบลบ้านจันทร์และพื้นที่ใกล้เคียงมีหลักฐานว่าเป็นวัดร้างจำนวนมาก ต่อมาชาวลั๊วะก็ได้โยกย้ายจึงทำให้เป็นวัดร้างไป เหลือแต่เจดีย์ที่ตั้งอยู่ในบริเวณวัดบ้านจันทร์ที่สร้างขึ้นมาของชาวลั๊วะกลุ่มหนึ่งเท่านั้นที่มีคนมาบูรณปฎิสังขรณ์เพื่อเป็นที่สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านจนถึงปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันบ้านจันทร์ก็มีชื่อเป็นภาษาท้องถิ่นของชาวปกาเกอะญอว่า “โข่ค่อทิ” ซึ่ง “โข่” แปลว่าพระเจดีย์ จึงมีความหมายว่า “บ้านตีนธาตุ) เป็นเจดีย์องค์แรก จากนั้นมีการสร้างพระเจดีย์เพิ่มอีก […]
-
“ร้อยป่า” จากชีวิตจริง เสือ กลิ่นสัก สุภาพบุรุษแม่โจ้
“ร้อยป่า” จากชีวิตจริง เสือ กลิ่นสัก สุภาพบุรุษแม่โจ้ จากบันทึกของคุณสมพันธุ์ ปานะถึก (วิเทศวรกิจ) แม่โจ้รุ่น 11 บุตรของหลวงวิเทศวรกิจและคุณวงศ์ ปานะถึก ท่านเกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2470 ที่กรุงเทพฯ เข้าเรียนแม่โจ้เมื่อปี พ.ศ. 2487 ซึ่งท่านได้เล่าว่า เมื่อตอนมาเรียน แม่โจ้นั้นยังห่างไกลตัวเมืองเชียงใหม่มาก มีถนนลาดยางจากอำเภอเมืองถึงอำเภอสันทราย จากอำเภอสันทรายถึงแม่โจ้เป็นถนนดินลูกรัง พวกนักเรียนจะเข้าตัวเมือเชียงใหม่ต้องเดินประมาณ 3-4 ชั่วโมง […]
-
“ความรู้สึกของข้าพเจ้าต่อสถาบันแม่โจ้”
“ความรู้สึกของข้าพเจ้าต่อสถาบันแม่โจ้” โดย นายอนันต์ โกเมศ ข้าพเจ้าคิดว่ามีคนจํานวนไม่น้อยที่รู้จักและคุ้นเคยกับคําว่า “แม่โจ้” ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาทางการเกษตรที่เก่าแก่สถาบันหนึ่งของประเทศไทย ที่ได้ผลิตนักศึกษาหรือบุคคลากรด้านเกษตรออกไปประกอบอาชีพในสถาบันต่าง ๆ รวมทั้งในภาคเอกชนด้วยเป็นจํานวนมาก ข้าพเจ้าก็เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้ผ่านการศึกษาจากสถาบันนี้ ซึ่งในขณะนั้น “แม่โจ้” มีฐานะเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีหลักสูตร 2 ปี เมื่อสําเร็จแล้วบางท่านก็ออกไปประกอบอาชีพรับราชการตามกรมต่าง ๆ และประกอบอาชีพส่วนตัวก็มีมาก และที่เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็มีเป็นบางส่วน และมีส่วนน้อยที่ได้เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยอื่น เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงแม้ว่าจะแยกย้ายกันไปหลังจากสําเร็จการศึกษาแล้วก็ตาม แต่ความผูกพันต่อสถาบันแม่โจ้ ต่อเพื่อนร่วมชั้นและร่วมสถาบันยังคงมีอยู่อย่างแน่นแฟ้นและมิได้เลือนลางไปจากจิตใจของทุกคน ถ้าจะพูดถึงสปิริตแล้วลูกแม่โจ้ทุกคนมีสปิริตสูง […]