Online Exhibitions

  • นิทรรศการ 100 ปี ชาตกาลอาจารย์วิภาต บุญศรี วังซ้าย : 2459 – 2559
  • โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม

    โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม

    ในปี พ.ศ. 2477 สมัยพระสาสน์ ประพันธ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ ในระยะนี้เนื่องจากนโยบายในการศึกษาการเกษตรเปลี่ยนแปลงไป กวี จุติกุล (2527) ได้ระบุว่า กระทรวงธรรมการเห็นว่า  โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมที่มีอยู่ 3 แห่งนั้น  ผลิตครูเกษตรมากเกินความต้องการ เกรงว่าจะไม่มีงานทำ  พระช่วงเกษตรศิลปาการ หลวงอิงคศรีกสิการ และหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ อาจารย์ใหญ่ทั้งสามท่านจึงได้เสนอโครงการเพื่อขอให้คงการฝึกหัดครูกสิกรรมไว้ 1 แห่งที่แม่โจ้ เทพประสงค์ วรยศ (2524) ได้อธิบายเรื่องนี้ไว้ว่า ปี พ.ศ. 2478  […]

  • ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย

    ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย

    ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย เป็นปูชนียบุคคล ที่ชาวแม่โจ้ให้ความรักเคารพนับถือและอยู่ในดวงใจของพวกเราตลอดมา โดยท่านได้สร้างคุณูปการแก่แม่โจ้มากมาย ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2527 จึงถือเอาวันที่ 30 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันวิภาต บุญศรี วังซ้าย รำลึกถึงคุณงามความดีของ ศ.ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ที่ได้มอบให้กับแม่โจ้ วันที่ 30 ตุลาคมของทุกปี ชาวแม่โจ้ ทั้งศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน พร้อมใจกันมาวางพวงมาลา […]

  • กำเนิดสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพ

    เทพประสงค์ วรยศ, ๒๕๒๔. ได้พรรณนาว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่า ม.จ.สิทธิพร กฤดากร แม้ว่าจะทรงเล่าเรียนด้านวิศวกรรมและไม่เคยปรากฏว่าได้ทรงเล่าเรียนวิชาการเกษตรจากสถาบันการศึกษาใด แต่ก็เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ด้านพืชตอน (พืชไร่) และไร่นาผสมมาก โดยได้ทรงทำการปฏิบัติและทดลองที่ฟาร์มบางเบิดมากว่า 10 ปี พระองค์จึงได้ทรงเชิญ ม.จ.สิทธิพรฯ มาวางโครงการปรับปรุงงานเกษตร เมื่อปลายปี พ.ศ. 2474 และโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตรวจกสิกรรม (กรมเพาะปลูกเดิม) กระทรวงพาณิชย์ ในต้นปี พ.ศ. 2475 จากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่ประกอบกิจการฟาร์มบางเบิดด้วยหัตถ์ของพระองค์มาอย่างได้ผลเป็นที่ประจักแก่ชาวไทยและแม้ชาวต่างประเทศโดยทั่วไปมาแล้วนี้ พระองค์ท่านได้ตระหนักอย่างแน่ชัดว่าวิธีจะแก้ไขสภาวะเศรษฐกิจของประเทศให้กระเตื้องฟื้นคืนดีขึ้นต้องแก้ที่ชาวนา โดยหาทางปรับปรุงส่งเสริมให้ชาวนารู้จักและนิยมปลูกพืชไร่หมุนเวียนไปกับการทำนา […]

  • การสร้างศาลเจ้าแม่โจ้

    การสร้างศาลเจ้าแม่โจ้

    ปี พ.ศ. 2499 มีการสร้างศาลเจ้าแม่โจ้ เนื่องมาจากในช่วงนั้นนักเรียนแม่โจ้มีเรื่องราวที่ไม่ดีเกิดขึ้นมากมาย โดยต้นคิดและหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการก่อสร้างคือคุณปรีชา ถาวร ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 19 โดยศาลครั้งแรกที่มีการสร้างนั้นเป็นเพียงการนำไม้มาตีต่อเป็นศาลมีหลังคาปิดไว้ มีขนาดเล็กๆ ไม่คงทนถาวร และไม่มีการถ่ายภาพไว้เป็นหลักฐานแต่อย่างใด สาเหตุที่มีการเรียกชื่อศาลนี้ว่า “ศาลเจ้าแม่โจ้” เนื่องมาจากคนที่ทำพิธีกรรมในครั้งแรกนั้นได้เรียกว่า “ศาลเจ้า แม่โจ้” หรือ “ศาล เจ้าแม่โจ้” คนจึงเรียกต่อๆ กันมาว่าเป็น “ศาลเจ้าแม่โจ้” แต่ศาลเจ้าแม่โจ้ ศาลแรกสร้างได้ไม่นานก็ผุพังลงไป และได้มีการสร้างขึ้นมาใหม่เป็นครั้งที่สอง ในบริเวณเดียวกันกับศาลแรก ดังปรากฎในภาพนี้ หมายเหตุ:ภาพต้นฉบับเป็นขาวดำ […]

  • ครั้งหนึ่งแม่โจ้เคยจัดงานประชุมกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 4 The Fourth Asia Pacific Orchid Conference (APOC 4)

    ครั้งหนึ่งแม่โจ้เคยจัดงานประชุมกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 4 The Fourth Asia Pacific Orchid Conference (APOC 4)

    งานประชุมกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 4 The Fourth Asia Pacific Orchid Conference (APOC 4) นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมกล้วยไม้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่และในการจัดงานครั้งนี้สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ได้รับเลือกเป็นสถานที่การประชุมกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 4 ในระหว่างวันที่ 20-26 มกราคม พ.ศ.2535โดยถือเป็นการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุครบ60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน ณสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2535 การจัดงานประกอบด้วย การประชุมทางวิชาการกล้วยไม้การจัดแสดงและประกวดกล้วยไม้ทุกชนิดทั้งในประเทศและต่างประเทศ การประกวดจัดสวนกล้วยไม้การประกวดศิลปะการจัดดอกกล้วยไม้ การประกวดภาพสีและสไลด์สีเกี่ยวกับกล้วยไม้การประกวดศิลปกรรมงานกล้วยไม้ ตลอดจนการจัดรายการท่องเที่ยวและทัศนศึกษาการจัดงานครั้งนี้ใช้พื้นที่ไม่น้อยกว่า 30,000 […]

  • วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่

    วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่

    วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ เป็นโรงเรียนอาชีวศึกษาชั้นสูง แผนกเกษตรกรรมสังกัดกองโรงเรียนเกษตรกรรม กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนนี้ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 18 กิโลเมตร บริเวณของโรงเรียนทั้งหมดมีเนื้อที่ประมาณ 800 ไร่ เป็นโรงเรียนที่รับนักเรียนประจำ (กินนอน) โรงเรียนนี้ได้เริ่มตั้งขึ้นมาเป็นปีที่ 23 มีประวัติสังเขปดังนี้ เนื้องจากกรมเกษตร (กรมกสิกรรม) กระทรวงเกษตราธิการ ได้จัดตั้งสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2476 (ปัจจุบันเรียกสถานีกสิกรรมแม่โจ้ ตั้งอยู่ติดกับโรงเรียนทางด้านเหนือ) ซึ่งขณะนั้นพระช่วงเกษตรศิลปการ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าสถานีฯ ในปี […]

  • ชีวประวัติของ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย

    ชีวประวัติของ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย

    ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย เป็นปูชนียบุคคล ที่ชาวแม่โจ้ให้ความรักเคารพนับถือและอยู่ในดวงใจของพวกเราตลอดมา โดยท่านได้สร้างคุณูปการแก่แม่โจ้มากมาย สิ่งที่ควรยกย่องในการทำงานของท่าน ศาสตราจารย์ ดร. วิภาต บุญศรี วังซ้าย ทั้งชีวิต การเรียน และการทำงานที่ควรนำมาเป็นแบบอย่างให้แก่ลูกแม่โจ้ อาทิ ท่านเป็นนักประชาธิปไตยตัวอย่าง ,เป็นผู้มีเมตตาธรรม,เป็นผู้มีความคิดและพัฒนางานใหม่ ,เป็นนักพัฒนาชนบท,เป็นผู้ส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย ,เป็นนักปกครองที่ดีเยี่ยม , เป็นครูที่ประเสริฐ และ เป็นผู้มีความสมถะ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย คือปูชนียบุคคล ของชาวแม่โจ้ […]

  • อินทนิล (Lagerstroemia Speciosa Pers.)

    อินทนิล (Lagerstroemia Speciosa Pers.)

    อินทนิล (Lagerstroemia Speciosa Pers.) เป็นไม้สัญลักษณ์ ประจำสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ที่แทนความแข็งแกร่ง บึกบึน ทรหด อดทน ของบรรดาลูกแม่โจ้ เนื่องจากอินทนิลเป็นไม้ยืนต้นที่แข็งแรง อายุยาวนานและเจริญเติบโตได้ทุกสภาพแวดล้อมของประเทศไทย ช่อมีลักษณะเกาะกันเป็นกลุ่มแน่น สีสด เหมือนความรัก ความสามามัคคีและกลมเกลียว เป็นน้ำหนึ่งของลูกแม่โจ้ ที่มิมีวันจางหายไป อินทนิล เป็นต้นไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย เช่น “ลูกแม่โจ้ที่มาจากทุกหนทุกแห่ง” และกระจายกันออกไปเจริญเติบโต ก้าวหน้าอยู่ทั่วทุกภาค ทั้งต้น เปลือก ใบ ใช้เป็นยาสมุนไพร “ดุจคุณค่าของบรรดาลูกแม่โจ้” […]