MJU Articles
-
เรื่องที่ควรรู้ในการตั้งชื่อเอกสาร Digital
2. การใส่วันที่ ใช้รูปแบบวันที่เป็น YYYY-MM-DD: รูปแบบนี้เป็นมาตรฐาน ISO 8601 ช่วยให้เรียงลำดับตามวันที่ได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่าง: “2023-09-27_meeting_minutes.docx” ใช้ปี ค.ศ. ไม่ใช้ปี พ.ศ.: ปี ค.ศ. เป็นมาตรฐานสากล ช่วยให้เข้าใจตรงกันในการทำงานข้ามวัฒนธรรม วิธีคำนวณ: ปี ค.ศ. = ปี พ.ศ. – 543 กรณีไม่ทราบปี ค.ศ. ให้ใช้ 543 […]
-
อาคารสุวรรณวาจกกสิกิจ
สร้างเมื่อปี 2520 อาคารสุวรรณวาจกกสิกิจ เป็นอาคารเรียนรวมที่ใช้ในการเรียนการสอนทุกสาขาวิชา เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น พื้นที่ประมาณ 1,545 ตารางเมตร หลังคาทรงจั่ว ปีงบประมาณที่ได้มา พ.ศ. 2520 ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 5,870,000 บาท โดยตั้งชื่ออาคารเพื่อเป็นเกียรติแก่หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ 1 ใน 3 เสือเกษตรไทย ปัจจุบัน อาคารสุวรรณวาจกกสิกิจ ใช้เป็นอาคารคณะพัฒนาการท่องเที่ยว ที่มา : บันทึกแม่โจ้ ความคิด ชีวิต […]
-
อาคารช่วงเกษตรศิลป์
อาคารช่วงเกษตรศิลป์ เป็นอาคารตึกครึ่งไม้ มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 1,863 ตารางเมตร หลังคาทรงปั้นหยา ปีงบประมาณที่ได้มา พ.ศ. 2498 ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 1,700,000 บาท โดยให้ชื่อเป็นเกียรติแก่พระช่วงเกษตรศิลปการ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัด ครูประถมกสิกรรมภาคพายัพ แต่เดิมอาคารนี้ใช้เป็นอาคารอํานวยการของโรงเรียน เคยใช้เป็นอาคารจัดการเรียนการสอนของสาขาวิชาบริหารธุรกิจการเกษตร สํานักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรกองบริการการศึกษา และคณะพัฒนาการท่องเที่ยว มาตามลําดับ แหล่งที่มา : หนังสือบันทึกแม่โจ้ ความคิด ชีวิต ตำนาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
-
อาคารชูติวัตร
อาคารชูติวัตร เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวโล่ง มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 170 ตารางเมตร หลังคาทรงจั่ว ปีงบประมาณที่ได้มา พ.ศ. 2495 ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 100,000 บาท โดยให้ชื่อเป็นเกียรติกับอาจารย์ไสว ชูติวัตร อาจารย์ใหญ่โรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ ช่วงปี พ.ศ. 2495-2497 ใช้เป็นศูนย์ประสาน บริการงานต่าง ๆ ปัจจุบัน อาคารชูติวัตร เป็นอาคารอเนกประสงค์ เพื่อใช้ในงานต่าง ๆ เช่น เป็นสถานที่จัดนิทรรศการ จัดกิจกรรมต่าง ๆ […]
-
โรงเรียนเทพศาสตร์
ในยุคที่พระช่วงเกษตรศิลปการ ก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ภาคเหนือ ได้ก่อสร้างอาคารต่าง ๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไปรวมแล้วหลายอาคาร “เรือนชีวะ” เป็นอีกอาคารหนึ่งซึ่งสร้างในยุคปี พ.ศ. 2480 อนุสรณ์สําคัญสิ่งหนึ่งในแม่โจ้ ที่อาจารย์พนม สมิตานนท์ สร้างไว้ คือ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา (ประถม-มัธยม ปีที่ 6) เพื่อให้ลูกหลานของครูอาจารย์ เจ้าหน้าที่ คนงาน และบุคคลทั่วไป ได้มีสถานที่เล่าเรียน (น่าจะเป็นต้นแบบของโรงเรียนสาธิตต่าง ๆ ในปัจจุบัน) คือ โรงเรียน “เทพศาสตร์” […]
-
เครื่องแบบนักเรียนโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ พ.ศ.2497
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียนโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ พ.ศ.2497 เครื่องแบบให้ประกอบด้วย เสื้อ แบบเซิ้ตคอตั้ง ผ้าขาวเกลี้ยง ไม่บางเกินสมควร ผ่าอกตลอด สาบที่ถูกเลือกว้าง 4 ซม. ใช้คุมสีขาวกลมแบนขนาดผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 ซม. แขนสั้นเพียงขอศอก มีกระเป๋าติดแนว ราวนมเบื้องซ้าย 1 กระเป๋า ขนาดกว้างตั้งแต่ 8 ซม. ถึง 12 ซม. และลึกตั้งแต่ 10 ซม. ถึง 15 […]
-
ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้นำพระพิรุณทรงนาคเป็นตราสัญลักษณ์มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม และได้ถูกเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องและเหมาะสมกับยุคสมัย จวบจนปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้มีการปรับเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ดังกล่าวประมาณ 10 แบบ เป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวกับการเกษตร ตราสัญลักษณ์แรก ตราสัญลักษณ์ของโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ เมื่อปี พ.ศ. 2477 ได้นำพระพิรุณทรงนาค ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวกับการเกษตรมาเป็นตราสัญลักษณ์ขึ้นในปีเปิดการศึกษาแรก พ.ศ. 2477 ตราสัญลักษณ์ ครั้งที่ 2 โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ภาคเหนือมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพอีกหลายครั้ง จนเป็นวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้ย้ายจากแม่โจ้ไปตั้งที่บางเขน แม่โจ้ได้ถูกจัดตั้งเป็น “โรงเรียนเตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” ตราสัญลักษณ์ของแม่โจ้ จึงมีการเปลี่ยนแปลง เป็นแบบที่ 2 […]
-
วิหารอุรวดี
วิหารอุรวดี การสร้างอุรวดีวิหารเป็นสิ่งพิสูจน์โลกวิญญาณ ปลายปี 2533 ดวงวิญญาณของ “พระนางอุรวดี” (นามแฝง) ได้มาขอให้จัดสร้างศาลาธรรมครอบสิ่งศักดิ์สิทธิ์เดิม บริเวณใกล้ อาคารหอสมุดแม่โจ้ เพื่อสร้างกุศลปลดปล่อยดวงวิญญาณที่ติดค้างอยู่ในแผ่นดินแม่โจ้ จำนวนมาก โดย “ท่านอุรวดี” เป็นผู้กำหนดรูปแบบทิศทางตำแหน่งของศาลาพระพุทธรูปที่จะนำมาไว้ พระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุและพิธีกรรม ได้ตรวจสอบข้อมูลกับหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร หลวงปู่ครูบาชัยวงษา, หลวงปู่สาม อากิญจโน พระมหาทองอินทร์ กุสลจิตโต (พระพิสีพิศาลคุณ) ทุกท่านย้ำว่าเป็นเรื่องจริง การก่อสร้างเป็นการบริจาคของผู้มีจิตศรัทธาทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ การบริจาคส่วนใหญ่ อยู่ในรูปวัสดุ เช่น กรวด หิน ดิน […]
-
หอระฆังแม่โจ้
หอระฆังแม่โจ้ พ.ศ. 2477 สร้างขึ้นเพื่อกำหนดเวลาชีวิตประจำวันของนักเรียนแม่โจ้แต่อดีต ตั้งแต่การปลุกให้ตื่นนอนเวลา 05.00 น. เพื่อลงงานภาคปฏิบัติเวลา 06.00-07.00 น. เข้าชั้นเรียนเวลา 08.00-12.00 น. ลงงานปฏิบัติภาคบ่ายอีกครั้งในเวลา 13.00-16.00 น. และสุดท้ายย่ำระฆังเพื่อสวดมนต์ไหว้พระ ก่อนเข้านอนเวลา 21.00 น. และแน่นอนการรัวระฆังกลางดึกหลังเที่ยงคืน คืนใดเกิดขึ้น ย่อมบ่งบอกถึงกิจกรรมประเพณีการรับลูกแม่โจ้ใหม่ไว้ในอ้อมอกอีกครั้งหนึ่ง หอระฆัง ดั้งเดิม ปี พ.ศ. 2477 สร้างด้วยไม้เนื้อแข็งทั้งหมด และใช้งานมายาวนาน […]
-
การทำกล่องอนุรักษ์วัตถุแบบง่าย ๆ ทำตามได้เลย
ฝ่ายจดหมายเหตุและคอลเล็กชั่นพิเศษ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วันนี้จะมาสอนการทำกล่องอนุรักษ์วัตถุแบบง่าย ๆ ทำตามได้เลย สามารถดัดแปลงให้มีขนาดตามต้องการ สามารถนำมาดัดแปลงเป็นกล่องขวัญของที่ระลึกให้กับผู้ใหญ่หรือบุคคลสำคัญ ได้อย่างภาคภูมิใจในฝีมือของเราเอง ไปลองทำตามขั้นตอนได้เลยค่ะ อุปกรณ์ที่ใช้ 1. วัตถุที่จะใช้อนุรักษ์ 2. มีดคัตเตอร์ 3. ไม้บรรทัด 4. ยางลบ 5. ดินสอ 6. ตัวหนีบกระดาษ 7. แผ่นรองตัด 8. กระดาษแข็งทำกล่อง 9. กาวลาเท็กซ์ 10.ไม้ทากาว […]
-
9 สิ่งสำคัญ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ลูกแม่โจ้ต้องเคารพ
1. ศาลเจ้าแม่ โจ้ 2. ศาลเจ้าพ่อ โจ้ 3. อนุสาวรีย์อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปการ 4. อนุสาวรีย์ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย 5. พระพิรุณทรงนาค 6.อาคารพุทธมิ่งมงคล 7.วิหารอุรวดี 8.สระเกษตรสนาน 9.หอระฆัง […]