Oral History
-
ชีวิตรุ่น 33
ณ. ที่นี้ขอกล่าวย้อนหลังไปอีก 3 ปี ปีที่ทุกคนไม่อาจลืมได้จนชั่วชีวิต ความหวังก่อนหน้านั้น ทุกคนมาศึกษาแม่โจ้เพื่อเป็นบันไดต่อชีวิตให้กับอนาคตและชีวิตของตัวเอง สิ่งที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไปไม่ได้ก็คือ “การใช้ชีวิตร่วมแห่งสถาบันเดียวกัน” ครั้งแรกจะไม่มีใครคิดเฉลี่ยวใจเลยว่าการดำเนินชีวิตในแม่โจ้นั้น มันมีความเข้มข้นเพียงใดและเกี่ยวโยงกับอนาคตกาลข้างหน้าของเรา ๆ อย่างไร? ทั้งนี้เพราะว่าทุกคนมัวหลงระเริงอยู่กับคำสรรเสริญเยินยอที่ได้รับจากรุ่นพี่ก็อาจเป็นได้ โดยไม่มีใครล่วงรู้เลยนั่นเป็นชีวิตอีกแง่หนึ่งใน จํานวนหลาย ๆ แบบ ในแม่โจ้ซึ่งผู้ที่เคยเหยียบผืนดินแห่งนี้มาก่อนได้ช่วยกันขนานนามให้เสียอย่างโก้หรูว่า “ประเทศแม่โจ้” หลังจากวันที่ 7 มิถุนายน ไปแล้วนั่นแหละทุกคนจึงรู้ว่า ตนเองได้ตกอยู่ภายใต้ขอบเขต – กฎของธรรมนูญอีกฉบับหนึ่ง นับเป็นครั้งที่ 33 ลูก […]
-
จําใจจาก
เสียงที่เราได้ยินซึ่งเสียงนั้นเป็นเสียงที่เกิดจากการตี บัวรดน้ำ จอบ ดังประสานมา กับเสียงตะโกนว่าไฟไหม้ ไฟไหม้ดอย ดังมาจากทุก ๆ หอพักในปลายฤดูหนาวของทุก ๆ ปี และเป็นปีที่สามในแม่โจ้ที่พวกเราได้ยินกัน นั่นเป็นสัญญานให้รู้ว่าไฟไหม้ป่าแดงอร่ามอยู่บนดอยที่ล้อมรอบแม่โจ้ทั้งใกล้และไกล ยิ่งกว่านั้นดอกแคฝรั่ง ภายในแม่โจ้ก็เริ่มออกดอกบานสะพรั่ง ดอกขาวแถบม่วงเป็นพวงระย้าติดอยู่กับกิ่งไร้ใบ คูชั่งสวยสดเสียเหลือเกิน พวกเราเรียกกันเรียกดอกซากุระเสียโก้หรู เมื่อถึงฤดูกาลนี้พวกเราจะดีใจจริง ๆ ที่จะได้กลับบ้านอีกแล้วและอะไรต่อมิอะไรมากมายนั่นเป็นเพราะความสุขใจ และดีใจระคนกัน ในระยะนั้นภายในหอแต่ละหอกําลังมีทั้งทองตำราทั้งนอนและนั่งอยู่อย่างเคร่งเครียดเพื่อเตรียมตัวสอบ เราจะสังเกตได้ง่าย ๆ คือจะเงียบผิดปกติมองดูหน้าแต่ละคน จะบอกให้รู้ว่า กําลังใช้ความคิดความจําและคล้ายกับว่าสลดใจอย่างไรพิกล คงจะเป็นเพราะ พวกเรากําลังจะจากแม่ […]
-
ในอ้อมอกแม่ (โจ้)
อ้อมอกแม่ (โจ้) แม้จะนานนับสิบปีเหมือนกับเพิ่งจากอกแม่เมื่อวานนี้เอง ฝนมืดมัว ของเดือนพฤษภาคมพร้อมกับความเงียบเหงาคอยเราอยู่ที่ชนบทอัน เปล่าเปลี่ยวแวดล้อมไปด้วยทุ่งนา ป่าแดง ป่าตึง และภูเขาสีครามที่ล้อมรอบอยู่ไกล ๆ ของอำเภอสันทราย เชียงใหม่ วันนั้น ก้าวแรกของเราที่แม่โจ้ จึงมีทั้งความประหวั่นพรั่นพรึงและความแปลกใหม่ในการที่มาอยู่ที่อื่นที่ไม่ใช่บ้าน ตลอดจนมีความว้าเหว่ใจ เมื่ออยู่ไป งานหนักเหน็ดเหนื่อย อาหารรสชาติไม่เป็นท่า แต่หมดรวดเร็วในชั่วพริบตา การเรียนเต็มเหยียด มีวิชาใหม่ ๆ ที่เริ่มต้นเรียนเป็นส่วนมาก การจัดระบบความเป็นอยู่ให้รู้จักความเป็นพี่น้อง รู้จักใจกว้าง เสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว รู้จักกาละเทศะ […]
-
โรงเรียนเกษตรแม่โจ้สมัยบุกเบิก
กําจร บุญแปง สิ่งประทับใจครั้งแรก ต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2477 ผมได้ไปรายงานตัวที่แผนกศึกษาธิการในฐานะเป็น นักเรียนทุนครูเกษตรของจังหวัดเชียงใหม่ แล้วก็เดินทางออกจากจังหวัดกลับไปบ้านที่บ้านต้นซาง หมู่ที่ 9 ต. สันทรายหลวง อ. สันทราย โดยพาหนะรถจักรยานสามล้อแบบตอปิโด (คือรถพ่วงข้าง คนโดยสารนั่งข้างคนขี่รถ แต่หันหน้าไปข้างหน้า 1 คน และหันหน้าไปทางท้ายรถ 9 คน) เสียค่ารถหนึ่งสลึง (25 สตางค์) สำหรับระยะทางราว 10 กม. […]
-
“ร้อยป่า” จากชีวิตจริง เสือ กลิ่นสัก สุภาพบุรุษแม่โจ้
“ร้อยป่า” จากชีวิตจริง เสือ กลิ่นสัก สุภาพบุรุษแม่โจ้ จากบันทึกของคุณสมพันธุ์ ปานะถึก (วิเทศวรกิจ) แม่โจ้รุ่น 11 บุตรของหลวงวิเทศวรกิจและคุณวงศ์ ปานะถึก ท่านเกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2470 ที่กรุงเทพฯ เข้าเรียนแม่โจ้เมื่อปี พ.ศ. 2487 ซึ่งท่านได้เล่าว่า เมื่อตอนมาเรียน แม่โจ้นั้นยังห่างไกลตัวเมืองเชียงใหม่มาก มีถนนลาดยางจากอำเภอเมืองถึงอำเภอสันทราย จากอำเภอสันทรายถึงแม่โจ้เป็นถนนดินลูกรัง พวกนักเรียนจะเข้าตัวเมือเชียงใหม่ต้องเดินประมาณ 3-4 ชั่วโมง […]
-
“ความรู้สึกของข้าพเจ้าต่อสถาบันแม่โจ้”
“ความรู้สึกของข้าพเจ้าต่อสถาบันแม่โจ้” โดย นายอนันต์ โกเมศ ข้าพเจ้าคิดว่ามีคนจํานวนไม่น้อยที่รู้จักและคุ้นเคยกับคําว่า “แม่โจ้” ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาทางการเกษตรที่เก่าแก่สถาบันหนึ่งของประเทศไทย ที่ได้ผลิตนักศึกษาหรือบุคคลากรด้านเกษตรออกไปประกอบอาชีพในสถาบันต่าง ๆ รวมทั้งในภาคเอกชนด้วยเป็นจํานวนมาก ข้าพเจ้าก็เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้ผ่านการศึกษาจากสถาบันนี้ ซึ่งในขณะนั้น “แม่โจ้” มีฐานะเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีหลักสูตร 2 ปี เมื่อสําเร็จแล้วบางท่านก็ออกไปประกอบอาชีพรับราชการตามกรมต่าง ๆ และประกอบอาชีพส่วนตัวก็มีมาก และที่เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็มีเป็นบางส่วน และมีส่วนน้อยที่ได้เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยอื่น เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงแม้ว่าจะแยกย้ายกันไปหลังจากสําเร็จการศึกษาแล้วก็ตาม แต่ความผูกพันต่อสถาบันแม่โจ้ ต่อเพื่อนร่วมชั้นและร่วมสถาบันยังคงมีอยู่อย่างแน่นแฟ้นและมิได้เลือนลางไปจากจิตใจของทุกคน ถ้าจะพูดถึงสปิริตแล้วลูกแม่โจ้ทุกคนมีสปิริตสูง […]
-
ชีวิตสองปีในแม่โจ้
ชีวิตสองปีในแม่โจ้ โดย บุญช่วย เลี้ยงสกุล การศึกษาทำให้นิสัยของมนุษย์งามน่าชม หลายคนที่พูดว่าการ กสิกรรมไม่ต้องศึกษาก็ทําได้ แน่นอน ใคร ๆ ก็ทำการกสิกรรมได้ แต่ผู้ที่มีการศึกษาสูงจึงจะทราบได้ว่า การศึกษากสิกรรมดีอย่างไร ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาคงทราบไม่ได้ว่า วิชากสิกรรมมีหลักอย่างไรบ้าง สําหรับผู้ที่ได้เรียนได้รู้คงทราบว่า วิชากสิกรรมเป็นวิชาที่ยาก ไม่ใช่เรียนจากการพูดหรือตำหรับตำราเท่านั้น ต้องอาศัยความชำนาญทางปฏิบัติเป็นส่วนมาก จึงจะยังผลให้สําเร็จได้ ผู้ใดที่ไม่นึกเช่นนี้ ก็เท่ากับไม่ได้เรียนหลักกสิกรรม กสิกรรมเป็นการกระทำที่ยากลําบาก กสิกรต้องศึกษาและปฏิบัติงานด้วยความสามารถ ทั้งต้องเป็นผู้อดทน และ ขยันขันแข็ง จึงจะทราบผลว่าการกสิกรรมเป็นอย่างไร พวกเราได้อุทิศร่างกายและใจบากบั่นมาเป็นกสิกรก็ด้วยเหตุผลที่กล่าวนั้น […]
-
อาจารย์ใหญ่คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ
อาจารย์ใหญ่คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ โดย นายธีระ นาคะธีรานนท์ อาจารย์ใหญ่หรืออาจารย์พระช่วงเกษตรศิลปการ เป็นเสมือนบิดาหรือผู้บุกเบิก “แม่โจ้” ในตําแหน่งราชการท่านคืออาจารย์ใหญ่ ร.ร. ฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ และร.ร.มัธยมวิสามัญเกษตรกรรมแม่โจ้จังหวัดเชียงใหม่ สําหรับโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมเริ่มตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2477 เป็นรุ่นที่ 1 โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม เริ่มตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2478 เป็นรุ่นที่ 1 ผู้เขียนจบจากโรงเรียนฝึกหัดครู รุ่นที่ 3 พ.ศ. 2479-2480 โดยเป็นนักเรียนในนามของจังหวัดนครสวรรค์เป็นผู้คัดเลือกส่งไป การเดินทางจากจังหวัดนครสวรรค์ไปจังหวัดเชียงใหม่ในสมัยนั้นถือว่าเป็นระยะทางที่แสนไกล […]
-
ไม่มีชนเหนือชั้นในแม่โจ้
ไม่มีชนเหนือชั้นในแม่โจ้ โดย กัสสปะ อัคนิทัต ผู้เขียนหลายท่าน ได้บรรยายไว้ค่อนข้างละเอียดถึงบุคคลิกลักษณะ อุปนิสัย ความรู้ ความสามารถ ความเมตตาปราณี ความมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานทุกชนชั้น ตลอดจนการบําเพ็ญตนในฐานะอาจารย์ต่อศิษย์ได้ครบถ้วนของอาจารย์พระช่วงเกษตรศิลปการ โดยเขียนตามทรรศนะของแต่ละท่าน แต่ทั้งหลายทั้งสิ้นก็มารวมเป็นทรรศนะเดียวกันเป็นเอกฉันท์ คือท่านอาจารย์พระช่วงฯ เป็นบุคคลที่ควรแก่การเทิดทูน เคารพ บูชา และควรถือเป็นแบบอย่างของผู้ที่เป็นครูอาจารย์ ทั้งมวลที่รักและประสงค์จะเป็นครูอาจารย์ที่เพียบพร้อมด้วยคุณงามความดี เพื่อตนเองและเพื่อการศึกษาของประเทศ อีกทรรศนะหนึ่งที่ยังไม่มีผู้ใดกล่าวถึง ซึ่งได้มีความคิดคํานึงว่า การปฏิบัติตนอันเป็นอุปนิสัยของอาจารย์ในเรื่องนี้มีความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง และมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องที่บันดาลให้แม่โจ้เป็นดินแดนแห่งความสงบ ร่มเย็น ปราศจากการแตกแยกไม่ว่าจะเป็น ระหว่างนักเรียนต่อนักเรียน (จํานวน […]
-
เยาว์วัยในแม่โจ้
เยาว์วัยในแม่โจ้ โดย ชื่นสุข โลจายะ จําได้ว่าขณะที่อยู่กับคุณพ่อที่แม่โจ้นั้น ดิฉันเพิ่งอายุแค่ 4 ขวบ อยู่ที่นั่นจนกระทั่ง อายุ 6 ขวบ จึงกลับมาอยู่กรุงเทพฯ เราเริ่มต้นที่แม่โจ้ด้วยการอยู่ในบ้านกระต๊อบหลังคามุงด้วยใบตองตึง (ใบพลวง) ใบตองตึงเป็นใบไม้ใหญ่ รูปไข่คล้ายใบหูกวาง เอามาเย็บติดต่อกันเป็นตับๆ คล้ายตับจาก เวลาจะเดินทางจากบ้านแม่โจ้เข้าเมืองเชียงใหม่ บางครั้งไม่มีเกวียนจะนั่งก็ต้องเดิน เอาใบตองตึงมาปิดศีรษะกันแดด ตอนขากลับเข้าแม่โจ้เวลากลางคืน คุณพ่อเอาปืนมาวางบนตัก เกรงจะมีอันตรายกลางทาง เพราะเป็นการเดินทางในป่าที่แสนมืด ช่างน่ากลัวเสียจริง ๆ เด็ก ๆ […]
-
แม่โจ้ให้อะไรบ้าง
แม่โจ้ให้อะไรบ้าง โดย ถมยา บุนยเกตุ ราวต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2478 ซึ่งเป็นเวลาปิดเทอมปลาย และกําลังใกล้จะเปิดเทอมปีการศึกษาต่อไป คุณพ่อข้าพเจ้าเรียกตัวให้ไปพบแล้วก็บอกว่า “พ่อจะส่งลูกไปเรียน วิชาการเพาะปลูกที่แม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่” ข้าพเจ้าไม่มีทางที่จะปฏิเสธได้นอกจากกล่าวคําว่า “ครับ” อย่างเดียว ถ้าจะนับว่าข้าพเจ้าเป็นลูกแม่โจ้ก็นับได้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สาเหตุที่ข้าพเจ้าถูกส่งไปเรียนวิชาเกษตร ข้าพเจ้ามั่นใจเหลือเกินว่าคุณพ่อและพี่ชายข้าพเจ้าปรึกษากันดีแล้ว เพราะขณะนั้นพี่ชายข้าพเจ้าได้รับราชการอยู่กรมเกษตรและได้เรียนสําเร็จวิชาการเกษตรมาจากต่างประเทศ ประกอบกับคุณพ่อของข้าพเจ้ามีสวนผลไม้ เช่น ทุเรียน เงาะ มะม่วง ชมพู่ ฝรั่ง หมาก กล้วย […]