Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

ปริญญากิตติมศักดิ์ (บุคคลทั่วไป)

สัมฤทธิ์ อินทร์เฉลียว

นายสัมฤทธิ์ อินทร์เฉลียว วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ นายสัมฤทธิ์ อินทร์เฉลียว สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต สาขาโคนม-โคเนื้อ จากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้) และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อพุทธศักราช 2531 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท เทคโนโลยีการจัดการ เกษตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการผลิตสัตว์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อพุทธศักราช 2556 ด้านการทำงานภายหลังจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีได้เข้ารับราชการ ในตำแหน่งอาจารย์ 1 ระดับ 3 ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบูรณ์ เมื่อ พุทธศักราช 2529 และพุทธศักราช 2552 ได้โอนย้ายมารับราชการในตำแหน่งครู ชำนาญการพิเศษ ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลพบุรีจนถึงปัจจุบัน นายสัมฤทธิ์ อินทร์เฉลียว รับหน้าที่เป็นนายทะเบียนพันธุ์ประวัติโคพันธุ์อเมริกันบราห์มัน ก่อนรับตำแหน่งนายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงโคพันธุ์บราห์มัน ตั้งแต่พุทธศักราช 2552 จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ นายสัมฤทธิ์ อินทร์เฉลียว ยังเป็นคณะกรรมการนโยบาย พัฒนาโคเนื้อ-กระบือ…

Read More

อภิชาต จงสกุล

นายอภิชาต จงสกุล วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน นายอภิชาต จงสกุล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาฟิสิกส์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อพุทธศักราช 2520 ระดับ ปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารสิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อพุทธศักราช 2528 และสำเร็จหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 50 จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เมื่อพุทธศักราช 2551 ด้านการทำงาน นายอภิชาต จงสกุล มีประวัติการทำงานที่แสดงถึงความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยม โดยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อพุทธศักราช 2543 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 8 จังหวัดพิษณุโลก และผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 จังหวัดราชบุรี เมื่อพุทธศักราช 2546 ดำรงตำแหน่ง รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เมื่อพุทธศักราช 2548 และเลขาธิการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เมื่อพุทธศักราช 2550 อีกทั้งได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษ ให้แก่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ อาทิ…

Read More

สุริยา แสงพงค์

นายสุริยา แสงพงค์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชา สัตวศาสตร์ นายสุริยา แสงพงค์ สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ได้รับปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต สาขาวิชาพืชไร่ จากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ในปีพุทธศักราช 2527 (แม่โจ้ รุ่นที่ 49) นายสุริยา แสงพงค์ ได้เริ่มต้นชีวิตการทำงานด้วยการบรรจุเป็นพนักงานในสวนสัตว์เปิดเขาเขียว สังกัดองค์การสวนสัตว์ สำนักนายกรัฐมนตรี ตำแหน่ง นักเกษตร 3 ในปีพุทธศักราช 2523 จากนั้นในปีพุทธศักราช 2539 ได้รับการปรับระดับและเปลี่ยน ตำแหน่งเป็นพนักงานโยธา 4 สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ปีพุทธศักราช 2541 ได้รับการปรับ ตำแหน่งและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพนักงานโยธา 5 และรักษาการหัวหน้างานอาคาร สถานที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ปีพุทธศักราช 2552 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง นักบริหาร 5 หัวหน้างานอาคารสถานที่ รักษาการหัวหน้าแผนโยธา สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ปีพุทธศักราช 2545 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 7…

Read More

อำพล เสนาณรงค์

นายอำพล เสนาณรงค์ ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ (พืชไร่) นายอำพล เสนาณรงค์ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางกสิกรรม และสัตวบาล จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปีพุทธศักราช 2498 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางการเกษตร สาขาพืชกรรม จากมหาวิทยาลัยมิสซิสซิปปี้ (Mississippi State University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปีพุทธศักราช 2502 และสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโททางวิทยาศาสตร์ สาขาการปรับปรุงพันธุ์พืชและ พันธุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเนบร้าสก้า (University of Nabraska) ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปีพุทธศักราช 2507 นายอำพล เสนาณรงค์ เข้ารับราชการในตำแหน่งนักกสิกรรมตรี กรมกสิกรรม เมื่อปีพุทธศักราช 2494 จากนั้นดำรงตำแหน่งหัวหน้า สถานีทดลองกสิกรรมบางเขน กรมกสิกรรม หัวหน้าสาขาข้าวโพดข้าวฟ่าง กรมวิชาการเกษตร (เปลี่ยนชื่อจากกรมกสิกรรม) และผู้อำนวยการ กองพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร ในปีพุทธศักราช 2504-2511 และ…

Read More

ชัยวัฒน์ แต้ไพสิฐพงษ์

นายชัยวัฒน์ แต้ไพสิฐพงษ์ ปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร นายชัยวัฒน์ แต้ไพสิฐพงษ์ สำเร็จการศึกษาจาก St. Steven College ที่ฮ่องกง เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งบริษัทเบทาโกร ในปีพุทธศักราช 2510 ซึ่งต่อมาเจริญก้าวหน้าเป็นเครือเบทาโกร อันเป็นกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ชั้นนำของประเทศ ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการของเครือเบทาโกร ท่านเป็นผู้วางรากฐานและพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมอาหารและอุตสาหกรรมการเกษตรโดยเป็นผู้ริเริ่มนำเทคโนโลยีการผลิตอาหารสัตว์ที่ทันสมัยเข้ามาประเทศไทยเป็นคนแรก และมีบทบาท สำคัญในการพัฒนาสายพันธุ์สุกร การเลี้ยงไก่ในโรงเรือนระบบปิด นอกจากนี้ยังดำเนินโครงการเกี่ยวกับการผลิตอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจด้วยมาตรฐานและคุณภาพที่ผ่านการรับรองในระดับสากลจากผลที่ธุรกิจในเครือเบทาโกร ได้ขยายสาขาไปทุกภูมิภาคนี้เอง นอกจากจะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้บริโภคสินค้าที่มีคุณภาพ สด สะอาด ยังเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพแก่คนในท้องถิ่นนั้น ๆ อีกด้วย ท่านมีผลงานด้านวิศวกรรมเป็นที่ปรากฏจำนวนมาก โดยเป็นผู้วางรากฐานการก่อสร้างโรงงานและฟาร์มของเครือเบทาโกร นับตั้งแต่การเลือกพื้นที่ การออกแบบ การเลือกเครื่องจักรและอุปกรณ์ ไปจนถึงขั้นการดำเนินงาน เป็นผู้ที่วงการอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมการเกษตรให้การยอมรับเป็นอย่างสูง มีผู้ขอเข้าชมกิจการอยู่ตลอดเวลา ในด้านการบำเพ็ญกรณียกิจต่อสังคม ท่านยังดำรงตำแหน่งเป็น ประธานมูลนิธิสายธาร ซึ่งจัดกิจกรรมและสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาจำนวนกว่า 30 แห่ง…

Read More

จรัล ไชยองค์การ

นายจรัล ไชยองค์การ ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการประมง (เพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา) นายจรัล ไชยองค์การ สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตร ประโยคครูมัธยมเกษตรกรรมจากวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ ในปีพุทธศักราช 2502 ต่อมาได้สำเร็จปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์เกษตร) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปีพุทธศักราช 2515 จากนั้นในปีพุทธศักราช 2537 ได้เข้ารับพระราชทาน ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการประมง (การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นายจรัล ไชยองค์การเป็นเจ้าของ จรัลฟาร์ม นายจรัล ไชยองค์การ เป็นบุคคลตัวอย่างในเรื่องความมานะพยายามที่สามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ มานานกว่า 25 ปี จนประสบความสำเร็จในด้านการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานเป็นราย แรกในภาคเหนือ จากนั้น นายจรัล ไชยองค์การ ได้ถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์การเลี้ยงปลาดังกล่าวแก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป จนทำให้การเลี้ยงปลาแบบผสมผสานประสบความสำเร็จ สามารถเลี้ยงปลาจำหน่ายใน 6 จังหวัด ภาคเหนือได้มากกว่า 10 ล้าน กิโลกรัมต่อปี คิดเป็นเงินมากกว่า 300 ล้านบาทต่อปี…

Read More

Go to Top