Skip to content Skip to footer

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจการเกษตร

พิธีทูนเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งที่ 6 ณ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527

เนื่องจากเป็นที่ประจักษ์ ทั่วกันว่า ได้ทรงประกอบพระกรณียกิจอันยังคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ นานัปการ ทรงมีพระปรีชาสามารถทุกด้าน มีน้ําพระทัยเปี่ยมล้นไปด้วย พระเมตตา อีกทั้งทรงเจริญด้วยจริยธรรมและคุณวุฒิ ทรงมีพระจริยาวัตรอันงดงามเป็นที่ชื่นชมของพสกนิกรชาวไทยทั่วหน้า ทรงสนพระทัยใน ทุกข์สุขของอาณาประชาราษฎร ด้วยการตรากตรพระวรกาย โดย เสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชดําเนินเยี่ยมทหารหาญ ตํารวจชายแดน รวมทั้งเสด็จเยี่ยมราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัย พิบัติ ทรงเป็นผู้นําในการบําเพ็ญพระราชกุศลสาธารณประโยชน และ การสังคมสงเคราะห์เป็นเอนกประการ ทรงช่วยบําเพ็ญพระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับเรื่องการเกษตร และชลประทาน ยังผลให้อาณาประชาราษฎรได้รับความร่มเย็นเป็นสุขทั่วหน้า พระเกียรติ คุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดังที่ได้กล่าว มาแล้วนี้ เป็นที่ซาบซึ้งและภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ

ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 27 ประจําปีการศึกษา 2546 – 2547 วันจันทร์ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2548 ณ ศูนย์กีฬากาญจนาภิเษก รัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นสมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ ที่มีพระปรีชาสามารถและพระวิริยะ อุตสาหะ ตลอดจน พระมหากรุณาธิคุณที่จะมุ่งมั่นบําบัดทุกข์บํารุงสุขแก่พสกนิกรตลอดมา พระองค์จึงทรงเป็นแบบอย่างของพระขัตติยกุมารีผู้ปรีชา พระปัญญา บารมีของพระองค์เป็นที่ประจักษ์แก่ปวงชนชาวไทย โดยเฉพาะ พระอัจฉริยภาพนั้นทรงรอบรู้ในสหวิทยาการ ซึ่งทุกสาขาล้วนก่อ ประโยชน์ต่อวงวิชาการของประเทศ

“เทคโนโลยีสารสนเทศ” เป็นอีกสาขาหนึ่งที่สมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระราชหฤทัย เนื่องจาก เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นเน้นถึงการจัดการในกระบวนการดําเนินงาน สารสนเทศ โดยเฉพาะโลกปัจจุบันมีสารสนเทศ ซึ่งจัดว่าเป็นทรัพยากร สําคัญอีกประเภทหนึ่ง พระองค์จึงทรงสนพระราชหฤทัยและมีแนว พระราชดําริเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ แก้ว ในด้านส่วนพระองค์ ทรงศึกษาวิชาคอมพิวเตอร์เพิ่มเติมที่ สถาบันคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 19 – 29 กรกฎาคม 2526 และศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาพถ่ายจากดาวเทียม ณ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology) ด้านภาพถ่ายจากดาวเทียมในภาคพื้นเอเชียเมื่อเดือนพฤษภาคม 2527 อบรมเพิ่ม International Institute for Aerospace Survey and Earth Sciences (ITC) ณ เมือง Enschede ประเทศเนเธอร์แลนด์ (ระยะ เวลาฝึกอบรม 3 วัน) หลักสูตรที่ทรงศึกษาประกอบด้วยทฤษฎี มีการศึกษาข้อมูลจากระยะไกล เกี่ยวกับระบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ระบบเครื่องมือบันทึกข้อมูล ระบบเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล ทฤษฎีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสายตาและคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังเสด็จฯ ออกภาคสนามเพื่อทรงเก็บรวบรวมข้อมูล และศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูลภาพถ่าย ข้อมูลคอมพิวเตอร์ และสิ่งที่ปรากฏจริงบน ภาคพื้นดิน จากการศึกษาทําให้ทรงนำมาใช้ประโยชน์ในด้านผลผลิตทางการเกษตร การจัดการป่าไม้ การจัดการแหล่งน้ำ การสํารวจทาง ธรณีวิทยา การหาแหล่งแร่น้ำมันปิโตรเลียม การทําแผนที่การใช้ที่ดิน และการวางแผนงานสําหรับในเมืองและชนบท ประชากรศาสตร์ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย และการศึกษา

นอกเหนือจากความสนพระราชหฤทัยที่เป็นการส่วนพระองค์ ดังกล่าวแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพสกนิกร อาทิ โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ โดยเป็นเทคโนโลยีเพื่อ การศึกษาสำหรับโรงเรียนในชนบท ซึ่งโครงการนี้ เริ่มดำเนินกิจกรรม มาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2534 โดยทรงมุ่งหวังให้เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ทําให้นักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนและประชาชนในชนบทได้มีโอกาสเรียนรู้ คอมพิวเตอร์อันเป็นการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสาร สนเทศ และช่วยให้นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการศึกษาและสามารถ นำความรู้ไปประกอบอาชีพ นอกจากนี้ยังมีพระราชดำริเกี่ยวกับการ พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อคนพิการ เด็กป่วยในโรงพยาบาล และพัฒนาผู้ต้องขังในทัณฑสถาน รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอน พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้เชิญครู-อาจารย์วิชาคอมพิวเตอร์และวิชา คณิตศาสตร์เข้าร่วมอบรมเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่ใช้กับโรงเรียน นักเรียนและสื่อการเรียนการสอน

ด้วยพระปรีชาสามารถ พระเกียรติคุณ และคุณูปการอันสูงยิ่ง ที่ทรงแสดงให้ปรากฏเป็นอเนกอนันต์ดังได้กล่าวมานี้ สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ ขอพระราชทานพระวโรกาสทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเฉลิมพระเกียรติคุณให้ปรากฏแผ่ไพศาล และเป็นสวัสดิมงคลแก่มหาวิทยาลัยแม่โจ้สืบไป

ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากร ปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทรงสําเร็จการศึกษา อักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม อันดับหนึ่ง) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก จากมหาวิทยาลัยศิลปากร อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงดำรงตำแหน่งอุปนายิกาสภากาชาดไทย ประธานมูลนิธิสายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ประธานมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ราชเลขานุการส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประธานมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ซึ่งมุ่งช่วยเหลือการศึกษาของนักเรียนและ นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ประธานคณะกรรมการอํานวยการบูรณปฏิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง ที่ปรึกษาโครงการสารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติราชการ ในตําแหน่งศาสตราจารย์ (ผู้อํานวยการกองวิชาประวัติศาสตร์) ส่วนการศึกษาโรงเรียน นายร้อยพระจุลจอมเกล้า และทรงปฏิบัติหน้าที่พระอาจารย์บรรยายพิเศษ ใน สถาบันการศึกษาของชาติ

ด้วยพระราชจริยาวัตรอันงดงาม และน้ำพระทัยที่เปี่ยมด้วยพระเมตตาคุณ กอปรกับทรงปฏิบัติหน้าที่ ในฐานะราชเลขานุการส่วนพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงรับรู้และตระหนักถึงปัญหาความทุกข์ยากของราษฎรในท้องถิ่นห่างไกล พระราชกิจที่ทรงปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ คือ การบันทึกข้อมูลรายละเอียด เกี่ยวกับพื้นที่ สภาพแวดล้อม สภาพปัญหาและความคิดเห็นของราษฎร รวมทั้ง ข้อเสนอแนะจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง ถวายข้อมูลที่ถูกต้อง แด่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เพื่อประกอบพระราชวินิจฉัยในการแก้ปัญหา เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ในการทรงงานด้านการพัฒนาประเทศ ให้เจริญก้าวหน้า ด้วยประสบการณ์ที่ทรงเรียนรู้ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทําให้การทรงงาน มีเป้าหมายเพื่อพัฒนา “คน” ให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้และคุณธรรม ทรงยึดหลักการ ในการพัฒนา เช่น การพึ่งตนเอง การเริ่มจากสภาพจริงที่เป็นอยู่ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของประชาชน วัฒนธรรมและผู้นำท้องถิ่น ประสิทธิภาพและการประสานงาน คุณธรรมและศิลปะ การทํางานเชิงรุก และการเชื่อมประสานด้านเวลา หลักการเหล่านี้เป็นดุจกรอบของการดํำเนินการพัฒนา ซึ่งปรากฏเป็นรูปธรรมเริ่มจากการให้การศึกษาเป็นประการแรก ประการที่สอง เป็นการทำงานกับกลุ่มคน ประการที่สาม ราษฎรเข้าร่วมโครงการในฐานะนักพัฒนาและนักวิจัย ประการสุดท้ายเป็นการทํางานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น หลักการและวิธีการทรงงานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงสัมพันธ์และ สอดคล้องกับหลัก “ภูมิสังคม” ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

หลักภูมิสังคมดังกล่าว ยึดถือสภาพความเป็นจริงของภูมิประเทศ และสังคมวิทยาของประชาชนในพื้นที่เป็นหลัก ดังนั้น การพัฒนาจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับลักษณะพื้นที่ และวิถีชีวิตของผู้คน ซึ่งมีความหลากหลาย และแตกต่างกัน ในแต่ละพื้นที่ ด้านการดำเนินชีวิตจึงต้องเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม จารีตประเพณี ความเชื่อ ความศรัทธา ศาสนา ศิลปะและภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งจรรโลงรักษาให้ชุมชน ดํารงอยู่อย่างมั่นคงและยั่งยืน การตระหนักถึงคุณค่าของข้อมูลทางกายภาพ และ สังคมวิทยานี้ จะช่วยให้งานพัฒนาคนและท้องถิ่นบังเกิดผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์

นอกจากการทรงงานที่มีหลักและวิธีการอันชัดเจน เป็นที่ประจักษ์แล้ว พระอัจฉริยลักษณะประการหนึ่ง คือ ทรงเป็น “องค์อัครศิลปิน” ทรงสนพระทัย ในการศึกษาและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติ ทั้งด้านสถาปัตยกรรม วรรณกรรม ดนตรีและนาฏศิลป์ จิตรกรรมและการช่าง ประวัติศาสตร์ โบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นเหตุผลสําคัญที่แสดงให้เห็นถึงการตระหนัก เรื่อง “หลักภูมิสังคม” ด้านสังคมวิทยาของชุมชนเป็นอย่างดี สําหรับลักษณะทางกายภาพ อันเกี่ยวกับภูมิประเทศนั้น มีตัวอย่างโครงการวิจัยที่แสดงถึงความเอาพระทัยใส่ ในด้านนี้ คือ ทรงเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย “การศึกษาความถูกต้องของแผนที่การใช้ที่ดินจาก ภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูง ซึ่งจําแนกโดยคอมพิวเตอร์ สําหรับจังหวัดนราธิวาส” ปีพุทธศักราช 2530 – 2531 ทรงใช้วิธีวิจัยภาคสนาม และข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม โดยเสด็จพระราชดําเนินไปสำรวจข้อมูลในพื้นที่พร้อมกับคณะนักวิจัย ทรงจดบันทึกข้อมูล ลักษณะดิน ลักษณะพื้นที่ การใช้ที่ดิน น้ำ พันธุ์พืชและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีการวิจัย เรื่อง “การใช้ระบบสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการพัฒนาพื้นที่เกษตร ในอำเภอพัฒนานิคมและชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี” ทรงริเริ่มดำเนินการในปีพุทธศักราช 2532 และทรงกำหนดให้โครงการสำเร็จภายในเวลา 4 ปี เพื่อนำผลการวิจัยไป ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร โครงการวิจัยทั้งสองโครงการ เป็นตัวอย่างสำคัญ ที่แสดงถึงพระอัจฉริยภาพและการตระหนักรู้ในหลักการของภูมิสังคม ดังกล่าวข้างต้น

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์สุขของราษฎรมีจำนวนหลายร้อยโครงการ ทุกโครงการสําเร็จด้วยน้ำพระทัยที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ของราษฎร กอปรกับ พระปรีชาชาญที่ทรงสนพระราชหฤทัยในกิจการพัฒนา จึงก่อเกิดสัมฤทธิผลนานาประการ เป็นรูปธรรม ดังจะขออัญเชิญโครงการในพื้นที่อำเภอบ่อเกลือ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัดน่าน มาเป็นตัวอย่างของการทรงงานตามหลักภูมิสังคม พื้นที่ทั้งสองอำเภอ ดังกล่าว มีความสำคัญในฐานะต้นน้ำน่าน ซึ่งมีอิทธิพลต่อปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา กว่าร้อยละ 60 มาจากแม่น้ำน่าน ดังนั้น การพัฒนาพื้นที่ป่าต้นน้ำน่านให้อุดมสมบูรณ์ จึงเป็นเรื่องที่สําคัญยิ่ง นอกจากนี้ สภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน ยังเป็นอุปสรรคสําหรับราษฎรในการ ดําเนินชีวิตเท่าเทียมกับราษฎรในพื้นที่อื่น ๆ ทั้งทางด้านการศึกษา เศรษฐกิจและสังคม “โครงการภูฟ้าพัฒนาตามพระราชดำริ” จึงเกิดขึ้นด้วยพระวิสัยทัศน์ ซึ่งงานพัฒนาตามโครงการ “ภูฟ้าพัฒนา” จะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนในโรงเรียน ประถมศึกษาและในศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” เพื่อแก้ปัญหาภาวะโภชนาการและสุขภาพ นอกจากนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้ง “ศูนย์ภูฟ้า พัฒนา” เพื่อเป็นห้องเรียนและพิพิธภัณฑ์สำหรับเด็กในการศึกษาและส่งเสริมความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ และเป็นศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาสำหรับราษฎร ศูนย์ดังกล่าว ดำเนินการศึกษาทดลองจนเกิดผลสำเร็จ จากนั้นจึงถ่ายทอดความรู้สู่ราษฎร เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิต และพัฒนาตนเองและสังคมต่อไป

นอกเหนือจากการให้ความรู้ดังกล่าวแล้ว โครงการภูฟ้าพัฒนายังจัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมและอาชีพอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านเกษตรกรรม มีการส่งเสริมการปลูกข้าวไร่ ไม้ผล ชาอู่หลง กาแฟ การประมง การเลี้ยงสัตว์ มีการให้ความรู้ เรื่อง การปรับพื้นที่ลาดชัน การทำฝาย ดักตะกอน การอนุรักษ์ดินและน้ำควบคู่กับการส่งเสริมด้านป่าไม้ มีการอนุรักษ์ทรัพยากร ป่าไม้ การใช้ประโยชน์จากไม้ฟื้น และการศึกษารูปแบบการปลูกป่าเสริมธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการแปรรูปผลิตผลภาคเกษตร เช่น การแปรรูปตัว (พืชท้องถิ่น) มะขามป้อม ชา ข้าวสาลี ส่วนอาชีพนอกภาคเกษตร มีการส่งเสริมอาชีพ เช่น เครื่องจักสานจากหวาย หญ้า ไม้ไผ่ และการทำไม้กวาดจากดอกหญ้ากิ่ง ผลิตภัณฑ์ ทั้งหมด เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สะท้อนอัตลักษณ์อันควรค่าแก่การยกย่องเป็นอย่างยิ่ง

ด้วยพระปรีชาสามารถ พระอัจฉริยภาพ และน้ำพระทัยที่เปี่ยมด้วย พระเมตตาคุณ ราษฎรไทยในชนบทห่างไกล จึงอยู่เย็นเป็นสุขด้วยพระบารมี โครงการตามพระราชดำริทุกโครงการ ก่อให้เกิดความสุขสมบูรณ์ มั่นคงและยั่งยืน สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการประชุมครั้งที่ 4/2553 เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2552 จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นสมควรขอพระราชทาน ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญา วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชา การพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติคุณให้ เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน และเพื่อเป็นสิริมงคลแก่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และวงวิชาการ อันเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคม สืบไป

หมายเหตุ: ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 33 วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2554

Go to Top