Skip to content Skip to footer

นายพงษ์ วิเศษไพฑูรย์

ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการประมง

นายพงษ์ วิเศษไพฑูรย์ เริ่มทํางานด้านการผลิตและควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ ในบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ เคยดํารงตําแหน่งกรรมการผู้จัดการเขตประเทศไทย กลุ่มธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา เครือเจริญโภคภัณฑ์

นายพงษ์ วิเศษไพฑูรย์ เป็นบุคคลที่มีผลงานทางวิชาการดีเด่น ได้จัดตั้งคณะทํางานค้นคว้าวิจัยและพัฒนาคุณภาพอาหารสัตว์น้ำโดยเน้นการพัฒนาอาหารเลี้ยงกุ้งกุลาดํา จนสามารถได้อาหารเลี้ยงกุ้งที่มีคุณภาพสูงและมีอัตราแลกเนื้อต่ำที่สุดในโลกของ ระบบการเลี้ยงกุ้งแบบปล่อยหนาแน่น นายพงษ์ วิเศษไพฑูรย์ ได้ให้การสนับสนุนด้านเครื่องมืออุปกรณ์ตลอดจนบุคลากร ในการ ตรวจวิเคราะห์สารปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อกุ้งในโรงงานแปรรูปและห้องเย็นก่อนการส่งออกกุ้งไปยังต่างประเทศ นายพงษ์ วิเศษไพฑูรย์ เป็นบุคคลที่มีผลงานวิชาชีพเป็นอย่างดียิ่ง กล่าวคือ ได้พัฒนาธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีผลผลิตสูง โดยใช้ต้นทุนต่ำ จากการค้นคว้าทางด้านอาหารสัตว์ การเลี้ยงดูบํารุงรักษา และการรักษาสภาพแวดล้อม ทั้งยังดําเนินธุรกิจการ เลี้ยงกุ้งกุลาดําแบบครบวงจรโดยการพัฒนาการตลาด มุ่งเน้นการส่งออก เป็นตัวอย่างที่ดีจนทําให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งหันมา ประกอบอาชีพแบบพัฒนาโดยมุ่งเน้นเพื่อการส่งออก จนสามารถนํารายได้เข้าสู่ประเทศได้เป็นอย่างดี เป็นผู้พิจารณาจัดสรรงบประมาณของบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์เพื่อนําไปใช้ในกิจกรรมรณรงค์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้องค์กรต่างๆและเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสภาพนิเวศน์วิทยาทางทะเลของป่าชายเลน ตลอดจนสนองพระราชดําริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการนําปลานิลมาทดลองเลี้ยงกับกุ้งกุลาดํา เนื่องจากปลานิลสามารถกรองกินแพลงค์ตอนชนิดต่าง ๆ รวมทั้งตะกอนอินทรีย์สารได้ดี ช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ําก่อนปล่อยจากบ่อเลี้ยงกุ้งสู่ธรรมชาติ ซึ่งประสบผลสําเร็จเป็นอย่างดี จนสามารถส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงปลานิลในบ่อกุ้งเพื่อ การค้าและปรับปรุงคุณภาพน้ำควบคู่กันไป

นายพงษ์ วิเศษไพฑูรย์ ได้ริเริ่มพัฒนาการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งแบบพัฒนา โดยจัดตั้งโครงการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งกุลาดําเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร อันจะนํามาซึ่งการเพิ่มรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร และตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งกุลาดําตามหลักวิชาการจัดการที่ถูกต้องอีกด้วย นอกจากนี้ยังได้ดําเนินโครงการความร่วมมือระหว่างเครือเจริญโภคภัณฑ์กับสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ วิทยาเขตละแม โดยสนับสนุนด้านสิ่งปลูกสร้าง การค้นคว้าวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเน้นทางด้านการเลี้ยงกุ้งในเชิงธุรกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และรักษาสมดุลธรรมชาติ เป็นโครงการที่อํานวยประโยชน์เป็นอย่างมากต่อนักศึกษา นักวิชาการ ตลอดจนเกษตรกรผู้ที่สนใจ และประสบความสําเร็จในการส่งสัตว์น้ำเป็นสินค้าออก

โดยที่ นายพงษ์ วิเศษไพฑูรย์ ได้มีส่วนพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทยให้ก้าวหน้า เป็นผู้ที่มีเกียรติประวัติดีเด่น ได้อุทิศตนเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมในการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีสู่ประชาชน ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ําและสถาบันการศึกษาเป็นอย่างมาก เป็นผู้ประสานงานนําเทคโนโลยีการประมง ทําให้เกิดกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างภาครัฐและเอกชน ตลอดจนกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์อีกหลายกิจกรรม จึงสมควรได้รับพระราชทานปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการประมง ของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

หมายเหตุ: ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 18 วันพุธที่ 17 มกราคม 2539

ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการประมง

นายพงษ์ วิเศษไพฑูรย์ สําเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาที่ประเทศจีน ได้เริ่มงานกับบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ ตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2501 เคยได้รับพระราชทานปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการประมงจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดํารงตําแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายบริหาร บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ นอกจากนี้ยังเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ประจําคณะกรรมาธิการ การเกษตรและสหกรณ์ กรรมการสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และเป็นผู้ประสานงานโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดําริ โครงการเกษตรผสมผสานตามพระราชดําริ โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชายเลน โครงการรักทะเล โครงการเลี้ยงปลานิลทะเลและปลาทับทิมในกระชัง โครงการเลี้ยงกุ้งกุลาดําระบบนําหมุนเวียนกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นต้น

นายพงษ์ วิเศษไพฑูรย์ เป็นผู้ที่มีผลงานด้านอาชีพที่แสดงถึงความ สําเร็จอันเป็นแบบอย่างที่ดี คือเป็นผู้ที่ได้จัดตั้งทีมค้นคว้าและพัฒนาคุณภาพอาหารเลี้ยงกุ้งกุลาดํา จนได้อาหารเลี้ยงกุ้งที่มีคุณภาพสูงและมีอัตราแลกเนื้อต่ำ ได้ใช้ระบบ บําบัดทางชีวภาพในการบําบัดน้ำและใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ชนิดต่าง ๆ ทําให้สามารถลดการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมีบําบัดน้ำ ได้ให้การสนับสนุนด้านเครื่องมืออุปกรณ์ตลอดจนบุคลากรในการตรวจวิเคราะห์สารปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อกุ้งในโรงงานแปรรูปและห้องเย็น และดําเนินธุรกิจการเลี้ยงกุ้งกุลาดําแบบครบวงจร ทําให้เกษตรกรหันมาประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนาโดยมุ่งเน้นเพื่อการส่งออก นอกจากนี้ยังเป็นผู้คิดค้นสนับสนุนการพัฒนาคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ปลานิล โดยได้นําสายพันธุ์ปลานิลเดิมผสมกับสายพันธุ์ปลานิลจากต่างประเทศที่มีลักษณะเด่นใน ด้านต่าง ๆ จนได้สายพันธุ์เฉพาะที่มีคุณสมบัติเจริญเติบโตเร็ว มีปริมาณเนื้อ มากกว่าสายพันธุ์เดิมถึง 40% ทนทานต่อสภาพแวดล้อม สามารถเลี้ยงได้ทั้งในน้ํา จืดและน้ําเค็ม จนได้รับพระราชทานชื่อปลานิลทับทิม จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ปัจจุบันเป็นที่นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายและ สามารถส่งออกทํารายได้เข้าประเทศเป็นจํานวนมาก นอกจากนี้ นายพงษ์ วิเศษไพฑูรย์ยังเป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชน จัดโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน และโครงการรักทะเลขึ้น เพื่อเป็นการปลูกฝังและกระตุ้นเตือน ให้ประชาชนมีจิตสํานึกที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

โดยที่ นายพงษ์ วิเศษไพฑูรย์ เป็นผู้ที่มีความสามารถสูงในวิชาชีพสาขา วิชาการประมงเป็นผู้สร้างสรรค์งานเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมและประเทศชาติอย่างแท้จริง นับเป็นบุคคลที่มีเกียรติประวัติและคุณสมบัติเหมาะสมยิ่ง สมควรได้รับพระราชทาน ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการประมง เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

หมายเหตุ: ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 22 วันอาทิตย์ ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2543

Go to Top