Skip to content Skip to footer

ดร. ไดซาขุ อิเคดะ (Dr.Daisaku Ikeda)

ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารศาสตร์

ดร. ไดชาขุ อิเคดะ (Dr. Daisaku Ikeda) ถิ่นพำนักในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น สำเร็จการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตร จากวิทยาลัยฟูจิ ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ประธานกิตติมศักดิ์สมาคมโซคา

ดร. ไดซาขุ อิเคดะ คือ บุคคลสำคัญที่มีความมุ่งมั่นและเพียรพยายามในการสร้างสันติภาพของโลก ทั้งนี้ สืบเนื่องจาก ท่านมีชีวิตวัยเด็กในยามที่ประเทศลำบาก ทุกข์ยากจากภาวะการแพ้สงคราม ท่านจึงมีความปรารถนา อย่างแรงกล้าที่จะสร้างสันติภาพขึ้นในโลก แม้จะไม่สามารถเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา แต่ด้วยความเป็นนักอ่านที่ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนตลอดเวลา ประกอบกับความรักในวรรณคดีและการแต่งบทประพันธ์ ตลอดจนการได้ศึกษาเล่าเรียนในเวลา ต่อมากับอาจารย์โจเชอิ โทดะ ผู้เป็นนักการศึกษา นักปรัชญาทางพุทธศาสนา และผู้รอบรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ อีกหลาย สาขา ทำให้ ดร. ไดซาขุ อิเคดะ มีรากฐานที่ดีด้านการศึกษา

จากคุณลักษณะดีเด่นดังกล่าว ท่านจึงได้ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมโซคาต่อจากอาจารย์โจเซอิ โทดะ โดย ในปีคริสต์ศักราช 1975 ซึ่งตรงกับพุทธศักราช 2518 ท่านได้ก่อตั้งองค์กรโซคาสากล (Soka Gakkai International – SGI) ณ เกาะกวม ซึ่งเป็นองค์กรเคลื่อนไหวด้านวัฒนธรรมสันติภาพและการศึกษาในประเทศต่างๆ ปัจจุบันสมาคมโซ คา มีเครือข่ายของเพื่อนสมาชิกอยู่ใน 140 ประเทศทั่วโลก ในประเทศไทยสมาคมนี้มีชื่อว่า สมาคมสร้างคุณค่าใน ประเทศไทย หรือ โซคางักไกไทยแลนด์ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่จังหวัดนนทบุรี

ด้วยพลังความเชื่อมั่นและตระหนักในความสำคัญของการสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนในโลก ทำให้ท่านดำเนิน กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสันติภาพตลอดมา ที่สำคัญได้แก่ การจัดทำข้อเสนอด้านสันติภาพเพื่อเสนอต่อองค์การ สหประชาชาติ ทุกวันที่ 26 มกราคม ของทุกปี การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้นำระดับโลก และการเดินทาง ไปกล่าวสุนทรพจน์ ตลอดจนการบรรยาย ณ สถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยทั่วโลก

โดยที่ ดร. ไดชาขุ อิเคดะ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถอย่างยอดเยี่ยมและตระหนักในคุณค่าของ ศิลปวัฒนธรรม การศึกษา และสันติภาพอันยั่งยืนของโลกรวมทั้งได้ประกอบกิจกรรมอันเป็นที่ยกย่องระดับโลก บนพื้นฐานของความรู้ความเข้าใจในปรัชญาพุทธธรรม ผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่ชนทั่วโลก นับเป็นผู้มีเกียรติประวัติ และคุณสมบัติที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง สมควรได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชา บริหารศาสตร์ เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

หมายเหตุ: ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 28 วันพุธ ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2549

Go to Top