พระมหาโพธิวงศาจารย์ (สุจี กตสาโร)
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชา บริหารศาสตร์
พระมหาโพธิวงศาจารย์ (สุจี กตสาโร) สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ชั้นปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดนาจักร จังหวัดแพร่ สำเร็จนักธรรมชั้นเอกจากวัดพระบาท มิ่งเมืองวรวิหาร สำเร็จเปรียญธรรม 3 ประโยคจากวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร จังหวัดแพร่
พระมหาโพธิวงศาจารย์ (สุจี กตสาโร) ปฏิบัติหน้าที่ ในตำแหน่ง เจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร และตำแหน่งผู้อำนวยการ โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา รวมทั้งประธานสภาวิทยาเขตแพร่ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่
พระมหาโพธิวงศาจารย์ (สุจี กตสาโร) อุทิศตนเพื่อการเผยแพร่ พระพุทธศาสนาและการศึกษาของชาติอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านการสอน และด้าน การบริหาร ในด้านการสอนนั้น ท่านเป็นครูสอนนักธรรมชั้นตรี สำนักเรียนวัดพระบาท มิงเมืองวรวิหาร และสอนความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาให้แก่คณะบุคคลทั้งใน วัด โรงเรียน และสถาบันต่าง ๆ นอกจากนี้ มีการอบรมศีลธรรมแก่ประชาชนตาม โครงการต่าง ๆ ของคณะสงฆ์ ประชาชน และหน่วยงานราชการ
ในด้านการบริหารนั้น วัดที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ได้รับรางวัลในฐานะ วัดพัฒนาดีเด่น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ท่านมีความสามารถในการบริหาร ทำให้โครงการ และกิจกรรมของวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร บรรลุเป้าหมายและได้รับความสำเร็จ เป็นที่ประจักษ์แก่คนทั่วไป นอกจากนี้ ท่านได้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม โดยการเป็น ผู้นำจิตวิญญาณของคนให้ประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีงาม อย่างต่อเนื่อง นับเป็น ภารกิจสำคัญ อาทิ การอบรมผู้ต้องขังในทัณฑสถาน การแสดงพระธรรมเทศนา ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดแพร่ และการสนับสนุนส่งเสริม งานด้านวัฒนธรรมของจังหวัด ซึ่งถือว่า เป็นกิจกรรมสำคัญอย่างยิ่ง
คุณความดีซึ่งเป็นที่ยอมรับของพุทธศาสนิกชน อีกประการหนึ่ง คือ การเผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (สุจี กตสาโร) ได้ ร่วมเผยแพร่พระพุทธศาสนา ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศอินโดนีเซีย และเป็นกรรมการสอบธรรมะ ณ ประเทศมาเลเซีย
จากความรู้ความสามารถดังกล่าว ท่านจึงได้รับรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม สาขาการบริการการศึกษา ได้รับเกียรติบัตรจาก กรมราชทัณฑ์ ในฐานะผู้บำเพ็ญประโยชน์ในการพัฒนาจิตใจผู้ต้องขัง และได้รับเกียรติ บัตรจากสภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ในฐานะที่สนับสนุน ส่งเสริมและสืบสานวัฒนธรรม ของชาติ นอกจากนี้ยังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากสถาบันการศึกษา หลายแห่งในฐานะที่ท่านมีความรู้ความสามารถทั้งในด้านการอ่านและเขียนอักษรล้านนา ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและความรู้เกี่ยวกับการศึกษา
โดยที่พระมหาโพธิวงศาจารย์ (สุจี กตสาโร) ได้บำเพ็ญคุณงามความดีเป็นที่ ประจักษ์แก่บุคคลทั่วไป ประกอบกับการเผยแพร่ความรู้ด้านพุทธศาสนา เพื่อให้คน ปฏิบัติในสิ่งที่ดีงามรวมทั้ง งานวิชาการด้านการศึกษา นับเป็นเกียรติประวัติและ คุณสมบัติเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง สมควรได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารศาสตร์ เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป
หมายเหตุ: ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 30 วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551