นายนคร พงษ์น้อย
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์
นายนคร พงษ์น้อย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีครุศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปีพุทธศักราช 2505 และ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านการศึกษา จากมหาวิทยาลัย Standford แห่งเมือง ซานฟานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปีพุทธศักราช 2509
ด้านงานประจำ นายนคร พงษ์น้อย ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการและเจ้าหน้าที่ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง นอกจากนี้ ยังเป็นผู้อำนวยการไร่แม่ฟ้าหลวง ในส่วนของงานพิเศษ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการศึกษาและคัดเลือกทุนการศึกษา ในมูลนิธิสมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเป็นที่ปรึกษามูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในปีพุทธศักราช 2515 อีกทั้งเป็นที่ปรึกษามูลนิธิส่งเสริมผลผลิตชาวไทยภูเขา แห่งประเทศไทย ในสมเด็จรพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในปีพุทธศักราช 2516 และเป็นที่ปรึกษา อุทยานศิลปวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ในปี พุทธศักราช 2517 และเป็นที่ปรึกษากรรมการก่อสร้างพระตำหนักดอยตุง ซึ่งเป็น โครงการพัฒนาดอยตุงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในปีพุทธศักราช 2531 นอกจากนี้ ยังเป็นที่ปรึกษาฝ่ายพิจารณาทุนการศึกษาของบริษัทในเครือไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และเป็นวิทยากรพิเศษบรรยายเกี่ยวกับงานภูมิทัศน์ ภูมิสถาปัตยกรรม พืชพรรณ ศิลปะและวัฒนธรรมล้านนาตลอดจนโครงการวางผังทั้งสถาบันการศึกษาที่ เป็นองค์กรของภาครัฐและเอกชน ในปีพุทธศักราช 2549 และเป็นที่ปรึกษาฝ่าย ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทในเครือไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ในปี พุทธศักราช 2551
นายนคร พงษ์น้อย เป็นผู้ที่มีผลงานทางวิชาการดีเด่น และจัดระบบ องค์ความรู้ ตลอดจนจัดกิจกรรมในหลายด้าน ได้แก่ จัดทำหนังสือ “FORM THE HANDS OF THE HILL” เพื่อเผยแพร่งานหัตถกรรมของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ จัดทำพจนานุกรมล้าน นา – ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง จัดทำสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ อันสืบเนื่องจากการ ทำพจนานุกรมล้านนา – ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง อีกทั้ง เป็นผู้รวบรวมข้อมูลทางวัฒนธรรม ท้องถิ่นของจังหวัดเชียงราย ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ เล่ม 6 นอกจากนี้ ยังได้จัดทำโครงการค้นคว้าวิจัยประวัติพระธาตุดอยตุง เพื่อเผยแพร่ประวัติพระธาตุดอยตุง
นอกจากผลงานทางวิชาการแล้ว นายนคร พงษ์น้อย ยังเป็นผู้มีผลงานอาชีพซึ่ง แสดงถึงความสำเร็จอันเป็นแบบอย่างที่ดี ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประจำ วิทยาลัยครูเชียงราย ซึ่งปัจจุบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และได้รับ พระราชทานโล่และเข็มเกียรติคุณ นักอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่นประจำพุทธศักราช 2535 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อีกทั้ง ได้รับการยกย่องให้เป็น ปราชญ์ล้านนา และศิลปินแห่งล้านนาด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และพืชพรรณ ล้านนา นอกจากนี้ ยังได้รับการยกย่องจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงให้เป็นที่สุดของ ศิลปินล้านนา
ในด้านการเผยแพร่ผลงานเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชน นายนคร พงษ์น้อย ได้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการและเจ้าหน้าที่ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และผู้อำนวยการ ไร่แม่ฟ้าหลวง ซึ่งเป็นผู้ที่ได้กระทำคุณประโยชน์แก่สาธารณชน โดยการดำเนินโครงการ ของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และได้ถวายงานด้วยความจงรักภักดีแด่สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี้ เพื่อดำเนินโครงการต่าง ๆ ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี อันเป็นประโยชน์แก่ประชาชน อีกทั้งยังดำเนินโครงการไร่แม่ฟ้าหลวงเพื่อ การพัฒนาพื้นที่ให้เป็นสถานที่เรียนรู้สถาปัตยกรรมล้านนาต่าง ๆ และรวบรวมพรรณไม้ พื้นถิ่นภาคเหนือ ปลูกเลี้ยง ขยายพันธุ์ ศึกษาวิจัย และจัดแสดงพืชพรรณ ตลอดจนเก็บ รวบรวมพืชสมุนไพรนานาชนิด จนได้รับการยกย่องให้เป็นปราชญ์ล้านนาและศิลปินแห่ง ล้านนาด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม และพืชพรรณล้านนา และยังได้รับการ ยกย่องจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ให้เป็นที่สุดของศิลปินล้านนา นอกจากนี้ ยังได้ให้ ความร่วมมือทางด้านวิชาการ โดยรับนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้ารับการฝึกงานและ เข้าทำงานอย่างต่อเนื่อง
นายนคร พงษ์น้อย เป็นบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นผู้มีความวิริยะ อุตสาหะอย่างยิ่งทางด้านสถาปัตยกรรม ศิลปะล้านนา และพืชพรรณล้านนา โดยมีการ รวบรวมพืชพรรณล้านนาและพันธุ์ไม้หายาก รวมทั้งพืชพรรณเขตร้อนอื่น ๆ และยังเป็น ผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ การเลือกใช้วัสดุ พืชพรรณ และการจัดสวน จนเป็นที่ประจักษ์แก่บุคคลทั่วไป จึงได้รับการยกย่องให้เป็น ปราชญ์ล้านนาและศิลปินแห่งล้านนาด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม และพืชพรรณ ล้านนา รวมทั้งยังเป็นนักอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น ซึ่งเข้าเฝ้ารับพระราชทานโล่และเข็ม เกียรติคุณ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และได้ดำเนินการ ก่อสร้างไร่แม่ฟ้าหลวง ให้เป็นแหล่งรวบรวมศิลปวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จนมีชื่อเสียงในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ นายนคร พงษ์น้อย ยังเป็นนักออกแบบก่อสร้างงานภูมิทัศน์ ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในกลุ่ม นักอนุรักษ์และกลุ่มธุรกิจด้านการโรงแรม และงานภูมิทัศน์ของประเทศไทย
โดยที่ นายนคร พงษ์น้อย เป็นผู้ที่มีผลงานทางวิชาการดีเด่นจนเป็นที่ยอมรับใน วงวิชาการ และเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมในงานวิชาชีพนั้น จนปรากฏเป็นที่ยอมรับ เป็นประโยชน์และแบบอย่างที่ดีแก่คนทั่วไป อีกทั้งยังเป็นผู้บำเพ็ญกรณียกิจ ด้วยความคิดริเริ่มจนเกิดประโยชน์แก่สังคม นับเป็นบุคคลที่มีเกียรติประวัติและ คุณสมบัติเหมาะสมอย่างยิ่ง สมควรได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป
หมายเหตุ: ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 31 วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552