ศาสตราจารย์ ดร. หยวน กวง กู๋
(Dr. Yuan Kuang Guu)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชา วิศวกรรมอาหาร
ศาสตราจารย์ ดร. หยวน กวง กู๋ (Professor Dr. Yuan Kuang Guu) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้รับวุฒิวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ในปีคริสตศักราช 1977 ระดับปริญญาโท ได้รับวุฒิวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอาหาร สถาบันบัณฑิตศึกษา แห่งวิทยาศาสตร์ การอาหารและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ในปีคริสตศักราช 1979 และ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ได้รับวุฒิ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยคอร์แนล ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปีคริสตศักราช 1991
ปัจจุบัน ศาสตราจารย์ ดร. หยวน กวง กู๋ (Professor Dr. Yuan Kuang Guu) ดำรงตำแหน่งอธิการบดีแห่ง National Pingtung University of Science and technology ตั้งแต่ปีคริสตศักราช 2006 จนถึงปัจจุบัน และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร ตั้งแต่ปีคริสตศักราช 1997 ดำรงตำแหน่ง สมาชิกคณะกรรมการ สมาคมเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาแห่งไต้หวัน ตั้งแต่ปีคริสตศักราช 2006 ดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะกรรมการ สมาคมวิทยาศาสตร์การอาหาร และเทคโนโลยีแห่งไต้หวัน ตั้งแต่ปีคริสตศักราช 2007 นอกจากนี้ ยังเป็นตัวแทน กรรมการจากประเทศไต้หวัน ในองค์กรวิทยาศาสตร์ทางธัญพืชและเทคโนโลยี กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ตั้งแต่ปีคริสตศักราช 2006
นอกจากการเป็นศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการและการสอนแล้ว ศาสตราจารย์ ดร. หยวน กวง กู๋ (Professor Dr. Yuan Kuang Guu) ยังเป็นบุคคลที่มี ประสบการณ์ในการทำงานหลายตำแหน่ง อาทิ ตำแหน่งรองกรรมาธิการมณฑลปิงตุง แห่งไต้หวัน ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและเลขาธิการองค์กรเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาแห่งไต้หวัน ประธานกรรมการสมาคมศึกษาศาสตร์เกษตร แห่งไต้หวัน ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือด้านเทคโนโลยี ของ National Pingtung University of Science and technology ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อประเทศกำลังพัฒนาแห่ง National Pingtung University of Science and technology เลขานุการฝ่ายบริหาร ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมเทคโนโลยี เลขานุการฝ่ายบริหารสำนักงานสวนเทคโนโลยีชีวภาพ ด้านการเกษตร แห่งมณฑลปิงตุง วิศวกรแปรรูป บริษัท เหวย ฉวน ฟูดส์ จำกัด ประเทศไต้หวัน และผู้จัดการ โรงงานบริษัทนิว เฉน ยี่ เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด ประเทศไต้หวัน
ศาสตราจารย์ ดร. หยวน กวง กู๋ (Professor Dr. Yuan Kuang Guu) มีความเชี่ยวชาญในด้านงานวิจัย ดังตัวอย่างผลงานที่พิมพ์เผยแพร่ อาทิ
- “การบริโภคสารโปรไบโอติก (Lactobacillus plantarum), การเพิ่มการ เจริญเติบโต, การตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิด และความต้านทานต่อโรคที่มา จาก Epinephelus Coioides” เผยแพร่ในวารสาร Fish & Shellfish Immunology ฉบับที่ (Vol.) 26 : หน้า 691-698. (Vo, Ms., Chang, C.C., Wu, M.c., Guu Y.K., Chiu, C.H., W. 2009. Dietary administration of the probiotic, Lactobacillus plantarum, enhanced the growth, innate immune responses, and disease resistance of the grouper Epinephelus coioides. Fish & Shellfish Immunology. 26:691 – 698.)
- “การตอบสนองด้านภูมิคุ้มกันและการแสดงออกของยีนในกุ้งขาว (Litopeanaeus vannamei) ที่ชักนำโดยแบคทีเรีย Lactobacillus plantarum” เผยแพร่ในวารสาร Fish & Shellfish Immunology ฉบับที่ (Vol.) 23 : หน้า 364 : 377. (Chiu, C.H., Guu, Y.K., Liu, C.h., Pan, T.M., Cheng, W.2007. Immune responses and gene expression in white shrimp, Litopenaeus vannamei, Induced by Lactobacillus plantarum Fish & Shellfish Immunology 23:364 – 377.)
- การพัฒนาอย่างยั่งยืนของการเกษตรทางตอนใต้ของไต้หวัน บทที่ 6 ในเรื่อง “ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน : ไต้หวัน และภาวะเร่งด่วน ในโลก” หน้า 101 – 112. (Guu, Y.K.2007. Sustainable Development of Agriculture in Southern Taiwan. Chapter 6 in “Cultural Diversity and Sustainable Development : Taiwan and the Global Imperative”. Page:101 – 112. Ricci Cultural Publications, Inc., Taipei, Taiwan.)
- การร่วมงานกับบริษัทริกซ์ คัลเจอรัล พับบลิคเคชั่น ไทเป ไต้หวัน ศึกษาการ ผลิตข้าวแดง (red mold rice) โดยใช้วิธีการดัดแปลงมาจากกระบวนการผลิตโคจิของ ชาวนากาตะ และเผยแพร่ในวารสาร Applied Microbiology and Biotechnology ฉบับที่ (Vol.) 73.หน้า 297 – 304. (Chiu – lisia Chi, Kuang – Huei Nei, Yuan – Kuang Guu, Tzu – Ming Pan 2006. Production of red mold rice using a modified Nagata type koji maker. Appl Microbiol Biotechnol. 73: 297 – 304.)
- “การศึกษาคุณลักษณะของแบคทีเรียแลกโตบาซิลลัสที่แยกมาจากผักดอง เพื่อใช้เป็นสารอาหารหรือเป็น pickle adjuncts” เผยแพร่ในวารสาร FF| ฉบับที่ (Vol.) 206 หน้า 45 – 51 (Pan, T.M., Chiu, C.H., and Gนน, Y.K. 2002. Characterization of Lactobacillus isolates from pickled vegetables for use as dietary or pickle adjuncts, FFI Journal (206): 45 – 51.)
- “การศึกษาระบบควบคุมอุณหภูมิในการผลิตถั่วเหลืองแผ่น (Bai-yeh)” เผยแพร่ในวารสาร Journal of Agricultural Machinery ฉบับที่ (Vol.) 8 หน้า 51-61 (Chen, H.H., Guu, Y.K., Chen, W.L. 1999. Study on temperature control system of Bai – yeh (Soybean Sheet) production. J. of Agricultural Machinery : 8(4) 51 – 61.)
- “การวัดคุณสมบัติทางความร้อนในอาหาร” เผยแพร่ในวารสาร Chemical Engineering Technology ฉบับที่ (Vol.) 6 หน้า 136-145. (Gนน, Y.K., and Young, J.R. 1998. Measurements of thermal properties of foods. Chem. Eng. Technol., 6(2) : 136 – 145.)
- “การวางแผนและการดำเนินการบำบัดของเสียในไต้หวัน” เผยแพร่ใน วารสาร Food Information, 1998 (3) หน้า 96 – 102 (Chen, Y. K., and Young, J. R. 1998. Planning and execution of waste treatment in Taiwan. Food Information, 1998(3) : 96 – 102.)
- “กระบวนการจัดการน้ำแช่ถั่วเหลืองด้วยระบบ NF-RO membrane และกระบวนหมักกรดแลกติกจากของเหลวที่เหลือ” Journal of Agriculture and Food Chemistry ฉบับที่ (Vol.) 45 (10) หน้า 4090 – 4100 (Guu., Y.K., Chiu, C.H., and Young, J.K. 1997. Processing of soybean soaking water with a NF – RO membrane system and lactic acid fermentation of retained solutes. J. Agric. And Food Chem. 45(10) : 4096 – 4100.)
- “การหมักกรดแลกติกจากของเหลวที่เหลือจากกระบวนการ NF-RO ของ น้ำแช่ถั่วเหลือง” เผยแพร่ในวารสาร Food Science.ฉบับที่ (Vol.) 24 (4) หน้า 398 – OH (Guu, Y.K. and Chiu, C.H. 1997. Lactic acid fermentation of NF – RO retentates from soybean soaking water. Food Science. 24(4) 398 – 407.)
- “การแยกและการกู้คืนน้ำเสียในสภาพไขมันจากการสกัดน้ำมันสำหรับ บริโภคด้วยเยื่อเซรามิค” หนังสือรายงานตัวของ มหาวิทยาลัย เนชั่นแนล ปิงตุง ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ ไซแอนส์ แอนด์ เทคโนโลยี 6 (3) : หน้า 195 – 206 (Guu, Y.K., Lin, Y. W., and Chiu, C.H. 1997. Separation and recovery of oily wastewater from the edible oil refinery with ceramic Membranes. Bulletin of Natonal Pingtung University of Science and Technology 6(3): 195 – 206.)
- “การกำจัดเกลือออกจากน้ำเกลือเหลือทิ้งจากการดองพรุนโดยใช้ระบบ การกรองแบบนาโนฟิลเตรชั่นเมมเบรน” เผยแพร่ในวารสาร Journal of Agriculture Food Chemistry 44 ฉบับที่ (Vol.) 8 : หน้า 2384 – 2387 (Gนน, Y.K. 1996. Desalination of spent brine from prune pickling using a nanofiltration membrane system. J. Agric. Food Chem. 44(8): 2384 – 2387.) .
- “การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตกผลึกของน้ำตาลแลกโตสโดยการใช้ fractional factorial design” เผยแพร่ในวารสาร NPPI Memoir 3 (1994) : หน้า 181 – 194 (Guu, Y.K. and Zall, R.R. 1994. Determination of lactose crystallization influencing factors by the fractional factorial design. NPPI Memoir 3(1994) : 181 – 194.)
- “ความเข้มข้นของนาโนฟิลเตรชั้นมีผลต่อประสิทธิภาพของการตกผลึกของ น้ำตาลแลกโตส” เผยแพร่ในวารสาร Journal of Food Science ฉบับที่ (Vol.) 57 (2) : หน้า 735 – 739 (Guu, Y.K. and Zal, R.R. 1992. Nanofiltration Concentration effects on the efficacy of lactose crystallization. J. Food Sci. 57(2): 735 – 739.)
- “การตกผลึกของน้ำตาลแลกโตส : ผลของแร่ธาตุและการล่อผลึก” เผยแพร่ในวารสาร Process Biochemistry ฉบับที่ (Vol.) 26 หน้า 167 – 172 (Guu, Y.K. and Zall, R. R. 1991. Lactose crystallization : Effects of minerals and seeding. Process Biochem. 26(1991): 167 – 172.)
โครงการวิจัยและโครงการส่งเสริมอื่น ๆ อาทิ
1.การศึกษาการผลิต recombinant Bacillus subtilis E20 สำหรับผลิต เอนไซม์ไฟเตสชนิด neutral phytase สำหรับปรับปรุงประสิทธิภาพของอาหารสัตว์น้ำ (Studies on production of recombinant Bacillus subtilis E20 for neutral phytase to improve the efficacy of aquatic feeds.)
2.การแยกวัสดุที่ย่อยสลายได้ (polylactic acid) โดยจุลินทรีย์ (Isolation of biodegradable material (polylactic acid) by microorganisms.)
3.ผลของชนิดของวัสดุในการผลิตเมมเบรนที่มีต่อการกรองและคุณสมบัติต้าน อนุมูลอิสระของไวน์ Roselle ในระหว่างการแปรรูป (Effects of various membrane materials on clarification and antioxidant activity of Roselle wine during processing.)
4.การหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตโคเอนไซม์ Q10 จาก Rhodobacter sphaeroides (Optimal conditions for production of Coenzyme Q10 by Rhodobacter sphaeroides)
5.การหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตแบคทีเรียแลคติกในขนาดการผลิต ระดับโรงงานโดยใช้วิธี Taguchi (Optimal conditions for pilot Scale production of lactic acid bacteria using Taguchi method.)
6.การศึกษาการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ (Biosurfactant) โดยแบคทีเรีย แลคติก (Study on the production of biosurfactant by Lactic acid bacteria.)
นอกจากนี้ ยังมีโครงการน่าสนใจ อาทิ การตั้งศูนย์วิจัยและการสอน เกี่ยวกับ การทดลองด้านสัตวศาสตร์ที่ได้มาตรฐานระดับสูง ศูนย์ความร่วมมือด้านวิชาการของ กระทรวงศึกษาธิการ ในปีคริสตศักราช 1998 ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ ในโครงการ จัดตั้งศูนย์อุตสาหกรรม ด้านวิทยาศาสตร์ที่ภาคใต้ ของประเทศไต้หวัน ที่ปรึกษาของ บริษัทอาหารสัตว์ขนาดกลาง และขนาดเล็ก โครงการวิจัยการใช้วัคซีนในสัตว์ ศูนย์ศึกษา และเรียนรู้ด้านการจัดการฟาร์มเชิงอนุรักษ์ ในภาคใต้ ของประเทศไต้หวัน โครงการ ฝึกอบรมและการพัฒนาเกี่ยวกับการฝึกสุนัข ในปีคริสตศักราช 1998 โครงการส่งเสริม และคัดเลือกบุคคลที่มีความสามารถดำรงตำแหน่งอาจารย์ ที่มีคุณภาพทางวิชาชีพ สำหรับมหาวิทยาลัย โครงการมอบรางวัลสำหรับอาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในมหาวิทยาลัยและกิจกรรมฝึกทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุไต้ฝุ่น
โดยที่ศาสตราจารย์ ดร. หยวน กวง กู๋ (Professor Dr. Yuan Kuang Guu) เป็นผู้มีผลงานทางวิชาการดีเด่น เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เป็นนักวิชาการ และ นักบริหารที่เป็นแบบอย่าง รวมทั้งได้บำเพ็ญกรณียกิจด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จนเกิดประโยชน์ต่อสังคมทั้งในและนอกประเทศ เป็นผู้ที่สร้างสัมพันธภาพทางวิชาการ อันดี ระหว่างประเทศไทยกับประเทศไต้หวัน เป็นที่ประจักษ์แก่ชนทั่วไป สมควรได้รับ พระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร เพื่อเป็น เกียรติประวัติสืบไป
หมายเหตุ: ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 32 วันศุกร์ที่ 19 เดือนกุมภาพันธ์ 2553