นายไซมอน แยน เดอ ฮูป
(Mr. Simon Jan de Hoop)
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชา พืชศาสตร์ (พืชสวน)
นายไซมอน แยน เดอ ฮูป (Mr. Simon Jan de Hoop) สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท จาก Wageningen Agricultural University ประเทศ เนเธอร์แลนด์ ในปีพุทธศักราช 2525 และ 2527 ตามลำดับ
ด้านการทำงาน นายไซมอน แยน เดอ ฮูป (Mr. Simon Jan de Hoop) เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญระดับสูง สังเกตจากการดำรงตำแหน่งนักปรับปรุงพันธุ์พืช บริษัทอีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ประเทศไทย ระหว่างปีพุทธศักราช 2527-2531 ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายวิจัย บริษัทอีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ประเทศไทย ระหว่าง ปีพุทธศักราช 2532-2545 ตำแหน่งรองประธานกรรมการกลุ่มบริษัทอีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2546 จนถึงปัจจุบัน
ด้านงานพิเศษ ดำรงตำแหน่งคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาเทคนิคด้าน การเกษตร สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ คณะอนุกรรมการที่ปรึกษา ด้านโปรแกรมเมล็ดพันธุ์ ศูนย์พันธุวิศวกรรม และ เทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
นายไซมอน แยน เดอ ฮูป (Mr. Simon Jan de Hoop) เป็นผู้ที่มีผลงาน ทางวิชาการดีเด่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การร่วมก่อตั้งและพัฒนาบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ซึ่งบริษัทดังกล่าว มีศูนย์วิจัยและพัฒนาตั้งอยู่ในประเทศไทย โดยมุ่งให้เป็น ศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาของกลุ่มบริษัท เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ การเป็นบริษัท ชั้นนำของธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ นอกจากนี้ นายไซมอน แยน เดอ ฮูป (Mr. Simon Jan de Hoop) ยังเป็นผู้ก่อตั้งสถานีฟาร์ม เลิศพันธุ์ เพื่อใช้เป็นสถานีวิจัยปรับปรุงพัฒนาพันธุ์พืชผัก และไม้ดอกลูกผสม หลายชนิด รวมทั้งใช้สถานีวิจัยนี้สนับสนุนงานวิจัยด้านต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจของบริษัท ประสบความสำเร็จ ส่วนผลงานวิชาการอื่น ๆ ที่แสดงถึงความสำเร็จและเป็นแบบอย่างมี ดังนี้
- การพัฒนาสายพันธุ์ผักลูกผสมเพื่อการค้า เป็นบริษัทแรกใน ประเทศไทย โดยเริ่มจากการจำหน่าย “มะระลูกผสม” ที่มีชื่อทางการค้า “แซยิด” ในปีพุทธศักราช 2531
- การพัฒนาพันธุ์บวบเหลี่ยมลูกผสมเพื่อการค้า “เฮอร์คิวลิส” จำหน่าย ในปีพุทธศักราช 2532 และลูกผสม “ซีซาร์” จำหน่ายในปีพุทธศักราช 2544
- การพัฒนาพันธุ์มะระลูกผสม “เขียวหยก” ซึ่งจำหน่ายใน ปีพุทธศักราช 2547
- การพัฒนาพันธุ์แตงกวาลูกผสมลานนา 5 จำหน่ายในปีพุทธศักราช 2537 ลูกผสมไมโครซี จำหน่ายในปีพุทธศักราช 2543 ลูกผสมบิ๊กซี จำหน่ายใน ปีพุทธศักราช 2540 และลูกผสม “บิ๊กกรีน” จำหน่ายในปีพุทธศักราช 2551
- การพัฒนาพันธุ์แฟงไส้ตันลูกผสมสะพายทอง จำหน่ายใน ปีพุทธศักราช 2534 ลูกผสม “สะพายเพชร” จำหน่ายในปีพุทธศักราช 2544
- การพัฒนาพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม “เบต้า” และ “เดลต้า” จำหน่าย ในปีพุทธศักราช 2536 ลูกผสมส้มตำ จำหน่ายในปีพุทธศักราช 2535 ลูกผสม
- “เพชรชมพู” จำหน่ายในปีพุทธศักราช 2547 และพันธุ์ลูกผสม “เทพประทาน” จำหน่ายในปีพุทธศักราช 2552 ซึ่งเป็นพันธุ์การค้าพันธุ์แรกในประเทศไทย ที่ต้านทานโรคใบหงิกเหลืองของมะเขือเทศ
- การพัฒนาพันธุ์พริกขี้หนูลูกผสม “ซุปเปอร์ฮอท” จำหน่ายใน ปีพุทธศักราช 2543 ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมในงาน Thailand Best Innovation Award 2003 และรางวัล Best of the Best ซึ่งได้รับรางวัล ถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียว พันธุ์ลูกผสม “บิ๊กไวท์” จำหน่าย ในปีพุทธศักราช 2545 ซึ่งได้รับรางวัลหนังสือรับรองประสิทธิภาพการทำงานที่ดีเด่น ด้านพันธุ์พืชจากสมาคมปรับปรุงพันธุ์ และขยายเมล็ดพันธุ์แห่งประเทศไทย ในปีพุทธศักราช 2549 และข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ลูกผสม “ไวโอเล็ตไวท์” จำหน่าย ในปีพุทธศักราช 2551
ในด้านการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม นายไซมอน แยน เดอ ฮูป (Mr. Simon Jan de Hoop) ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรบรรยายความรู้แก่นักวิชาการ และผู้ที่สนใจ อาทิ การบรรยายหัวข้อ “Market issues and development of Cucurbits in Asia” งาน APSA-AVRDC workshop สำนักงาน AVRDC ประเทศ ไต้หวัน ปีพุทธศักราช 2550 การบรรยายหัวข้อ “Intellectual property protection inure culture: brining innovation to small farmers” งาน Inทน Asia กรุงเทพมหานคร ในปีพุทธศักราช 2548 และการบรรยายหัวข้อ “Seed production” ให้แก่นักศึกษา คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปีพุทธศักราช 2551
คุณูปการอันยิ่งใหญ่ที่มีต่อเกษตรกร คือ นายไซมอน แยน เดอ ฮูป (Mr. Simon Jan de Hoop) เป็นผู้สนับสนุน และส่งเสริมให้เกษตรกรหลายล้านคน ที่อยู่ในประเทศไทย และประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเซียมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการใช้ เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ ให้ผลผลิตดีและต้านทานโรค ซึ่งเป็นผลงานอันเกิดจาก การพัฒนาของคณะทำงานของบริษัท
โดยที่ นายไซมอน แยน เดอ ฮูป (Mr. Simon Jan de Hoop) เป็นผู้มี ผลงานวิชาการดีเด่น เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ เป็นอย่างยิ่ง และเป็นแบบอย่างของนักวิชาการที่มีความเสียสละ รวมทั้งเป็นผู้มี คุณธรรม สมควรได้รับพระราชทานปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชา พืชศาสตร์ (พืชสวน) เพื่อเป็นเกียรติประวัติ สืบไป
หมายเหตุ: ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 33 วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2554