ผศ.ดร.ดวงพร อมรเลิศพิศาล อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรธรรมชาติให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น อาจารย์จบการศึกษา วิทยาศาสตรบัณฑิต (พยาบาลศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2532 ปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เภสัชวิทยา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปีพ.ศ.2536 และระดับปริญญาเอกวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2551
ชีวิตการทำงาน
- พ.ศ. 2536-2549 นักวิจัยประจำห้องปฏิบัติการผลิตภัณฑ์ธรรมชาติของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ศูนย์วิจัย ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พ.ศ. 2549-2551 นักวิจัยในโครงการวิจัยเรื่อง กลุ่มสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ระงับการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และลดความดันโลหิตจากสาหร่ายทะเลบางชนิด โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
- พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- พ.ศ. 2554-2557 เลขานุการประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการประมงฯ
ประธานคณะกรรมการห้องปฏิบัติการ คณะเทคโนโลยีการประมงฯ - พ.ศ. 2557-2561 กรรมการประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการประมงฯ
- พ.ศ. 2559-2562 รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยฝ่ายยุทธศาสตร์และวิจัย
- พ.ศ. 2562-30 กย. 2562 รักษาการรองคณบดีวิทยาลัยนานาชาติ ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ
- พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ
สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ
การวิจัยและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติเป็นอาหารสุขภาพและเครื่องสำอาง โดยเน้นการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมทางการเกษตร
หลักคิดในการทำงาน
เวลาเราทำงาน โดยเฉพาะเวลาเราผลิตอะไรขึ้นมาซักอย่าง มันไม่มีอะไรดีที่สุด
เพราะว่ามันจะมีดีที่สุดขึ้นไปเรื่อย ๆ เราเป็นคนที่จะต้องพัฒนาตัวเอง
อยู่ตลอดเวลา ไม่จมอยู่กับเรื่องที่ผ่านมา
แรงผลักดันที่มีรอบข้างคือความเป็นไปไม่ได้
“งานวิจัยขึ้นหิ้ง?”
อาจารย์มีความรู้สึกว่า เมื่อเราเข้ามาอยู่ในมหาวิทยาลัยคำหนึ่งที่เราจะโดนทุกคนว่าโดยเฉพาะคณาจารย์คือ งานวิจัยขึ้นหิ้ง อันนี้เจ็บปวด เพราะฉะนั้นมันต้องไม่ขึ้นหิ้ง แต่การไม่ขึ้นหิ้งมันต้องทำในสิ่งที่สังคมต้องการให้เราทำ มาจาก Demand side เพราะฉะนั้น ตัวอาจารย์เองได้ออกไปเจอคนนั้นคนนี้ข้างนอก เรารับโจทย์ เราไม่ได้สอนนักศึกษาเดิม ๆ เพราะเราจบมา 10-20 ปีแล้วมันล้าสมัยแล้ว เพราะว่าค้นกูเกิ้ลก็เจอแล้ว แล้วดีกว่าด้วย ดีกว่าที่เราบรรยาย ละเอียด เห็นภาพ มีคลิปให้ดูด้วย สิ่งที่ดีที่สุดคือเราต้องออกไปเจอกับสังคม ไปเห็นว่าเขาต้องการอะไร แล้วเราก็เอาความเชี่ยวชาญของเราเข้าไปประยุกต์ เพื่อไปตอบและแก้ปัญหา
ทุกวันนี้จริง ๆ ความเชี่ยวชาญของอาจารย์คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรธรรมชาติให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ณ ตอนนั้นคือโฟกัสไปเลยจริง ๆ คือฤทธิ์ทางยา แต่ถ้าเราศึกษาแต่ฤทธิ์ทางยาอย่างเดียว สุดท้ายเราก็จะได้แค่การตีพิมพ์ แต่เรามองว่าตรงนี้เราต้องออกมาให้คนเห็นเป็นชิ้น เช่น คนเป็นเบาหวาน ตอนนี้คนประสบปัญหาเป็น NCDs (โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง) เยอะมาก ต้องควบคุมความดัน ต้องควบคุมน้ำหนัก น้ำตาลในเลือดสูง เราต้องมองต้องหาอะไรมาแก้ pain point ตรงนี้ ก็คือมีสมุนไพรอะไรบ้างที่ช่วย มีน้ำมันปลา มีอะไรบ้างที่ไปช่วยแก้ไขตรงนี้ เราได้จากฝั่ง Demand side ว่าเราต้องช่วยอะไรตรงนี้ เราต้องมาค้นคว้า แล้วจะมาทำแบบเดิม ๆ ไม่ได้ต้องคิดว่าสูตรนี้ใช้โดสขนาดนี้อาจจะไม่ดีละ อาจจะต้องมีการผสมผสานหลายๆเทคนิคเพื่อให้ได้สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ชีวภาพที่ดี พอออกไปตลาด ก็ต้องมีการทำการตลาดที่ดี ในทีมก็จะมีอาจารย์ทางด้านการตลาดสมัยใหม่ จากคณะบริหารมาช่วยเติมเต็ม จะเห็นว่าพอเราเจอปัญหาเราจะไม่เคยหยุดหรือไม่เคยท้อกับมัน เจอปัญหาก็จะต้องแก้ปัญหาไปเรื่อยๆ แล้วสิ่งที่เรารู้ ณ วันนี้อาจจะเก่า เราก็ต้องพัฒนา ปรับปรุง เพิ่มเติม สิ่งเหล่านี้ทำให้เราได้พันธมิตร ได้เครือข่าย ทุกคนเข้ามาอยู่ในทีมเราทุกคนได้พัฒนาตัวเองได้เจอคนเยอะขึ้น เครือข่ายเยอะขึ้น ได้รับใช้สังคม ได้เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกศิษย์ แล้วลูกศิษย์ได้มีอาชีพจากเดิมที่ต้องเป็นข้าราชการอย่างเดียว ลูกศิษย์ได้เป็นผู้ประกอบการด้วย มันเห็นความงอกงาม งอกเงยไปเรื่อย ๆ ทุกคนดีแล้วบอกต่อ ก็เลยทำให้กลุ่มใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ
“ยินดีเห็นคนอื่นสำเร็จ”
คติประจำใจตัวเอง อาจารย์น่าจะเป็นคนที่มีมุทิตา ยินดีเห็นคนอื่นสำเร็จ เรามีความสุข เราได้ส่งเสริมน้อง ๆ ส่งเสริมคนรอบข้าง ทำให้งานงอกเงย มีความสุข ความเหนื่อยอาจจะมีแต่เป็นความเหนื่อยที่เราเรียกว่าความปิติ เรามีคนพูดถึงเราทั้งในกลุ่มคณาจารย์ และคนข้างนอก ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร เราเห็นใครได้ดีแล้วมีความสุข แล้วยิ่งเกิดจากการผลักดันของเรายิ่งมีความสุข ทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นพลัง ในการทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย
รางวัลดีเด่นด้านวิชาการ
- รางวัลดีเด่นการนำเสนอผลงานภาคบรรยาย เรื่อง ฤทธิ์ลดความดันโลหิตของสาหร่ายทะเลบางชนิดในการประชุมวิชาการสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 21-23 มีนาคม 2550 จัดโดยชมรมสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งประเทศไทยร่วมกับภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นักวิจัยดีเด่น ด้านผลงานวิจัยตีพิมพ์สูงสุดต่อปี สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2555
- นักวิจัยที่ได้รับรางวัล Silver Award จากการร่วมจัดนิทรรศการในงาน Thailand Research Expo2012 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในวันที่ 24-28 สิงหาคม 2555 ร่วมกับผลงานอื่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยส่งผลงานเรื่อง ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสาหร่ายน้ำจืด
- รางวัลนักประดิษฐ์สตรี จากผลงาน เจลมาส์คหน้าสาหร่ายเตา ได้รับรางวัล
- เหรียญทอง (Gold Prize) จาก Korean Intellectual Property Office (KIPO) และ Korea Women Inventors Association (KIWIA)
- รางวัลพิเศษ (Special prize) จาก Commissioner Kim Yong-min of Korean Intellectual Property Office (KIPO)
จากการเข้าประกวดผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์สตรีในงานระดับนานาชาติ Korea International Women’s Invention Exposition 2013 (KIWIE 2013) ซึ่งจัดขึ้นโดย Korea Woman Inventors Association (KWIA) ระหว่างวันที่ 30 เมษายน-5 พฤษภาคม 2556 ณ Coex Mall กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
- นักวิจัยที่ได้รับรางวัล Gold Award จากการร่วมจัดนิทรรศการในงาน Thailand Research Expo2013 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในวันที่ 23-27 สิงหาคม 2556 ร่วมกับผลงานอื่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยส่งผลงานเรื่อง ผลิตภัณฑ์เวชสำอางจากสาหร่ายเตา
- รางวัลนักวิจัยดีเด่น ประจำปี 2556 จากคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- รางวัลบุคคลากรสายวิชาการดีเด่น ประจำปี 2556 จากคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- รางวัลพนักงานมหาวิทยาลัยดีเด่น สายวิชาการประจำปี 2556 จาก มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- ได้รับรางวัล Silver Prize จาก Korea Women Inventors Association (KIWIA) จากการประกวดผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์สตรีในงานระดับนานาชาติ Korea International Women’s Invention Exposition 2014 (KIWIE 2014) จากผลงาน Cosmeceutical biogel from algae (ผลิตภัณฑ์ไบโอเจลจากสาหร่ายไก)
- รางวัลอาจารย์ตัวอย่างด้านงานวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2556
- นักวิจัยที่ได้รับรางวัล Platinum Award จากการร่วมจัดนิทรรศการในงาน Thailand Research Expo2014 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในวันที่ 7-11 สิงหาคม 2557 โดยส่งผลงานเรื่อง ผลิตภัณฑ์เวชสำอางจากสาหร่ายน้ำจืด
- นักวิจัยที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ 2 รางวัลคือ Silver Prize และรางวัล Special Award จากงาน 8 th International Warsaw Invention Show (IWIS2014) ณ เมืองวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ เมื่อ 14-16 ตุลาคม 2557 จากผลงาน New Hybrid Freshwater Catfish Strain for Community Enterprise and Fish Sausage with Omega-3, 6 and 9
- ผลงานนวัตกรรม “ผลิตภัณฑ์เวชสำอางไบโอเจลจากสาหร่ายไก” ได้รับการคัดเลือกให้เป็น Success case จากโครงการส่งเสริมนวัตกรรมอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
- งานวิจัย คุณค่าผลไม้ไทย (Thai Fruits-Functional Fruits) ได้รับเลือกเป็นผลงานวิจัยเด่นประจำปี พ.ศ.2557 โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 21 พ.ค.2558
- ผลงานนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ไทยซิลค์พลัส: ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อผิวกระจ่างใส ได้รับรางวัล 2 รางวัล จากการประกวดในระดับนานาชาติ 1st World Invention Innovation Contest 2015 ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 5-6 มิถุนายน 2558 ได้แก่ รางวัลเหรียญทอง Gold Medalและรางวัลพิเศษ Special Award
- รางวัลเหรียญทองจากผลงาน “Phenolic concentrate from Mango Leaf : Compound for anti-acne products” จากการประกวดในระดับนานาชาติ 2015 International Innovation & Invention Competition ณ กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน 14 ธันวาคม 2558
- ผลงานนวัตกรรม Mango leaf cosmeceutical products for acne treatment ได้รับรางวัล 4 รางวัล
1) Semi grandpix จาก KIWIE 2016
2) Excellent invention from TIIA Taiwan
3) Special award from KIWIE KOREA
4) Silver Medal from Poland
จากการประกวดในงาน Korea International Woman’s Invention Exposition 2016 ณ ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 16-19 มิถุนายน 2559 - ผลงานนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ Enriched Omega-9 Fish Oil From Hybrid Freshwater Catfish By-product เข้าร่วมประกวดในงาน VIII EUROPEAN EXHIBITION OF CREATIVITY AND INNOVATION : EUROINVENT ณ Palas Mall เมือง IASI ประเทศโรมาเนีย ตั้งแต่วันที่ 17-23 พฤษภาคม 2559 ได้รับเหรียญรางวัล Gold Medal, Special Award จาก University of Sibiu, Romania ประเทศโรมาเนีย และ Special award จาก Toronto International Society of Innovation & Advance Skill, Canada ประเทศคานาดา
- นักวิจัยที่ได้รับรางวัล Platinum Award จากการร่วมจัดนิทรรศการในงาน Thailand Research Expo2016 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในวันที่ 17-21 สิงหาคม 2559 โดยส่งผลงานเรื่อง นวัตกรรมระบบการผลิตและการเพิ่มมูลค่าปลาหนังลูกผสมเพื่อชุมชน
- รางวัลชนะเลิศ Gold Award จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และผลงานสร้างสรรค์ จากผลงาน แทมมารีน ไฮเดรติ้ง เอสเซนส์ (Tamarind Hydrating Essence) จากการประชุมวิชาการวิจัย และนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 3. 15-16 กันยายน 2559
- Tamarind Hydrating Essence ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ : Gold Medal and Special Award 2016 International Invention and Design Competition, Hong Kong, 1-3 December 2016
- ผลงาน Organic extract of green caviar alga for anti-aging cosmeceutical product ได้รับเหรียญรางวัล Gold Medal, Excellent Diploma จาก University of Craiova, Romania, Special Award จาก Special award จาก Association of Polish Inventors and Rationalizers, Poland และ Special award จาก Malasian Research & Innovation Society จากการประกวดในงาน IXth EUROPEAN EXHIBITION OF CREATIVITY AND INNOVATION : EUROINVENT เมือง IASI ประเทศโรมาเนีย 23-29 พฤษภาคม 2560
- ผลงาน Coffatic: a Balsamic Vinegar from Coffee Pulp ร่วมกับ บ.ฮิลล์คอฟฟ์ จำกัด ได้รับรางวัล
Gold Medal&Special Award จาก IIDC 2017 และ Special award จาก FIRI Iran จากการประกวดนวัตกรรม International Invention and Design Competition 2017 ที่เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 6-8 ธันวาคม 2560 - ผลงาน Organic Narah Herb for Anti-Hyperglycemia ร่วมกับบริษัท Narah Industry Co., Ltd. Gold Medal&Special Award จาก IIDC 2017 และ Special award จาก FIRI Iran จากการประกวดนวัตกรรม International Invention and Design Competition 2017 ที่เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 6-8 ธันวาคม 2560
- ผลงานนวัตกรรมเจลมาส์กหน้าสาหร่าย Spirogyra ได้รับรางวัล Gold diploma จากงาน The International Exhibition of Research, Innovations and Inventions PRO INVENT the XVI edition, 21-23 of March 2018, Cluj-Napoca, Romania
- ผลงาน FFC: freshwater fish collagen for anti-aging cosmeceutic facial cream ได้รับ 4 รางวัล จากงาน “XXI Moscow International Salon Of Innovation Technologie << ARCHIMEDES – 2018 >>” ณ กรุงมอสโคว์ ประเทศสหภาพโซเวียดรัสเซีย เมื่อวันที่ 4-10 เมษายน 2561 ดังนี้
1) รางวัลเหรียญเงิน (Sillver Medal) จาก XXI ARCHIMEDES 2018
2) รางวัลพิเศษ (Special Prize) จากสมาคม KIPA (Korea Invention Promotion Association)
3) Official certificate จาก Invertarium Science ประเทศโปรตุเกส
4) The best excellent of honor จากสมาคมนวัตกรรมประเทศโรมาเนีย - ผลงาน Innovative feeds for catfish aquaculture industry ได้รับ 3 รางวัล จากงาน “XXI Moscow International Salon Of Innovation Technologie << ARCHIMEDES – 2018 >>” ณ กรุงมอสโคว์ ประเทศสหภาพโซเวียดรัสเซีย เมื่อวันที่ 4-10 เมษายน 2561 ดังนี้
1) รางวัลเหรียญทอง (Gold Medal) จาก งาน ARCHIMEDES 2018 MOSCOW RUSSIA
2) The best excellent of honor Specia จากประเทศโรมาเนีย จาก IIDC 2017
3) รางวัลพิเศษ (Special award) จาก Chinese Innovation & Invention Society (CIIS) จากประเทศไต้หวัน - ผลงาน Plee NcapTM : Microencapsulate Tablet of banana blossom extract for maternal breastfeeding ได้รับ 4 รางวัล จากงาน “XXI Moscow International Salon Of Innovation Technologie << ARCHIMEDES – 2018 >>” ณ กรุงมอสโคว์ ประเทศสหภาพโซเวียดรัสเซีย เมื่อวันที่ 4-10 เมษายน 2561 ดังนี้
1) รางวัลเหรียญทอง (Gold Medal) จาก งาน ARCHIMEDES 2018 MOSCOW RUSSIA
2) The best excellent of honor Specia จากประเทศโรมาเนีย จาก IIDC 2017
3) รางวัลพิเศษ (Special award) จากประเทศบอสเนีย - ผลงาน Eggplant extract: a functional ingredient for cosmeceutical and nutraceutical products ได้รับ 2 รางวัล ในการประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ 10th European Exhibition of Creativity and Innovation « EUROINVENT-2018» at Palace of Culture, IASI – ROMANIA ระหว่างวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2561 ดังนี้
1) Gold Medal from Euroinvent 2018
2) WIIPA-special gold medal - ผลงานเรื่อง : Caulerpa Brightening Cream ผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวหน้าให้กระจ่างใสจากสาหร่ายขนนก ได้รับ 2 รางวัล จากงานประกวดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสตรีในงาน Korea International Women’s Invention Exposition (KIWIE 2018 ) ณ Hall 2A, Exhibition Center 1, KINTEX in Korea
ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน -1 กรกฎาคม 2018 ดังนี้ 1) Gold award from KIWIE 2018 2) Special prize from Germany : HAG Award - ผลงานเรื่อง : Brain Sweets Gummy: chew your happiness and beauty : ผลิตภัณฑ์กัมมี่ผสมคอลลาเจนปลาน้ำจืด ได้รับ 2 รางวัล จากงานประกวดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสตรีในงาน Korea International Women’s Invention Exposition (KIWIE 2018 ) ณ Hall 2A, Exhibition Center 1, KINTEX in Korea ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน -1 กรกฎาคม 2018 ดังนี้
1) Silver medal from KIWIE2018
2) Special Award form Indonesian Invention and Innovation Promotion Association - ผลงานเรื่อง Freshwater algae, a supplement for protection of metabolic syndrome อาหารเสริมจากสาหร่ายน้ำจืด เพื่อป้องกันภาวะเมตาโบลิกซินโดรม ได้รับรางวัลเหรียญทอง (GOLD medal ) จากการประกวดผลงานนวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ ในงาน 12th International Warsaw Invention Show (IWIS 2018) ณ กรุงวอซอร์ ประเทศโปแลนด์ ระหว่างวันที่ 15 – 17 ตุลาคม 2561
- ผลงานเรื่อง เจลบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อจากน้ำมันจระเข้ ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง จากการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2562 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระหว่างวันที่ 7 – 10 เมษายน 2562
- ผลงานเรื่อง Absolute rose emulsion ได้รับ 3 รางวัล Silver Prize & 2 Special Awards จากงานประกวดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสตรีในงาน Korea International Women’s Invention Exposition 2019 (KIWIE 2013) จัดโดย Korean Intellectual Property Office (KIPO) และ Korea Woman Inventors Association (KWIA) ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 20-23 มิถุนายน 2562