Skip to content Skip to footer

องค์กร/หน่วยงาน ธนาคารออมสิน

รายละเอียดรางวัล รางวัลชนะเลิศ Best of the Best ประเภท กินดี ระดับประเทศ ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2565

ระดับรางวัล (รางวัล) รางวัลชนะเลิศ

ระดับรางวัล (ภูมิประเทศ) ระดับประเทศ

ปีที่ได้รับรางวัล  2565

สถานที่รับรางวัล ณ ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่

รายละเอียดผลงาน 

โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นเป็นการดำเนินการเสริมสร้างพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งธนาคารได้ร่วมกับนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษา คนรุ่นใหม่ ให้ร่วมคิด ร่วมทำ บูรณาการภูมิปัญญา นำวิทยาการกระบวนการทำงานสมัยใหม่ ไปยกระดับขีดความสามารถกลุ่มองค์กรชุมชนที่รวมตัวกันสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการ ให้มีศักยภาพ มีมูลค่าเพิ่ม แข่งขันในตลาดได้ โดยมีนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมกันพัฒนาภูมิปัญญาชุมชนจากท้องถิ่นทั่วประเทศ

โดยในปี 2565 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีทีมนักศึกษาเข้าร่วมการนําเสนอผลสัมฤทธิ์จากการเข้าไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการให้กับกลุ่มชุมชน จํานวน 5 กลุ่ม ดังนี้

  1. อารักปลามง ชุมชน วิสาหกิจชุมชนสร้างป่าสร้างรายได้เพิ่มมูลค่าใบไม้ ผลิตภัณฑ์ จานใบไม้ลดหมอกควัน
  2. Chill at Muang Kong ชุมชนเมืองคองหลังดอยหลวงเชียงดาว ผลิตภัณฑ์ ท่องเที่ยวชุมชนและโฮมสเตย์
  3. เศรษฐปลาศาสตร์ ยุวพัฒน์อาสา ชุมชน วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมและแปรรูป ตำบลสันป่าเปา ผลิตภัณฑ์ น้ำพริกหมูฝอย
  4. ช่อแล แชะแล้วแชร์เลย ชุมชนบ้านบ่อแล ผลิตภัณฑ์ ท่องเที่ยวชุมชน
  5. เพาะชำคาเฟ่  ชุมชน โรงเรียนสังวาลย์วิทยา ผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพร

ทีมนักศึกษาที่มีผลงานการพัฒนาดีเด่น (The Best) ได้แก่ ทีม เศรษฐปลาศาสตร์ ยุวพัฒน์อาสา โดยวิสาหกิจชุมชนต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ เนื่องจากการแปรรูปหมูฝอยพบปัญหาหมูฝอย มีลักษณะปั่นไม่เป็นเส้น ทีมนักศึกษาจึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เป็น “น้ำพริกหมูฝอย” ผ่านกรรมวิธีสลัดน้ํามัน ด้วยองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมชุมชน โดยปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมให้มีมูลค่าเพิ่ม เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค นอกจากนี้ทางกลุ่มเลือกใช้วัตถุดิบ ที่มีคุณภาพ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์น้ำพริกหมูฝอย Low Fat and Lean Sugar ด้วยความใส่ใจในสุขภาพ ของผู้บริโภคซึ่งเหมาะสําหรับผู้สูงวัย ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาล และผู้ที่รับประทานอาหารคลีน เป็นต้น ที่สําคัญ ช่วยให้กลุ่มสามารถสร้างรายได้ สร้างอาชีพ และต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้เกิดความยั่งยืน

แหล่งที่มา Facebook มหาวิทยาลัยแม่โจ้, และ Facebook ยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น

Go to Top