Skip to content Skip to footer

ชื่อรางวัล: รางวัลบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2565 

องค์กร/หน่วยงาน: สภาพนักงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 

รายละเอียดของรางวัล: ด้วยคณะกรรมการคัดเลือกบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะดำเนินการคัดเลือกบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่น ประจำปี 2565 เพื่อประกาศยกย่องบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการซึ่งปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย ที่ได้อุทิศตนในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรู้และความสามารถในฐานะบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่น ทั้งนี้ ผู้ที่สมควรได้รับการประกาศยกย่องไว้ในฐานะบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่น จะต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามข้อ 5 และคุณสมบัติเฉพาะตามข้อ 6 ของประกาศคณะกรรมการบริหารงานบุคคลมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565 โดยพิจารณาจากผู้มีผลงานหรือผลปฏิบัติงานดีเด่นในด้านต่าง ๆ จำนวน 5 ด้าน คือ ด้านบริการดีเด่น ด้านบริหารดีเด่น ด้านวิชาพีชดีเด่น ด้านนวัตกรรมดีเด่น และลูกจ้างของมหาวิทยาลัยผู้มีผลงานดีเด่น 

โดยมีแนวทางการเสนอชื่อ 3 แนวทาง ดังนี้ 

1) การเสนอชื่อโดยส่วนงาน ให้ส่วนงานเป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกบุคลากรสายสนับสนุน วิชาการดีเด่น ด้านละหนึ่งคน หรือไม่ครบทุกด้านก็ได้ 

2) การเสนอชื่อด้วยตนเอง 

3) การเสนอชื่อโดยบุคคลอื่น  

รายละเอียดการรับรางวัล: ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับการประกาศเกียรติคุณยกย่องเป็นบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่นของมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งได้รับโล่ ใบประกาศเกียรติคุณและเข็มเพชรแม่โจ้ 

เกณฑ์การได้รับรางวัล/การตัดสิน: เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่น ประจำปี 2565 

1) เกณฑ์กลาง เป็นบุคลากรสายสนับสนุนวิซาการ ปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าห้าปี เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานและมีผลงานดีเด่น เป็นผู้มีความประพฤติดี ไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดี

2) เกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการคัดเลือกบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่น ลูกจ้างของมหาวิทยาลัยและพนักงานส่วนงานต้องปฏิบัติงานในตำแหน่งที่นั้น ๆ มาแล้ว 5 ปีต่อเนื่องนับถึงวันที่ยื่นใบสมัคร จึงจะมีสิทธิเสนอชื่อเข้ารับการคัดเลือกได้ ทั้งนี้ พนักงานมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนสถานภาพจากลูกจ้างของมหาวิทยาลัย ให้นับเวลาการทำงานต่อเนื่องจากสัญญาการเป็นลูกจ้างของ มหาวิทยาลัย ไม่เคยได้รับรางวัลบุคลากรสายสนับสนุนวิซาการดีเด่นในด้านนั้น ๆ มาก่อนหรือหากเคยได้รับต้องเกินกว่า 5 ปี เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่น ประจำปี 2565 

3) คุณสมบัติเฉพาะ เป็นผู้มีผลงานดีเด่น เป็นผลงานเชิงประจักษ์ดีเด่นเป็นที่ยอมรับ โดยเน้นผลงานหรือผลการปฏิบัติงานใน หน้าที่เป็นอันดับแรก ซึ่งเกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อาศัยความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ ความอุตสาหะ เสียสละ เป็นผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย สังคม และประเทศชาติ เป็นที่ยอมรับและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น โดยมีผลงานดีเด่นอย่างน้อยหนึ่งผลงานเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ประพฤติในการครองตน การครองคน และการครองงาน เป็นแบบอย่างที่ดี สมควรได้รับการ ยกย่องเชิดชูเกียรติ เป็นผู้ปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย

4) เกณฑ์เฉพาะด้าน

4.1) ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัยผู้มีผลงานดีเด่นด้านบริการดีเด่น 

  • มีจิตบริการ บริการด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม และเป็นไปตามมาตรฐานการให้บริการ 
  • ปรับปรุง พัฒนาระบบ วิธีการ และกระบวนการให้บริการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 
  • ปรับปรุง พัฒนา อุปกรณ์หรือเครื่องมือในการให้บริการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 
  • ผลงานหรือผลการปฏิบัติงานได้รับการยอมรับ เช่น ได้รับรางวัลหรือเกียรติบัตร เป็นต้น 

4.2) ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัยผู้มีผลงานดีเด่นด้านบริหารดีเด่น 

  • ความสามารถในการพัฒนาหน่วยงาน 
  • ความสามารถในการพัฒนางานและระบบงาน 
  • ความสามารถในการบริหารงานบุคคลและการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา 
  • มีธรรมาภิบาลในการบริหาร 
  • ผลงานหรือผลการปฏิบัติงาน ได้รับการยอมรับ เช่น ได้รับรางวัลหรือเกียรติบัตร เป็นต้น 

4.3) ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัยผู้มีผลงานดีเด่นด้านวิชาชีพดีเด่น 

  • มีผลงานด้านวิชาชีพในรูปแบบต่างๆ เช่น บทความงานวิจัย งานวิเคราะห์ สังเคราะห์ หนังสือ ตำรา วัสดุ อุปกรณ์ สื่อโสต เครื่องมือ ผลงานทัศนศิลป์ สถาปัตยกรรม แบบแปลน งานสร้างสรรค์ทางดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์ ฯลฯ 
  • มีคุณธรรม จริยธรรม มาตรฐานจรรยาบรรณ และตามมาตรฐานวิชาชีพ 
  • มีผลงานในวิชาชีพที่ต่อเนื่อง 
  • ผลงานหรือผลการปฏิบัติงานเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาชีพ และได้รับรางวัล หรือเกียรติบัตร เป็นต้น 

4.4) ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัยผู้มีผลงานดีเด่นด้านนวัตกรรมดีเด่น 

  • คุณลักษณะของนวัตกรรมต่อยอดจากที่มีอยู่เดิม หรือสร้างสรรค์ใหม่ 
  • กระบวนการผลิตนวัตกรรม 
  • คุณภาพของนวัตกรรม 
  • การนำไปใช้ประโยชน์หรือการขยายผลในเชิงพาณิชย์ 
  • คู่มือแนะนำการใช้งาน 
  • ผลงานเป็นที่ยอมรับ เช่น การจดอนุสิทธิบัตร สิทธิบัตร การได้รับรางวัล หรือเกียรติบัตร เป็นต้น 

4.5) ลูกจ้างของมหาวิทยาลัยผู้มีผลงานดีเด่น 

  • ความรับผิดชอบ คุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติงาน 
  • ความคิดริเริ่มในการพัฒนางาน พัฒนาการให้บริการ 
  • ผลงานหรือผลการปฏิบัติงานเป็นที่ยอมรับ เช่น การได้รับรางวัสหรือเกียรติบัตร เป็นต้น 

รูปแบบรางวัล: ใบประกาศนียบัตร โล่รางวัล และเข็มเพชรแม่โจ้  

ประเภทรางวัล: บุคลากรดีเด่น  

ระดับรางวัล (รางวัล): ดีเด่น  

ระดับรางวัล (ภูมิประเทศ): ระดับองค์กร  

ปีที่ได้รับรางวัล:  วันที่ 27 กรกฎาคม 2566

สถานที่รับรางวัล: มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 

ผู้ที่ได้รับรางวัล:

Go to Top