Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

Tag: มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์

สุรศักดิ์ จโนภาษ

นายสุรศักดิ์ จโนภาษ เทคโนโลยีมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ นายสุรศักดิ์ จในกาษ สําเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตร ประโยควิชาชีพ จากวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัย แม่โจ้) เป็นศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 37 สําเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรประโยควิชาชีพชั้นสูง จากวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้) และสําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพืชสวนประดับ จากสถาบัน เทคโนโลยีเกษตรแม่โจ้ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ด้านการทํางาน นายสุรศักดิ์ สุโนภาษ ดํารงตําแหน่งผู้จัดการธุรกิจ ส่วนตัวของบริษัทสามปอยตง จังหวัดเชียงใหม่ ร้านสามปอยหลวง และบริษัท สวนผักเชียงใหม่ ด้านวิชาการ นายสุรศักดิ์ จโนภาษ เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางวิชาการ กระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการจัดทําหนังสือ “สมุนไพร พลังงานแห่งชีวิต” ของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสุรศักดิ์ จุโนภาษ ยังได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรบรรยายความรู้ด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านภูมิทัศน์ ได้บรรยายในหัวข้อเรื่อง ภูมิทัศน์ในทศวรรษหน้า ณ สถาบันเทคโนโลยีเกษตรแม่โจ้…

Read More

มานพ ปัทมาลัย

นายมานพ ปัทมาลัย รัฐศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ นายมานพ ปัทมาลัย สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนนครสวรรค์ สำเร็จการศึกษาระดับประโยควิชาชีพชั้นสูง จากวิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้) เป็นศิษย์เก่า แม่โจ้รุ่น 34 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากวิทยาลัยครูกำแพงเพชร ในด้านประวัติการทำงาน นายมานพ ปัทมาลัย เป็นผู้ประสบความสำเร็จ อย่างยอดเยี่ยมในวิชาชีพ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลท่ามะเขือ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งนายกสมาคม สันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และดำรงตำแหน่งคณะกรรมการเงินทุน ส่งเสริมกิจการเทศบาล ตลอดระยะเวลาการทำงานของ นายมานพ ปัทมาลัย ได้สร้างผลงานดีเด่นจนเป็นที่ประจักษ์ เช่น ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อพุทธศักราช 2552 ร่วมก่อตั้ง สโมสรโรตารี่คลองขลุง และดำรงตำแหน่งเลขาสโมสรโรตารี่คลองขลุง นายมานพ ปัทมาลัย ได้เสนอของบประมาณเพื่องานสาธารณประโยชน์ หลายโครงการ เช่น โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำให้แก่เกษตรกร ในพื้นที่ตำบลวังยาง ตำบลท่ามะเขือ และตำบลวังบัว ได้ประสานงานกับสมาชิก…

Read More

วีรวัชร์ จารุรัชต์ธำรง

นายวีรวัชร์ จารุรัชต์ธำรง บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการ นายวีรวัชร์ จารุรัชต์ธำรง สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสงขลา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จากวิทยาลัยเกษตรนครศรีธรรมราช และระดับปริญญาตรี เทคโนโลยีเกษตรบัณฑิต (สัตวศาสตร์ สาขาวิชาประมงน้ำจืด จากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้) เป็นศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 49 ปัจจุบันเป็น ข้าราชการบำนาญและเจ้าของกิจการริมน้ำรีสอร์ต ในด้านผลงานอาชีพซึ่งแสดงถึงความสำเร็จอันเป็นแบบอย่างที่ดี นายวีรวัชร์ จารุรัชต์ธำรง บริหารกิจการริมน้ำรีสอร์ตจนประสบความสำเร็จ ด้วยความรู้และความสามารถที่มีอยู่ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานชมรม ศิษย์เก่าแม่โจ้ ภาคใต้ 2 วาระ ระหว่างพุทธศักราช 2559-2563 นายวีรวัชร์ จารุรัชต์ธำรง เป็นผู้สนับสนุนกิจกรรมของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อุทิศตน เสียสละทรัพย์สิน และเวลา ประสานงานระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนเพื่อให้ การช่วยเหลือสังคมอย่างต่อเนื่อง เช่น ประสานงานจัดพิมพ์หนังสือ “บันทึกอดีต แม่โจ้” ครั้งที่ 2 เพื่อให้ศิษย์ปัจจุบันและบุคลากรได้ตระหนักถึงประวัติ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ทั้งยังเป็นการเผยแพร่เกียรติคุณและอัตลักษณ์ของ มหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่สังคม ร่วมจัดทำแผนยุทธศาสตร์…

Read More

หลุย ทิศสกุล

นายหลุย ทิศสกุล ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (บริหารธุรกิจ) นายหลุย ทิศสกุล สําเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพแผนกเกษตรกรรม จากวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ แม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อจบการศึกษาได้ทํางานในสํานักงานยาสูบเชียงราย โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง มีความก้าวหน้าเป็นอย่างดี และได้ดํารงตําแหน่งหัวหน้ากองธุรการ สํานักงานยาสูบเชียงราย นอกจากงานประจําแล้ว นายหลุย ทิศสกุล ยังได้ประกอบธุรกิจส่วนตัวอื่นด้วย อาทิเป็นเจ้าของและผู้จัดการบังอรคอร์ท แอนด์ เกสเฮ้าส์ เจ้าของและผู้จัดการห้องอาหาร “สบันงาขันโตก” เจ้าของและผู้จัดการ “สบันงาผับและเรสเตอร์รอง” นายหลุย ทิศสกุล เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปทั้งในหน้าที่การงานประจําและในวงสังคม โดยได้รับตําแหน่งต่าง ๆ มากมาย อาทิ อุปนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดเชียงราย ที่ปรึกษาชุมนุมศิษย์เก่าแม่โจ้จังหวัดเชียงราย กรรมการมูลนิธิพ่อขุนเม็งรายมหาราช กรรมการกีฬาจังหวัดเชียงราย เลขานุการสมาคมสโมสรพนักงานยาสูบเชียงราย กรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานยาสูบเชียงราย จํากัด ประธานแผนกฟุตบอลการแข่งขันกีฬาแห่งชาติที่จังหวัดเชียงราย กรรมการสมาคม ครู-ผู้ปกครองโรงเรียนเชียงรายจรูญราษฎร์ (สันโค้ง) ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สภามวยอาชีพ เชียงราย-พะเยา ที่ปรึกษากีฬาแห่งประเทศไทย สาขาเขต 5…

Read More

เกรียงไกร คะนองเดชาชาติ

นายเกรียงไกร คะนองเดชาชาติ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ส่งเสริมการเกษตร) นายเกรียงไกร คะนองเดชาชาติสําเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพแผนกเกษตรกรรม จากวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ แม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ และสําเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขาส่งเสริมการเกษตร จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เริ่มรับราชการในตําแหน่งเจ้าพนักงานกสิกรรมจัตวา กรมกสิกรรม เคยดํารงตําแหน่งเกษตรอําเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้ช่วยเกษตรจังหวัดฝ่ายบริหารจังหวัดเชียงใหม่เกษตรจังหวัดสมุทรปราการเกษตรจังหวัดตาก และดํารงตําแหน่งเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ นายเกรียงไกร คะนองเดชาชาติเป็นผู้ร่วมดําเนินการค้นพบทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองใหม่ของอําเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นทุเรียนที่มีคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับ คือ พันธุ์แก้วลับแลและพันธุ์หลงลับแลซึ่งปัจจุบันได้มีการขยายพันธุ์และทํารายได้ให้กับเกษตรกรเป็นจํานวนมาก นับเป็นพันธุ์ทุเรียนประจําจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นผู้ดําเนินการเปลี่ยนยอดพันธุ์ลางสาดให้เป็นพันธ์ลองกอง จนประสบผลสําเร็จ ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรของอําเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มเกษตรกร ทําธุรกิจเกี่ยวกับการใช้โครงการสูบน้ำด้วย ไฟฟ้าที่จังหวัดอุตรดิตถ์ จนเป็นธุรกิจของกลุ่มเกษตรกรตัวอย่างและทําให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นผู้ก่อตั้งศูนย์แปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตรแห่งแรกของภาคเหนือที่อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมกลุ่มแม่บ้านและเป็นแหล่งจําหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูป ซึ่งประสบผลสําเร็จอย่างดีและยังเป็นแบบอย่างที่จังหวัดอื่น ๆ นําเอาไปเป็นตัวอย่างอีกด้วย เป็นผู้ประสานงานศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ปางอุ๋ง อําเภอแม่แจ่มดําเนินการประสานงานและจัดเจ้าหน้าที่เกษตรที่สูงทํางานส่งเสริมการเกษตร ให้เกษตรกรในโครงการหลวงและโครงการพระราชดําริในเขตที่สูงและทุรกันดารเป็นผู้ริเริ่มให้มีการเลี้ยงผึ้งเป็นอาชีพและใช้ผึ้งช่วยผสมเกสรไม้ผลทําให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นในเขตจังหวัดภาคเหนือเป็นผู้จัดให้มีการแปรรูปลําไยเป็นลําไยอบแห้ง ของจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อแก้ปัญหาลําไยล้นตลาดและส่งไปจําหน่ายในต่างประเทศ นายเกรียงไกร คะนองเดชาชาติ ได้ให้การสนับสนุนกิจกรรมของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มาอย่างสม่ำเสมอ อาทิงานกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 4…

Read More

พงษ์ วิเศษไพฑูรย์

นายพงษ์ วิเศษไพฑูรย์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการประมง นายพงษ์ วิเศษไพฑูรย์ เริ่มทํางานด้านการผลิตและควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ ในบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ เคยดํารงตําแหน่งกรรมการผู้จัดการเขตประเทศไทย กลุ่มธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา เครือเจริญโภคภัณฑ์ นายพงษ์ วิเศษไพฑูรย์ เป็นบุคคลที่มีผลงานทางวิชาการดีเด่น ได้จัดตั้งคณะทํางานค้นคว้าวิจัยและพัฒนาคุณภาพอาหารสัตว์น้ำโดยเน้นการพัฒนาอาหารเลี้ยงกุ้งกุลาดํา จนสามารถได้อาหารเลี้ยงกุ้งที่มีคุณภาพสูงและมีอัตราแลกเนื้อต่ำที่สุดในโลกของ ระบบการเลี้ยงกุ้งแบบปล่อยหนาแน่น นายพงษ์ วิเศษไพฑูรย์ ได้ให้การสนับสนุนด้านเครื่องมืออุปกรณ์ตลอดจนบุคลากร ในการ ตรวจวิเคราะห์สารปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อกุ้งในโรงงานแปรรูปและห้องเย็นก่อนการส่งออกกุ้งไปยังต่างประเทศ นายพงษ์ วิเศษไพฑูรย์ เป็นบุคคลที่มีผลงานวิชาชีพเป็นอย่างดียิ่ง กล่าวคือ ได้พัฒนาธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีผลผลิตสูง โดยใช้ต้นทุนต่ำ จากการค้นคว้าทางด้านอาหารสัตว์ การเลี้ยงดูบํารุงรักษา และการรักษาสภาพแวดล้อม ทั้งยังดําเนินธุรกิจการ เลี้ยงกุ้งกุลาดําแบบครบวงจรโดยการพัฒนาการตลาด มุ่งเน้นการส่งออก เป็นตัวอย่างที่ดีจนทําให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งหันมา ประกอบอาชีพแบบพัฒนาโดยมุ่งเน้นเพื่อการส่งออก จนสามารถนํารายได้เข้าสู่ประเทศได้เป็นอย่างดี เป็นผู้พิจารณาจัดสรรงบประมาณของบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์เพื่อนําไปใช้ในกิจกรรมรณรงค์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้องค์กรต่างๆและเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสภาพนิเวศน์วิทยาทางทะเลของป่าชายเลน ตลอดจนสนองพระราชดําริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการนําปลานิลมาทดลองเลี้ยงกับกุ้งกุลาดํา เนื่องจากปลานิลสามารถกรองกินแพลงค์ตอนชนิดต่าง ๆ รวมทั้งตะกอนอินทรีย์สารได้ดี ช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ําก่อนปล่อยจากบ่อเลี้ยงกุ้งสู่ธรรมชาติ ซึ่งประสบผลสําเร็จเป็นอย่างดี จนสามารถส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงปลานิลในบ่อกุ้งเพื่อ การค้าและปรับปรุงคุณภาพน้ำควบคู่กันไป นายพงษ์ วิเศษไพฑูรย์ ได้ริเริ่มพัฒนาการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งแบบพัฒนา…

Read More

Go to Top