Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

Tag: ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

Jei-Fu Shaw

ศาสตราจารย์ ดร. Jei-Fu Shaw ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชา เทคโนโลยีชีวภาพ ศาสตราจารย์ ดร. Jei-Fu Shaw สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้รับวุฒิ วิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเคมีทางการเกษตร เมื่อปีคริสตศักราช 19 7 0 จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ประเทศไต้หวันและสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ได้รับวุฒิปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีชีวภาพและชีววิทยาโมเลกุล เมื่อปี คริสตศักราช 1977 จากมหาวิทยาลัยอาคันซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ในด้านการทำงานศาสตราจารย์ ดร.Jei-Fu Shaw ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยแห่งชาติจงซิง ประเทศไต้หวัน ตั้งแต่ปีคริสตศักราช 2004 จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ ตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการเทคโนโลยี ชีวภาพด้านการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีชีวภาพและอุตสาหกรรมยาแห่งชาติ ตั้งแต่ปีคริสตศักราช 2003 จนถึงปัจจุบัน ตำแหน่งผู้อำนวยการส่วนเทคโนโลยีชีวภาพหลังการ เก็บเกี่ยว โครงการเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรแห่งชาติไต้หวัน ตั้งแต่ปีคริสตศักราช 1988 จนถึงปัจจุบัน ตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ชีวิต…

Read More

ถนอมวงศ์ แต้ไพสิฐพงษ์

นางสาวถนอมวงศ์ แต้ไพสิฐพงษ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชา บริหารธุรกิจ นางสาวถนอมวงศ์ แต้ไพสิฐพงษ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการเงินและการบัญชี และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการจัดการทั่วไป จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้านงานประจำ ปัจจุบันนางสาวถนอมวงศ์ แต้ไพสิฐพงษ์ ดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเบทาโกร รับผิดชอบสายงานการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ งานกฎหมายและจัดซื้อของเครือเบทาโกร ส่วนงานพิเศษ ดำรงตำแหน่ง กรรมการบริหารของบริษัทในเครือเบทาโกรรวมทั้งสิ้น 23 บริษัท นางสาวถนอมวงศ์ แต้ไพสิฐพงษ์ เป็นผู้ที่มีผลงานทางวิชาการดีเด่นมากมาย นับตั้งแต่สนับสนุนให้นักศึกษาที่ต้องการฝึกประสบการณ์และหารายได้ระหว่างเรียน จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ รวมทั้งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าทำงานที่บริษัทในเครือเบทาโกร สนับสนุนโครงการพัฒนาสายอาชีพให้แก่นักเรียนในจังหวัดน่าน ตามโครงการ พระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนับสนุนและส่งเสริมให้ พนักงานในบริษัทได้รับความรู้เพิ่มเติม โดยการให้พนักงานเข้าศึกษาต่อในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทั้งสาขา เกษตรศาสตร์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในรูปแบบทวิภาคี ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งโรงเรียน ผู้ใช้แรงงานในโรงงาน ตลอดจนได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรในการจัดประชุม ของสำนักงาน…

Read More

สมพร คงมั่น

นางสมพร คงมัน ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ นางสมพร คงมั่น สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต สาขาพืชสวนประดับ จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต่อมาได้สำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ การจัดการสิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตามลำดับ หลังจากสำเร็จการศึกษา นางสมพร คงมั่น ได้ดูแลและขยายกิจการของห้างหุ้นส่วน จำกัด คงมั่นการช่าง บริษัทคงมั่นกรุ๊ป จำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัด คงมั่นพัฒนาที่ดิน จนเป็นปึกแผ่นมั่นคง ซึ่งผลแห่งความวิริยะอุตสาหะนั้นจะเห็นได้จากโครงการพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ มูลค่ากว่าพันล้านในเครือคงมั่นพัฒนาที่ดิน การก่อสร้างสถานที่สำคัญ ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอนุสรณ์สวนพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งตั้งอยู่ที่สะพาน ติณสูลานนท์ ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดสงขลา การก่อสร้างศาลากลาง จังหวัดยะลาที่ได้รับการยกย่องว่างดงามเป็นเยี่ยม รวมถึงหอประชุมใหญ่ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏ จังหวัดสงขลา ซึ่งสร้างโดยได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะท้องถิ่น อันเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ ความสำเร็จอันควรแก่การยกย่องทำให้คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่มอบใบรับรองผลงานประกอบอาชีพ การก่อสร้างดีเด่นไว้เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณ ระหว่างการศึกษาเพิ่มเติม นางสมพร คงมั่น ยังมีผลงานวิชาการที่น่าสนใจ…

Read More

นคร พงษ์น้อย

นายนคร พงษ์น้อย ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ นายนคร พงษ์น้อย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีครุศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปีพุทธศักราช 2505 และ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านการศึกษา จากมหาวิทยาลัย Standford แห่งเมือง ซานฟานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปีพุทธศักราช 2509 ด้านงานประจำ นายนคร พงษ์น้อย ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการและเจ้าหน้าที่ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง นอกจากนี้ ยังเป็นผู้อำนวยการไร่แม่ฟ้าหลวง ในส่วนของงานพิเศษ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการศึกษาและคัดเลือกทุนการศึกษา ในมูลนิธิสมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเป็นที่ปรึกษามูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในปีพุทธศักราช 2515 อีกทั้งเป็นที่ปรึกษามูลนิธิส่งเสริมผลผลิตชาวไทยภูเขา แห่งประเทศไทย ในสมเด็จรพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในปีพุทธศักราช 2516 และเป็นที่ปรึกษา อุทยานศิลปวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ในปี พุทธศักราช 2517 และเป็นที่ปรึกษากรรมการก่อสร้างพระตำหนักดอยตุง ซึ่งเป็น โครงการพัฒนาดอยตุงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ…

Read More

มนตรี รัศมี

นายมนตรี รัศมี ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (กีฏวิทยา) นายมนตรี รัศมี อายุ 57 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มต้นชีวิตการ ทำงานประจำในปี พุทธศักราช 2516 ที่บริษัท ที.เจ.ซี. จำกัด ในตำแหน่ง นักวิชาการ ฝ่ายพัฒนาการตลาด ต่อมาในปีพุทธศักราช 2524 ดำรงตำแหน่ง รองผู้จัดการฝ่ายพัฒนาการตลาด จากนั้นดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายพัฒนาการตลาด ในปีพุทธศักราช 2529 จนถึงปีพุทธศักราช 2541 ดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายการตลาด และดำรงตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ในปีพุทธศักราช 2543 โดยที่ นายมนตรี รัศมี เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่บริษัทจนอยู่ใน อันดับ 1 ใน 3 ของบริษัทชั้นนำทางด้านเคมีเกษตรของประเทศไทย นอกเหนือจากงานประจำแล้ว นายมนตรี รัศมี นับเป็นนักวิชาการด้านกีฏวิทยา ที่มีผลงานโดดเด่น ที่ยึดมั่นในแนวทางการกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน…

Read More

สุนทร สีหะเนิน

นายสุนทร สีหะเนิน ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ (พืชไร่) นายสุนทร สีหะเนิน สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนตรังภูมิ จังหวัดตรัง ระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนวิเชียรมาตุ จังหวัดตรัง และระดับอนุปริญญา จากโรงเรียนเตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ด้านงานประจำ นายสุนทร สีหะเนิน เริ่มเข้ารับราชการตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2486 และมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ตลอดจนได้รับการเลื่อนตำแหน่งเรื่อยมา นับตั้งแต่ตำแหน่งพนักงานข้าวจัตวา อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา พนักงานข้าวจังหวัดพัทลุง เกษตรจังหวัดพัทลุง เกษตรจังหวัดนราธิวาส หัวหน้า สำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันตก (ราชบุรี) และผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริม การเกษตรภาคเหนือ (เชียงใหม่) นอกจากงานประจำแล้ว นายสุนทร สีหะเนิน ยังได้เป็นวิทยากรบรรยายความรู้เรื่องข้าวให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ อีกด้วย นายสุนทร สีหะเนิน เป็นผู้ที่มีผลงานดีเด่นทั้งด้านวิชาการและด้านวิชาชีพ ในปีพุทธศักราช 2493 ได้เป็นผู้รวบรวมพันธุ์ข้าวและทดลองปลูก ที่ตำบลท่าทองหลาง อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา จนค้นพบข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ…

Read More

Go to Top