Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

Tag: วราภรณ์ แสงทอง

วราภรณ์ แสงทอง

ผศ.ดร.วราภรณ์ แสงทองกับความเชียวชาญในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่สร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อพูดถึงพันธุ์ข้าวของแม่โจ้แล้ว คงนึกถึงใครไม่ได้นอกจาก ผศ.ดร.วราภรณ์แสงทอง อาจารย์และนักวิจัยประจำคณะวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ด้วยดีกรีการศึกษาระดับ ปริญญาตรี สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ วิชาเอก พืชไร่ (เกียรตินิยมอันดับสอง) และปริญญาโท สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ วิชาเอก ปรับปรุงพันธุ์พืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส่วนปริญญาเอกจบสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ วิชาเอก Plant Breeding จาก Iowa State University ประเทศสหรัฐอเมริกา ชีวิตการทำงาน อาจารย์เริ่มทำงานเป็นนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนของ บริษัท คาร์กิลล์เมล็ดพันธุ์ จำกัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532-2535 และตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ก็ได้เป็นอาจารย์สอนที่สาขาพันธุ์ศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จนมาถึงปัจจุบัน ความเชี่ยวชาญ ปรับปรุงพันธุ์พืชแบบดั้งเดิม การปรับปรุงพันธุ์ที่ใช้เครื่องหมายโมเลกุลมาช่วยในการคัดเลือก …

Read More

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี พ.ศ. 2560

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี พ.ศ. 2560 ระดับดี สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา เรื่อง “เจ้าก่ำหอมแม่โจ้ 1 เอ : ข้าวหอมเพื่อสุขภาพ” หน่วยงานเจ้าของรางวัล : สภาวิจัยแห่งชาติ สายพันธุ์ข้าว เจ้าก่ำหอมแม่โจ้ 1 เอ เป็นข้าวสายพันธุ์ใหม่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วงที่ใช้บริโภคในแบบ ข้าวกล้อง โดยสายพันธุ์ข้าว เจ้าก่ำหอมแม่โจ้ 1 เอ เกิดจากการปรับปรุงพันธุ์ให้ได้ข้าวเจ้าสีดำที่มีกลิ่นหอม ซึ่งเป็นกลิ่นหอมของใบเตย (2AP) ที่ได้ยีนหอมมาจากข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 กับกลิ่นหอมของข้าวสีดำซึ่งได้มาจากเจ้าหอมนิล เป็นข้าว ต้นเตี้ยต้านทานต่อการหักล้ม ไม่ไวต่อช่วงแสงทำให้ปลูกได้ตลอดทั้งปี ใช้วิธีปรับปรุงพันธุ์แบบมาตรฐาน คือ พันธุ์ประวัติร่วมกับการใช้เครื่องหมายโมเลกุลที่เป็นส่วนหนึ่งของยีนควบคุมความหอม BADH2/badh2 ช่วยในการคัดเลือก การปรับปรุงพันธุ์ใช้เวลาทั้งหมด 17 ฤดู เริ่มจากในฤดูนาปี 2551 ผลิตเมล็ด F1 โดยทำการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ปทุมธานี 1 ที่เป็นข้าวเจ้า สีขาว มีกลิ่นหอม…

Read More

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี พ.ศ. 2555

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2555 รางวัลระดับดีเด่น เรื่อง “ข้าวเหนียวหอมต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสงสายพันธุ์ แม่โจ้ 2” หน่วยงานเจ้าของรางวัล : สภาวิจัยแห่งชาติ เนื่องจากยังไม่มีพันธุ์ข้าวเหนียวที่มีคุณลักษณะที่มีกลิ่นหอม ต้นเตี้ย ไม่ไวต่อช่วงแสง ที่สามารถปลูกได้ทุกฤดูได้อย่างครบถ้วน แต่พันธุ์ข้าวเจ้า ต้นเตี้ย ไม่ไวต่อช่วงแสง มีจำนวนมาก จึงเกิดแนวคิดว่าน่าจะเปลี่ยนข้าวเจ้าพันธุ์ดีที่มีอยู่มากมายและเป็นข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสงต้นเตี้ย รวมทั้งต้านทานต่อโรคและแมลงต่าง ๆ มาปรับปรุงให้เป็นข้าวเหนียวได้ เพื่อให้ข้าวเหนียวมีคุณลักษณะเหมือนกับข้าวจ้าวพันธุ์ดีโดยในช่วงปี 2547-2552 เป็นช่วงเวลาที่ใช้ความรู้ทางพันธุศาสตร์โมเลกุลมาประยุกต์เข้ากับการปรับปรุงพันธุ์แบบดั้งเดิม ในขณะนั้นการปรับปรุงพันธุ์โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลมาช่วยในการคัดเลือกยังไม่แพร่หลาย ขั้นแรกของการปรับปรุงพันธุ์เกิดจากข้อสงสัยแล้วค่อยทดลอง จึงเกิดแนวความคิดปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพันธุ์ดีที่เป็นข้าวเจ้าหอม ต้นเตี้ย ไม่ไวต่อช่วงแสง คือ ข้าวเจ้าพันธุ์ปทุมธานี 1 ให้เป็นข้าวเหนียวโดยใช้วิธีผสมกลับโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก จนสามารถปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวได้สำเร็จ กระทั่งปี 2553 จึงนำจัดแสดงในงานประชุมข้าวแห่งชาติ ครั้งปฐมฤกษ์ มีนักวิชาการที่ทำวิจัยเรื่องข้าวให้ความสนใจ และสอบถามกันอย่างมากมาย ต่อจากนั้นในปี 2554 ศ.ประดิษฐ์ พงศ์ทองคำ ได้แนะนำให้ส่งผลงานเข้าประกวด และได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2555 จากสภาวิจัยแห่งชาติ…

Read More

Go to Top