Skip to content Skip to footer

นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร

นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขา นิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปีพุทธศักราช 2519 และสำเร็จการศึกษาในระดับ ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน จากสถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในปีพุทธศักราช 2541 นอกจากนี้นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา ยังได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน จากสถาบันพระปกเกล้า ในปีพุทธศักราช 2545 สำเร็จหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 36 จากสำนักงานข้าราชการพลเรือนหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร จากสถาบันวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในปีพุทธศักราช 2546 และหลักสูตร ผู้บริหารระดับสูงด้านการค้าจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยในปีพุทธศักราช 2552 และ ได้เข้ารับการฝึกอบรม อาทิการอบรมการดำเนินการทางวินัย และการอบรมผู้บริหาร ระดับต้นและระดับกลาง จากสำนักงานข้าราชการพลเรือน การอบรมการบริหาร สำหรับผู้บังคับบัญชา จากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การอบรม ระดับผู้บริหารจากกระทรวงมหาดไทย การอบรมนักบริหารการพัฒนาการเกษตร และสหกรณ์ระดับสูง จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รวมถึงการอบรมหลักสูตร ผู้ตรวจราชการกระทรวง จากสำนักนายกรัฐมนตรี

นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา มีผลงานทางวิชาการด้านการวิจัย ได้แก่ การวิจัย เรื่องการนำป่าสงวนแห่งชาติมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินการวิจัยเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการปฏิรูประบบราชการไทย และการวิจัยเรื่องการจัดตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า แห่งประเทศไทย

นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา ปัจจุบันรับราชการในตำแหน่งอธิบดี กรมพัฒนาที่ดิน ทั้งยังได้ใช้ความรู้ความสามารถในการเป็นประธานคณะทำงาน กรรมการและเลขานุการในอีกหลายหน่วยงาน ได้แก่ เป็นประธานคณะทำงาน ศูนย์การเรียนรู้ โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จังหวัดเชียงใหม่ เป็นกรรมการ และเลขานุการคณะกรรมการเฉพาะกิจของนายกรัฐมนตรี เพื่อสนับสนุน การดำเนินงานการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรอย่างบูรณาการ เป็นกรรมการ มูลนิธิเกษตราธิการ เป็นกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ ระดับสถานีตำรวจ เป็นกรรมการในอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นอนุกรรมการพัฒนาแนวทางและกลไก ในการพิทักษ์ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน และเป็นกรรมการคัดเลือก การเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ระดับสูง ผู้อำนวยการเฉพาะด้านระดับสูงและนักบริหารระดับสูง กระทรวงเกษตร และสหกรณ์

นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา มีผลงานอาชีพซึ่งแสดงถึงความสำเร็จอันเป็น แบบอย่างที่ดี ได้แก่ การเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และเป็นประธานกรรมการ ในคณะกรรมการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคราชการและเป็นประธานกรรมการ ในคณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกร เป็นกรรมการบริหารโครงการอนุรักษ์แห่งพันธุกรรมไม้สัก และพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบริเวณลุ่มน้ำปายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นกรรมการบริหารโครงการศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นอนุกรรมการเกษตรพาณิชย์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) เป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการป้องกันแก้ไขปัญหาผลไม้ภาคเหนือ และเป็นที่ปรึกษา คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์

จากการที่นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา เป็นกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกรจึงมีบทบาทในการดำเนินการออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการฟื้นฟู พัฒนาของสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตรแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นแนวทางของ ประชาชนทั้งประเทศ โดยได้ร่างพระราชบัญญัติ และพระราชกฤษฎีกาที่ประกาศ ใช้เป็นกฎหมายแล้ว ได้แก่ พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ 2) ปีพุทธศักราช 2544 พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร แห่งชาติ (องค์การมหาชน) พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนปีพุทธศักราช 2548 และพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ปีพุทธศักราช 2551 นอกจากนี้ นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา ยังได้ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการ ร่างพระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประชาพิจารณ์เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณา ได้แก่ร่างพระราชบัญญัติการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม เป็นกรรมการ ร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภามีมติเห็นชอบแล้ว และรอประกาศใช้บังคับเป็น กฎหมาย ได้แก่ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสหกรณ์ (ฉบับที่ 2) เป็นกรรมการร่างพระราชบัญญัติที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ พัฒนากฎหมายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คือร่างพระราชบัญญัตินโยบายโคนม และผลิตภัณฑ์ เป็นกรรมการร่างพระราชบัญญัติที่อยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ ร่างพระราชบัญญัติสภาการเกษตรแห่งชาติ

โดยที่ นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา เป็นผู้มีผลงานทางวิชาการเป็นที่ยอมรับ ในวงวิชาการ เป็นนักบริหารและนักส่งเสริมด้านเกษตร การเผยแพร่ผลงานด้าน การอนุรักษ์ดินและน้ำ เป็นผู้ประสบความสำเร็จในงานวิชาชีพ เห็นได้จากการได้ รับแต่งตั้งเป็นผู้บริหาร ที่ปรึกษา ประธานกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในหน่วยงานต่าง ๆ หลายหน่วยงานเป็นผู้บำเพ็ญกรณียกิจด้วยความริเริ่ม จนเกิดประโยชน์ แก่สังคม อีกทั้งยังเป็นผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดในหน่วยงานกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งถือเป็น ผู้ประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมในงานวิชาชีพนั้นจนเป็นที่ประจักษ์ จึงนับเป็นบุคคลที่มีเกียรติประวัติและคุณสมบัติเหมาะสม สมควรได้รับ พระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชา ส่งเสริมการเกษตร เพื่อเป็นเกียรติประวัติ สืบไป

หมายเหตุ: ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 34 อาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555

Go to Top