วัดร้องเม็ง


วัดร้องเม็ง เป็นชื่อวัดในชนบทห่างไกลยากที่คนทั่วไปจะรู้จัก หากไม่ได้วิสัยทัศน์อันกว้างไกลของ หลวงพ่อศรีผ่อง หรือ พระครูโกวิทธรรมโสภณ ริเริ่มรวบรวมสิ่งของเก่ามีค่า และบางคนอาจไม่เห็นค่า นำมาจัดแสดงให้ศรัทธาประชาชนได้ชมโดยถือเป็นของไม่เห็นค่า นำมาจัดแสดงให้ศรัทธาประชาชนได้ชมโดยถือเป็นของส่วนรวมทุกคน ไม่มีการซื้อ-ขาย ไม่มุ่งหวังการค้าใดๆ ถ้าผู้มีจิตศรัทธาจะบริจาคสิ่งของเข้ามาเพิ่มก็รับ แต่จะนำมาขายนั้นไม่มีการซื้อ ตั้งใจให้เป็นที่รวบรวมของเก่าอันเกิดจากจิตศรัทธาสละให้เป็นของส่วนรวมในรูปพิพิธภัณฑ์ของวัด

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2527 หรือ 30 ปีที่แล้วอันเป็นวันคล้ายวันกิดท่านพระครูโกวิทธรรมโสภณ ( 1 ต.ค.2494) มีศิษยานุศิษย์-ศรัทธาประชาชนไปร่วมแสดงมุฑิตาจิตจำนวนมาก วันนั้น ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดร้องเม็งใหม่ ๆ มีความคิดว่า นอกจากวัดเป็นที่อบรมสั่งสอนพุทธบริษัทให้ถือศีล ปฎิบัติธรรมตามคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ควรจะเป็นที่รวบรวมข้าวของเก่า ๆ ตั้งแต่เครื่องมือเกษตร ของใช้ในครัวเรือน อันเป็นวิถีชิวิตประจำวันของชาวบ้าน เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษา และเข้าใจความเป็นมาของบรรพชน เพราะนับวันสิ่งของเหล่านั้นจะเสื่อมสูญไปหมดสิ้น

พ่อหลวงศรีผ่อง ซึ่งชอบสะสมเก็บของเก่ามีค่า หายาก ที่ท่านมีอยู่ และที่ญาติโยมถวายไว้มาจัดแสดงพร้อมปวารณาว่า ขอให้เป็นของส่วนกลางให้ทุกคนเป็นเจ้าของในนาม “พิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง” จึงเริ่มต้นตั้งแต่วันนั้น และเมื่อนับเนื่องมาจนถึงบัดนี้มีอายุครบ 30 ปีพอดี
ด้วยเจตนารมณ์ไม่ซื้อ-ไม่ขาย แต่รับบริจาคสิ่งของเข้ามาไว้ในพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็งตั้งแต่ต้น จนถึงขณะนี้มีโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุตั้งแต่ชิ้นเล็กสุดเท่าเข็ม จนถึงชิ้นใหญ่สุด รวมกันกว่า 6,000 ชิ้น มีอาคารจัดแสดง 2 หลัง เปิดให้ชมฟรีทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 – 18.00 น. มีผู้เข้าเยี่ยมชมเกือบทุกวัน ทั้งนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป กลุ่ม/ชุมชน จากจังหวัดต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษาแบบอย่างพิพิธภัณฑ์ของวัด รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ มาศึกษาเรียนรู้ ถ่ายภาพ กระทั่งวัดร้องเม็งกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แห่งหนึ่งของภาคเหนือ โดยอาคารพิพิธภัณฑ์หลังแรก วัตถุจัดแสดง เช่น ใบทะเบียนสมรส พ.ศ. 2480 สลากกินแบ่งรัฐบาล 2487 หนังสือพิมพ์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ใบขับขี่เกวียน 2469 หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน 2472 ราคาไร่ละ 109 บาท และของใช้ต่าง ๆ ส่วนหลังที่สอง จัดแสดงโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่ได้จากผู้บริจาครายหนึ่ง เมื่อปี 2543 เป็นเครื่องไม้แกะสลัก แท่นพระพุทธรูป เครื่องสูง เมื่อครั้งพระองค์เสด็จฯ ไปทรงเปิดงานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร กรุงเทพ ฯ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2551 โดยพระดำเนินมาทอดพระเนตรซุ้มนิทรรศการพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง ได้มีพระราชปฎิสันถารกับพระครูโกวิทธรรมโสภณ ถึงความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง
ครั้งที่ 3 พระองค์ได้พระราชทานเข็มเกียรติคุณวันอนุรักษ์มรดกไทยแก่พระครูโกวิทธรรมโสภณ ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2553 ณ โรงละครแห่งชาติกรุงเทพฯ ครั้งที่ 4 พระองค์เสด็จฯ ไปทรงเปิดงานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 และทอดพระเนตรซุ้มนิทรรศการพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง มีพระราชดำรัสกับพระครูโกวิทธรรมโสภณ ถึงโบราณวัตถุ และชื่อวัด คำว่า “เม็ง” คืออะไร หลวงพ่อตอบว่า ชาวภาคเหนือหมายถึง “มอญ” มีชื่อนี้ทั้งชื่อหมู่บ้าน และวัด ครั้งที่ 5 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มาเปิดงานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 ได้ทอดพระเนตรบูธนิทรรศการพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็งอีกครั้ง โดย พระครูโกวิทธรรมโสภณ ถวายรายงาน