Northern Articles

  • การขึ้นท้าวทั้ง 4

    การขึ้นท้าวทั้ง 4

    by

    |

    in

    การขึ้นท้าวทั้ง 4 ตามความเชื่อของคนล้านนา

  • ต๋าแหล๋ว

    ต๋าแหล๋ว

    by

    |

    in

    “ต๋าแหลว” ในภาษาเหนือหมายถึง ตาเหยี่ยว  เป็นเครื่องหมายทางพิธีกรรมตามความเชื่อของคนล้านนา  เพื่อแสดงอาณาเขตที่มีเจ้าของ เขตหวงห้าม และยังเชื่อว่าจะสามารถปกป้องพื้นที่นั้นให้คลาดแคล้วจากภัยพิบัติทั้งปวง และจะนำมาใช้ในพิธีแฮกนาด้วย “ต๋าแหลว” ทำจากไม้ไผ่ที่จักเป็นตอกแผ่นบาง สานให้เป็นรูปดวงตาเหยี่ยวมีหลายรูปแบบ  แบบสามเหลี่ยม หรือสามแฉก มีความเชื่อว่าเหมือนมีคนมานั่งท่องบทสวด มะ อะ อุ ตลอดเวลา ซึ่งบทสวดนี้ “มะ” หมายถึง คุณแห่งพระพุทธเจ้า คือ มนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ “อะ” หมายถึง คุณแห่งพระธรรมเจ้า คือ […]

  • การแฮกนาปลูกข้าว

    การแฮกนาปลูกข้าว

    by

    |

    in

    สังคมไทยปลูกข้าวเพื่อการบริโภคมาตั้งแต่ยุคโบราณกาล เรียกได้ว่า  ข้าวเป็นแหล่งอาหารที่หล่อเลี้ยงคนในสังคมไทย  ดังนั้นการผลิตข้าวจึงเป็นสิ่งสำคัญในวิถีชีวิตของคนไทย  การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากปราชญ์ชาวบ้านที่มีอาชีพทำนารวมไปถึงการประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวกับเกษตรกรรม  ความเชื่อเกี่ยวกับข้าว สามารถใช้เป็นอุบายให้มนุษย์อยู่กับธรรมชาติได้อย่างเหมาะสมและสมดุลย์ พิธีกรรมการปลูกข้าวจึงถือกำเนิดขึ้น กลายเป็นวัฒนธรรมสืบเนื่องต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน  อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของผู้ที่ประกอบอาชีพการทำนา ประเพณีการทำนาของคนล้านนาในสมัยก่อน  จะทำพิธีเคารพเจ้าที่เพื่อขออนุญาติเจ้าที่และสภาพแวดล้อมทั้งปวง  โดยจะมีพิธีกรรม “แฮกนา” หรือแรกนา ซึ่งเป็นพิธีกรรมสำคัญพิธีกรรมหนึ่งทางด้านการเกษตรที่เกษตรกรจะทำก่อนช่วงฤดูทำนา (ก่อนทำนาปลูกข้าว) ในราวเดือนแปดเหนือหรือเดือนหกใต้  เพื่อบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทาง แม่โพสพ แม่ธรณี ที่จะเริ่มทำนา เพื่อให้ได้ผลผลิตดี ไม่มีอะไรมารบกวน  ก่อนการแฮกนาตามความเชื่อจะมีการศึกษาตำราพญานาคในหนังสือปีใหม่สงกรานต์ของแต่ละปีว่าพญานาคหันหน้าไปทางทิศใด เพื่อดูว่าควรจะไถนาไปในทิศทางใด ซึ่งจะไม่ไถนาย้อนเกล็ดพญานาคเพราะมีความเชื่อว่าไม่เป็นมงคล เพราะผาลไถไปไถย้อนเกล็ดนาคผู้รักษาน้ำซึ่งการไถนาย้อนเกล็ดนาค เรียกกันว่า “ไถเสาะเกล็ดนาค” […]

  • วัดป่าลาน

    วัดป่าลาน

    by

    |

    in

    ประวัติและความเป็นมา วัดป่าลาน เดิมเรียกชื่อว่า วัดตั๊บปั๋นล้าน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2292 ตามที่เล่าขานสืบต่อกันมาว่า เดิมวัดป่าลานเป็นสถานที่พักรบของกองทัพทหารจำนวนมากที่มารบกับทหารพม่า หลังสงครามสงบลง พวกทหารบางส่วนก็แยกย้ายกันกลับภูมิลำเนาเดิม บางส่วนก็ตั้งหลักฐานอยู่ที่นี่ พร้อมกันนั้นก็ได้สร้างวัดขึ้น เรียกชื่อว่า วัดตั๊บปั๋นล้าน ต่อมาทางการได้พัฒนาบ้านเมือง จัดเป็นสัดส่วนให้ง่ายต่อการปกครอง จึงจัดตั้งเป็นหมู่บ้านให้ชื่อว่า หมู่บ้านป่าลาน เพราะมีต้นลานมาก ชาวบ้านจึงเรียกกันเพี้ยนตามชื่อของหมู่บ้านว่า วัดป่าลาน จนถึงปัจจุบัน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2514  มีความกว้าง […]

  • วัดร้องเม็ง

    วัดร้องเม็ง

    by

    |

    in

    วัดร้องเม็ง เป็นชื่อวัดในชนบทห่างไกลยากที่คนทั่วไปจะรู้จัก หากไม่ได้วิสัยทัศน์อันกว้างไกลของ หลวงพ่อศรีผ่อง หรือ พระครูโกวิทธรรมโสภณ ริเริ่มรวบรวมสิ่งของเก่ามีค่า และบางคนอาจไม่เห็นค่า นำมาจัดแสดงให้ศรัทธาประชาชนได้ชมโดยถือเป็นของไม่เห็นค่า นำมาจัดแสดงให้ศรัทธาประชาชนได้ชมโดยถือเป็นของส่วนรวมทุกคน ไม่มีการซื้อ-ขาย ไม่มุ่งหวังการค้าใดๆ ถ้าผู้มีจิตศรัทธาจะบริจาคสิ่งของเข้ามาเพิ่มก็รับ แต่จะนำมาขายนั้นไม่มีการซื้อ ตั้งใจให้เป็นที่รวบรวมของเก่าอันเกิดจากจิตศรัทธาสละให้เป็นของส่วนรวมในรูปพิพิธภัณฑ์ของวัด เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2527 หรือ 30 ปีที่แล้วอันเป็นวันคล้ายวันกิดท่านพระครูโกวิทธรรมโสภณ ( 1 ต.ค.2494) มีศิษยานุศิษย์-ศรัทธาประชาชนไปร่วมแสดงมุฑิตาจิตจำนวนมาก วันนั้น ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดร้องเม็งใหม่ ๆ มีความคิดว่า […]