Agricultural ritual
-
พิธีปู่จาข้าวลดเคราะห์
พิธีปู่จาข้าวลดเคราะห์ (ข้อมูลอ้างอิงจากหมู่บ้านศรีดอนชัย หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน) “ปู่จา” เป็นภาษาเมืองล้านนา แปลเป็นภาษากลางว่า “บูชา” คือ การแสดงความเคารพด้วยเครื่องสักการะ ยกย่องเทิดทูนด้วยความนับถือหรือเลื่อมใส “ข้าวลดเคราะห์” คือ การทำพิธีทางความเชื่อโดยการใช้ข้าวเพื่อทำพิธีสะเดาะเคราะห์หรือลดเคราะห์ให้หายไป พิธีปู่จาข้าวลดเคราะห์ ในโบราณชาวล้านนาเชื่อกันว่าเป็นพิธีกรรมการบูชาข้าวเพื่อถวายแด่พระพุทธเจ้า และขอพรจากพระพุทธเจ้าพึงเอาบุญคุณแก้ว 3 ประการ (พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์) อันมีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน และอีกนัยหนึ่งก็คือการสะเดาะเคราะห์ ส่งเสริมดวงชะตาให้ดีขึ้นมักรวมไปถึงการต่ออายุ หรือแก้ไขสิ่งเลวร้ายจากหนักกลายเป็นเบา จากเบากลายเป็นหาย […]
-
พิธีกรรมเดปอทู่
เดปอทู่เป็นความเชื่อและเป็นภูมิปัญญาของชนเผ่าปกาเกอะญอ บ้านห้วยผักกูด ต.แม่ศึก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ที่เชื่อมความสัมพันธ์ในมิติต่าง ๆ ระหว่างคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ คนกับธรรมชาติ หรือระหว่างคนกับคน ผสมผสานกันอย่างลงตัวเพื่อการดำรงอยู่อย่างยั่งยืน ความเชื่อเกี่ยวกับการเกิด เรียกว่า “ดึต่าเบล” เมื่อทารกเกิดมา สายรกที่ถูกตัดออกจากผู้เป็นมารดา จะนำมาบรรจุลงในกระบอกไม้ไผ่ที่เตรียมไว้แล้ว ทำการปิดฝากระบอกด้วยเศษผ้าของผู้เป็นมารดาให้แน่น แล้วนำกระบอกสายรกไปผูกไว้กับต้นไม้ที่ถูกเลือกในพื้นที่บริเวณในป่ารอบหมู่บ้าน พร้อมกับอธิษฐานให้ทารกเติบโตแข็งแรงมีสุขภาพที่ดี เหมือนต้นไม้ที่ถูกเลือกนี้ และต้นไม้นี้จะถูกเรียกว่า “เดปอทู่” แปลว่า ต้นสายรก ต้นไม้ดังกล่าวนี้จะถูกห้ามตัดโดยทันทีและเด็ดขาด เพราะเชื่อว่าขวัญทารกอาศัยอยู่ที่ต้นไม้นี้ ถ้าตัดทิ้งจะทำให้ทารกเจ็บป่วยได้ง่าย ขวัญหนีไปจากต้นไม้ ส่วนคนที่ตัดต้นไม้เดปอทู่โดยเจตนาหรือไม่เจตนาจะต้องถูกปรับด้วยไก่หนึ่งตัว […]
-
ต๋าแหล๋ว
“ต๋าแหลว” ในภาษาเหนือหมายถึง ตาเหยี่ยว เป็นเครื่องหมายทางพิธีกรรมตามความเชื่อของคนล้านนา เพื่อแสดงอาณาเขตที่มีเจ้าของ เขตหวงห้าม และยังเชื่อว่าจะสามารถปกป้องพื้นที่นั้นให้คลาดแคล้วจากภัยพิบัติทั้งปวง และจะนำมาใช้ในพิธีแฮกนาด้วย “ต๋าแหลว” ทำจากไม้ไผ่ที่จักเป็นตอกแผ่นบาง สานให้เป็นรูปดวงตาเหยี่ยวมีหลายรูปแบบ แบบสามเหลี่ยม หรือสามแฉก มีความเชื่อว่าเหมือนมีคนมานั่งท่องบทสวด มะ อะ อุ ตลอดเวลา ซึ่งบทสวดนี้ “มะ” หมายถึง คุณแห่งพระพุทธเจ้า คือ มนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ “อะ” หมายถึง คุณแห่งพระธรรมเจ้า คือ […]
-
การแฮกนาปลูกข้าว
สังคมไทยปลูกข้าวเพื่อการบริโภคมาตั้งแต่ยุคโบราณกาล เรียกได้ว่า ข้าวเป็นแหล่งอาหารที่หล่อเลี้ยงคนในสังคมไทย ดังนั้นการผลิตข้าวจึงเป็นสิ่งสำคัญในวิถีชีวิตของคนไทย การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากปราชญ์ชาวบ้านที่มีอาชีพทำนารวมไปถึงการประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวกับเกษตรกรรม ความเชื่อเกี่ยวกับข้าว สามารถใช้เป็นอุบายให้มนุษย์อยู่กับธรรมชาติได้อย่างเหมาะสมและสมดุลย์ พิธีกรรมการปลูกข้าวจึงถือกำเนิดขึ้น กลายเป็นวัฒนธรรมสืบเนื่องต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของผู้ที่ประกอบอาชีพการทำนา ประเพณีการทำนาของคนล้านนาในสมัยก่อน จะทำพิธีเคารพเจ้าที่เพื่อขออนุญาติเจ้าที่และสภาพแวดล้อมทั้งปวง โดยจะมีพิธีกรรม “แฮกนา” หรือแรกนา ซึ่งเป็นพิธีกรรมสำคัญพิธีกรรมหนึ่งทางด้านการเกษตรที่เกษตรกรจะทำก่อนช่วงฤดูทำนา (ก่อนทำนาปลูกข้าว) ในราวเดือนแปดเหนือหรือเดือนหกใต้ เพื่อบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทาง แม่โพสพ แม่ธรณี ที่จะเริ่มทำนา เพื่อให้ได้ผลผลิตดี ไม่มีอะไรมารบกวน ก่อนการแฮกนาตามความเชื่อจะมีการศึกษาตำราพญานาคในหนังสือปีใหม่สงกรานต์ของแต่ละปีว่าพญานาคหันหน้าไปทางทิศใด เพื่อดูว่าควรจะไถนาไปในทิศทางใด ซึ่งจะไม่ไถนาย้อนเกล็ดพญานาคเพราะมีความเชื่อว่าไม่เป็นมงคล เพราะผาลไถไปไถย้อนเกล็ดนาคผู้รักษาน้ำซึ่งการไถนาย้อนเกล็ดนาค เรียกกันว่า “ไถเสาะเกล็ดนาค” […]