ประวัติโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ

by

|

in

ประวัติโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม: จากบันทึก พระช่วงเกษตรศิลปการ

โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมที่สามที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น เพราะแต่เดิมนั้น มีโรงเรียนฝึกหัดครูอยู่แล้วที่โนนวัด โรงเรียนฝึกหัดครูที่สองจัดตั้งขึ้นที่คอหงษ์หาดใหญ่ ทั้งสองโรงเรียนนั้นได้ร่วมงานไปกับสถานีทดลองกสิกรรมของกรมเกษตร โรงเรียนนี้ได้จัดตั้งขึ้้นเมื่อต้น พ.ศ.2477 ข้าพเจ้าจำได้อย่างแม่นยำว่า เมื่อกลางเดือน เมษายน พ.ศ.2477 กระทรวงธรรมการได้ให้ข้าพเจ้ายืมเงิน 3000 บาท มาจัดการก่อสร้างโรงเรียนชั่วคราวขึ้น และเริ่มประกาศรับนักเรียน แต่เดือน พฤษภาคม มีนักเรียนเดินทางมาเล่าเรียนอยู่เรื่อยๆ เป็นนักเรียนในบำรุง 35 คน นอกบำรุง 11 คน อุปสรรคแรกที่ต้องวิตกมากก็คือน้ำใช้ แม้ว่าได้จัดตอกบ่อลึกถึง 64 ฟีตก็ตาม น้ำที่สูบขึ้นมานั้นก็ยังใช้บริโภคไม่ได้ ในเวลานั้นข้าพเจ้าได้สร้างถังน้ำซิเมนต์มีความจุประมาณหมื่นแกลลอนที่สถานีทดลองกสิกรรมขึ้น เพราะที่นั้นมีหลังคาสังกะสี ส่วนโรงเรียนชั่วคราวและบ้านพักนักเรียนมีหลังคาและฝามุงด้วยใบพลวงทั้งสิ้นจะรองน้ำฝนใช้ไม่ได้


เรือนนอนนักเรียน                                             โรงอาหาร                                                      โรงประปา

โรงเรียนได้จัดไหว้ครูเปิดโรงเรียนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477 มีข้าหลวงประจำจังหวัดและธรรมการจังหวัดมาให้โอวาสเปิดการเรียน นักเรียนทุกคนมีความเข้มแข็งในการเรียนและงานศิลป มีความสามัคคีเครพคณะครู อาจารย์เป็นอย่างสูง นักเรียนเหล่านี้เป็นหัวแรงที่ได้ร่วมมือกันจัดให้กิจการของโรงเรียนก้าวหน้าเป็นลำดับมา ใน พ.ศ.นั้นมีข้าพเจ้าเป็นอาจารย์ใหญ่ นายสวัสดิ์ วีระเดชะ เป็นอาจารย์ประจำโรงเรียน นาดง วระนันท์ นายสนิท ศิริเผ่า นายสีมุ วงศ์จินดารักษ์ เป็นครูรอง

อาจารย์ใหญ่
พระช่วงเกษตรศิลปการ อาจารย์ใหญ่
ครูเกษตรศาสตร์
สีมุ วงศ์จินดารักษ์ ครูรอง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทุกคนเมื่อได้ร่วมมือร่วมงานกันเพื่อนำให้นักเรียนรุ่นแรกของโรงเรียนได้รับการอบรมเป็นอย่างดี ข้าพเจ้าลืมเสียไม่ได้ว่านักเรียนรุ่นแรกของเราไม่ยอมแพ้ในการกีฬาของจังหวัด ได้พยายามฝึกซ้อมการเล่นฟุตบอลล์ และได้ส่งทีมเข้าแข่งขันจนได้โล่ห์ฟุตบอลรุ่นกลางมาไว้แก่โรงเรียน เวลานั้นนักเรียนเล่นฟุตบอลไม่เป็นและขาดสนาม แต่ข้าพเจ้าได้แนะนำให้ใช้ทุ่งนาหนองบัวเป็นที่ฝึกซ้อม และยังสั่งให้ช่างเย็บรองเท้าให้นักเรียน 22 คู่ ข้าพเจ้าเล่นฟุตบอลไม่เป็นแต่ชอบดูและคุมเด็กเล่น ซึ่งนักเรียนรุ่นนั้นคงจำความได้ดีว่า อาจารย์ใหญ่ไม่ใคร่ขาดการดูแข่งขัน

บุญชัก ประดิษบ์กุล พนม สมิตานนท์ แล ทิพยกะลิน สนิท ปุตรเศรณี ไสว บุณยปรัตยุษ ใช้ ชัยฉ่ำ บุญอยู่ หาญสมุทร ไสว เดชคุ้ม ต่อ ประพันธะโยธิน เสริม มกะครรภ์
ฟุตบอลรุ่นใหญ่
กำลังแข่งขันฟุตบอล
กำลังแข่งขัน
ฟุตบอลรุ่นกลาง
ฟุตบอลรุ่นกลาง
เชียร์
กองเชียร์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ในปี พ.ศ.2478 ทางโรงเรียนได้รับภาระมากขึ้น เพราะกระทรวงธรรมการต้องการเปิดแผนกนักเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมขึ้นสมทบกับโรงเรียนฝึกหัดครูนี้ ต้นพ.ศ. นี้งานสำคัญคือการก่อสร้าง เพราะจะรับนักเรียนใหม่ทั้งฝ่ายนักเรียนครูปีที่ 1 และนักเรียนมัธยมเกษตรกรรม ตระเตรียมไว้ว่าจะมีนักเรียนทั้งสองแผนกประมาณ 250-300 คนมาเข้าเล่าเรียน สถานที่พักยังไม่มีพอคงมีเรือนนอนเก่าอยู่ 3 หลัง ต้องสร้างห้องเรียนเรือนนอนเพิ่มขึ้นอีก ทุกอย่างทำกันอย่างรีบเร่ง นักเรียนเก่าและนักเรียนที่มาสมัครใหม่ ข้าพเจ้าหมายความถึงนักเรียนครูรุ่นที่จะออกไปในปลาย พ.ศ. นี้ กับนักเรียนมัธยมเกษตรกรรมปีที่ 6 เดี๋ยวนี้ ได้ร่วมกันปฏิบัติงานเป็นที่พอใจของข้าพเจ้าทุกอย่าง บทเรียนที่จะฝังอยู่ในใจของนักเรียนที่มารับการอบรมในโรงเรียนนี้ ก็คือการร่วมมือกัน นักเรียนทุกคนคอยรับคำสั่งและคอยปฏิบัติตามคำสั่งทุกประการ อุปสรรคขั้นต้นคือการขาดครู ข้าพเจ้าได้ร้องเรียนเรื่องนี้ต่อกรมศึกษาธิการมาเป็นลำดับ พอถึงกลาง พ.ศ.2478 ก็บันเทาลงบ้าง แต่เสียใจที่โรงเรียนขาดนาย สวัสดิ์ วีระเดชะ ซึ่งถูกย้ายไปเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคใต้ แต่อาจารย์และครูที่ได้เพิ่มมาใหม่ พ.ศ.นี้ คือ ขุนจรรยาวิจารณ์ มารับตำแหน่งอาจารย์ผู้ปกครอง นายพนม สมิตานนท์ นายอ่ำ อุ่นใจ นายรึบ ชาญวิจิตร นายดาบใช้ ชัยฉ่ำ นายดี ธรรมวงศ์ นายเชิด มุนิกานนท์ นายเต็ม ศรีเพริศ นายบุญชัก ประดิษฐกุล และนายรศ นิลแก้ว พนักงานพยาลประจำโรงเรียน ในเดือนกุมภาพันธ์โรงเรียนใช้ห้องวิทยาศาสตร์เป็นที่ทำงานห้องพักครูไปพลาง และเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 นี้เกิดพายุใหญ่ในวันสุดท้ายของการสอบไล่ นักเรียนครูรุ่นแรกของเรา บ้านพัก 2 หลังหักพัง อีก 3 หลังโย้ไปแต่ยังใช้การได้ ทางโรงเรียนได้โทรเลขขอสอบไล่วิชาวิทยาศาสตร์ใหม่

อาจารย์ผู้ปกครอง
ขุนจรรยาวิจารณ์ อาจารย์ผู้ปกครอง
พนท สมิตานนท์
พนม สมิตานนท์ อาจารย์วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา เกษตรศาสตร์
ครูเกษตรศาสตร์ วิชาครู ภาษาไทย
อ่ำ อุ่นใจ ครูเกษตรศาสตร์ วิชาครู ภาษาไทย
ครูเกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
เชิด มุนิกานนท์ ครูเกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
ครูเกษตรศาสตร์ ภาษาไทย
รึบ ชาญวิจิตร ครูเกษตรศาสตร์ ภาษาไทย
ครูเกษตรศาสตร์ ภูมิศาสตร์
นายดาบใช้ ชัยฉ่ำ ครูเกษตรศาสตร์ ภูมิศาสตร์
ครูเกษตรศาสตร์ คณิตศาสตร์
ดี ธรรมวงศ์ ครูเกษตรศาสตร์ คณิตศาสตร์
ครูภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์
เต็ม ศรีเพริศ ครูภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์
ครูเกษตรศาสตร์ ภาษาไทย วิชาครู
บุญชัก ประดิษฐกุล ครูเกษตรศาสตร์ ภาษาไทย
ประกาศนียบัตรพยาบาล ครูสรีรศาสตร์, สุขวิทยา และการสุขาภิบาลโรงเรียน พนักงานพยาบาลประจำโรงเรียน
ประกาศนียบัตรพยาบาล ครูสรีรศาสตร์, สุขวิทยา และการสุขาภิบาลโรงเรียน พนักงานพยาบาลประจำโรงเรียน

 

 

 

ป.ป.ก. 2478
ป.ก.ก. 2478
มัธยมวิสามัญเกษตรกรรมà
มัธยมวิสามัญเกษตรกรรมปีที่ 6 (พ.ศ.2479)
มัธยมวิสามัญเกษตรกรรมà
มัธยมวิสามัญเกษตรกรรมปีที่ 6 (พ.ศ.2479)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

งานฤดูหนาวของเชียงใหม่ ซึ่งจัดให้มีเป็นงานประจำปี ที่สนามโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยเริ่มแต่วันที่ 25 ธันวาคม ถึงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2478 ทางโรงเรียนได้จัดให้มีร้านเปิดขายเครื่องดื่มเบ็ดเตล็ดเช่น โกโก้, กาแฟ และอาหารว่างอื่นๆ ทั้งได้มีการเล่นเบ็ดเตล็ดของนักเรียนทั้งสองแผนก เป็นการส่งเสริมความสนุกรื่นเริงแก่งานนั้นอยู่มาก เรียกร้านนี่้ว่า “แม่โจ้รีวิว” เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการนี้แล้วยังมีเงินเหลือซื้อตู้ใส่เครื่องวิทยาศาสตร์ให้แก่โรงเรียน ในงานฤดูหนาวนี้นอกจากการออกร้านแล้ว นักเรียนหมวดต่างๆ ได้จัดส่งพืชผักต่างๆ เข้าประกวดและได้รางวัลพอสมควร

เมื่อปลายปี พ.ศ.2478 นั้นนักเรียนรุ่นแรกได้ดำริจะทำสมุดประจำปีขึ้นแต่ไม่สำเร็จ เพราะไม่มีเวลาพอที่จะจัดทำ นักเรียนครูรุ่นที่สองนี้ได้วางแนวความคิดวางงานไว้แต่แรก จึงพิมพ์สมุดประจำปี “แม่โจ้ 2479” นี้ได้สำเร็จ ความสำเร็จของงานเป็นผลจากความสามัคคีที่สมาชิกของรุ่นนี้ได้ร่วมมือร่วมใจกันและขอให้ความสำเร็จนี้เป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกอยู่เสมอ ทั้งเป็นแบบอย่างที่จะนำให้บรรลุงานอื่นๆ ที่มุ่งหวังไว้ต่อไป

cover2479

 

 

 

 

 

 

 

 

ใน พ.ศ.2479 นี้ รูปร่างของโรงเรียนผิดแปลกขึ้นบ้าง ตัวโรงเรียนใหญ่ได้สร้างเสร็จมีชั้นบนเป็นห้องเรียน 4 ห้อง ส่วนชั้นล่างยังกำลังดัดแปลงให้เป็นห้องสมุดของโรงเรียน คณะหนังสือพิมพ์กสิกร ได้มอบเงิน 744 บาทเศษ ให้แก่โรงเรียนเพื่อใช้จ่ายในการสร้างห้องสมุดนี้ นับว่าโรงเรียนได้รับทุนสมทบจากคณะนี้อีกด้วย

ที่มา : ทำเนียบรุ่นปี 2479