Maejo University 1st Commencement Program – สูจิบัตรงานพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 1

Download PDF ดาวน์โหลดไฟล์

Maejo University 1st Commencement Program – สูจิบัตรงานพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 1
งานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้(มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ประจำปีการศึกษา 2519-2520 วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2521 ณ หอประชุมสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร แม่โจ้

กำหนดการ
เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สําเร็จการศึกษา
สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร จังหวัดเชียงใหม่ วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2521

เวลา 15.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระตำหนักภู พิงคราชนิเวศน์ไปยังสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร

เวลา 16.15 น. เสด็จพระราชดำเนินถึงสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร เทียบรถยนต์พระที่นั่งที่มุขตึก 1 นายกสภาสถาบัน ฯ อธิการบดี รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ เฝ้า ฯ รับเสด็จ ฯ และกราบบังคมทูลเชิญเสด็จ ฯ เข้าสู่ห้องรับรอง ทรงฉลองพระองค์ครุยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทรงลงพระปรมาภิไธย และพระนามาภิไธยในสมุดเยี่ยม เสด็จพระราชดำเนินไปยังหอประชุม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธนวราชบพิตร ประทับพระราชอาสน์

นายกสภาสถาบัน ฯ กราบบังคมทูลแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาต่างๆ ของสถาบันฯ

อธิการบดี กราบบังคมทูลรายงานกิจการของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร และขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร กราบบังคมทูลเบิกผู้สำเร็จการศึกษา เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร

รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ กราบบังคมทูลเบิกผู้ได้รับรางวัลเรียนดี เข้ารับพระราชทานรางวัลเรียนดี

ผู้ได้รับพระราชทานปริญญาบัตร กล่าวคำปฏิญาณตน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราโชวาท

-เสด็จพระราชดำเนินจากหอประชุม ไปยังห้องรับรอง ประทับพักพระราชอิริยาบถตามพระราชอัธยาศัย

เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง กลับพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์


คํากราบบังคมทูล ของ อำมาตย์โทพระช่วง เกษตรศิลปการ นายกสภาสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร แม่โจ้ เชียงใหม่ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ครั้งที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2519-2520 วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2521

ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม

ในโอกาสอันเป็นมิ่งมหามงคลที่ฝ่าละอองธุลีพระบาท พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เชียงใหม่ในครั้งนี้นั้น นับเป็นศิริมงคลแก่สถาบันฯ เป็นอย่างยิ่ง ยังความปลาบปลื้มปีติโสมนัสสุดจะพรรณนา แก่คณะกรรมการสภาสถาบันฯ คณาจารย์ ข้าราชการ นักศึกษา ตลอดจนผู้ซึ่งได้อุปถัมภ์และทำงานให้แก่สถาบันฯนี้เป็นล้นพ้น

ตลอดเวลาที่ผ่านมา ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ และระลึกถึงพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงมีพระเมตตาอย่างล้นเหลือ ต่อไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ ในการเสด็จแปรพระราชฐานมาประทับ ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ทุกครั้ง ก็ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยือนราษฎรทุกหมู่เหล่า เพื่อดูแลทุกข์สุขและพระราชทานคำแนะนำเกี่ยวกับอาชีพโดยมิได้ทรงคำนึงถึงความเหน็ดเหนื่อย พระวรกาย

การพระราชทานปริญญาในวันนี้ก็นับว่าเป็นอีกวาระหนึ่งที่รบกวนเวลาอันควร พักผ่อนพระอิริยาบถของฝ่าละอองธุลีพระบาท แต่ฝ่าละอองธุลีพระบาทก็ทรงมีพระเมตตาแก่ปวงข้าพระพุทธเจ้า โดยทรงพระราชทานพระบรมราชวโรกาสแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ผู้ได้รับสืบไป นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่เปรียบมิได้

บัดนี้ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส เบิกตัวอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เชียงใหม่ เพื่อกราบบังคมทูลรายงานกิจ การของสถาบันฯ สืบไป

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ


คำกราบบังคมทูล ของรองศาสตราจารย์ วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร แม่โจ้ เชียงใหม่ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ครั้งที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2519-2520 วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2521

ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม

ณ โอกาสนี้ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส กราบบังคม ทูลถวายรายงานความเป็นมาของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เชียงใหม่ โดยสังเขปดังต่อไปนี้.

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า โรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้เป็นสถาบันการศึกษา ด้านเกษตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ได้เปิดทำการสอนเป็นครั้ง แรกเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2477 สังกัดกระทรวงธรรมการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ทางการได้โอนกิจการต่าง ๆ ของโรงเรียนนี้จากกระทรวงธรรมการไปขึ้นอยู่ในความดูแลของกระทรวงเกษตราธิการ ต่อมาใน พ.ศ. 2491 กระทรวงเกษตราธิการได้โอนกิจการของสถานศึกษาแห่งนี้ ให้แก่กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จนถึงปี พ.ศ. 2499 กระทรวงศึกษาธิการได้เล็งเห็นความสำคัญ และ ความเจริญก้าวหน้าของสถานศึกษาแห่งนี้ จึงยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ เมื่อปลายปี พ.ศ. 2516 คณะนักศึกษาและอาจารย์วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ ได้ร่วมกันขอให้รัฐบาลยกฐานะของวิทยาลัยฯ ขึ้นเป็นสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร เพื่อจัดการศึกษาทางด้านอาชีวเกษตรให้สูงขึ้นไปอีกจนถึง ระดับปริญญาตรี เพื่อดำเนินการสอน วิจัย ฝึกปฏิบัติ และส่งเสริมวิชาการเกษตร โดยให้เน้นหนักในภาคปฏิบัติในวิชาชีพเกษตรกรรม ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนา ชนบทและต่อการเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันแห่ง นี้มีความรู้ ความชำนาญในการเกษตรภาคปฏิบัติจนสามารถประกอบอาชีพได้เอง หรือสามารถปฏิบัติงานเกษตรกรรมที่ตนถนัดได้ตามความต้องการ ทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ รัฐบาลจึงยกฐานะขึ้นเป็นสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร และโอนมาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2518 ตามพระราช บัญญัติสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร พ.ศ. 2518

จุดมุ่งหมาย

วัตถุประสงค์ที่สําคัญ ๆ ในการดําเนินงานของสถาบัน ได้แก่

  1. เพื่อผลิตกำลังคน ให้มีความรู้ความสามารถที่จะออกไปประกอบอาชีพส่วนตัวทางการเกษตร และที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ตลอดจนการผลิตกำลังคน สำหรับหน่วยราชการและองค์การเอกชน เพื่อออกไปช่วยพัฒนาการเกษตรและ พัฒนาชุมชนในชนบท
  2. ทำการค้นคว้าวิจัย โดยเฉพาะปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการเกษตรในชนบท และให้ความช่วยเหลือแก่ท้องถิ่นทางวิชาการ ตลอดจนให้ความร่วมมือและช่วย เหลือแก่หน่วยงานและองค์การต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชนบท
  3. ให้การศึกษาเพิ่มเติม แก่ผู้ที่ประกอบอาชีพการเกษตรอยู่แล้ว เพื่อเพิ่มพูน ความรู้ด้านเกษตรกรรมและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาชีพการเกษตร รวมทั้ง การฝึกอบรมวิชาการเกษตรที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยเปิดเป็นหลัก สูตรระยะสั้น หรือหลักสูตรพิเศษเป็นครั้งคราว

ถึงแม้ว่าการศึกษาในสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร จะเป็นการศึกษาในระดับ อุดมศึกษาก็ตาม แต่หลักสูตร วิธีการสอน วิธีการเรียน ได้แตกต่างไปจากการ ศึกษาในมหาวิทยาลัยอื่น ๆ สถาบันมีจุดมุ่งหมายที่จะให้การศึกษาแก่นักศึกษาใน เฉพาะสาขาวิชาที่เมื่อนักศึกษาสำเร็จไปแล้ว จะสามารถนำไปประกอบอาชีพส่วน ตัวได้ โดยการสอนจะเน้นหนักในเรื่องของการปฏิบัติ และให้นักศึกษาได้สัมผัสกับ ชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรอย่างแท้จริง เพื่อที่จะได้ทราบถึงปัญหา อุป สรรค และวิธีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่ทันสมัยในแต่ละสาขาวิชา

ระหว่างศึกษาในสถาบัน นักศึกษาจะต้องทำการดำเนินการทดลอง ค้นคว้า และศึกษาปัญหาเฉพาะในสาขาวิชาที่เลือกเรียน หรือทำการฝึกงานกับหน่วยงาน ของรัฐบาลหรือเอกชน เพื่อจะได้ช่วยให้เข้าใจถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดทั้ง วิธีการแก้ไขให้เกิดความชำนาญ จนสามารถออกไปประกอบอาชีพได้

การศึกษา

ในปัจจุบันนี้สถาบันรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ ชั้นสูง (ปวส.) แผนกเกษตรกรรม หรือประโยคครูมัธยมเกษตรกรรม (ป.ม.ก.) เข้าศึกษาต่อตามหลักสูตร ระดับปริญญาตรีอีก 2 ปี ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับ ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต ตามสาขาที่เรียนมา

อนึ่ง ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับประโยคครูมัธยมเกษตรกรรม (ป.ป.ก.) จะ ต้องเรียนบางวิชาเพิ่มเติมตามที่สถาบันจะกำหนดให้

ในอนาคตสถาบันมีโครงการที่จะจัดหลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี โดยรับนัก ศึกษาจากผู้สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ (ม.ศ.2) แผนกเกษตรกรรม เข้าศึกษาต่อเพิ่มเติมอีกด้วย

ปีการศึกษาหนึ่ง ๆ จะแบ่งออกเป็นสองภาคการศึกษา ภาคการศึกษาละ 18 สัปดาห์ ภาคการศึกษาที่หนึ่ง จะเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน จนถึงประมาณกลาง เดือนตุลาคม และภาคการศึกษาที่สองจะเริ่มต้นเดือนพฤศจิกายน จนถึงประมาณ กลางเดือนมีนาคม

หลักสูตรปริญญาตรีเทคโนโลยีการเกษตร พ.ศ. 2518

  1. หลักสูตรที่กำหนดให้ศึกษา 4 ภาคการศึกษา ภาคการศึกษาละ 18 สัปดาห์ และไม่เกิน 4 ภาคการศึกษาตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานการศึกษา
  2. ผู้ที่จะเรียนครบตามหลักสูตรนี้ จะต้องสอบไล่ได้ไม่น้อยกว่า 75 หน่วยกิต ตามลักษณะวิชาต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ ตามความต้องการของแต่ละภาควิชา และมี ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.00

การแบ่งส่วนราชการ

ในปีการศึกษา 2518 นี้ สถาบันแบ่งส่วนการบริหารราชการออกเป็น 2 สำนัก และ 2 คณะวิชา คือ

  1. สำนักงานอธิการบดี
  2. สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

และ

  1. คณะผลิตกรรมการเกษตร
  2. คณะธุรกิจการเกษตร

สำนักงานอธิการบดี ทำหน้าที่ในการควบคุมนโยบายการบริหารงานทั่ว ๆ ไปของ สถาบัน ตลอดทั้งงานทางด้านการคลัง ธุรการ และสวัสดิการ

สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร ทำหน้าที่ทดลอง ค้นคว้า วิจัย และทำการส่งเสริมเผยแพร่ความรู้ทางด้านเกษตรกรรมให้แก่ประชาชนโดยทั่วไป ยิ่งกว่านั้นสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรยังมีหน้าที่ในการจัดการอบรม ให้แก่เกษตรกร หรือประชาชนโดยทั่ว ๆ ไป ตามเวลาและโอกาสอันควร

ส่วนคณะต่าง ๆ มีหน้าที่ในการผลิตบัณฑิต ตลอดจนดำเนินงานในฟาร์มที่เกี่ยว ข้องกับการผลิตบัณฑิต คณะแบ่งส่วนราชการออกเป็นภาควิชาต่าง ๆ ดังนี้

  1. คณะผลิตกรรมการเกษตร แบ่งออกเป็น 5 ภาควิชา คือ

1.1 ภาควิชาเกษตรกลวิธาน 

1.2 ภาควิชาดินและปุ๋ย 

1.3 ภาควิชาตกแต่งบริเวณและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 

1.4 ภาควิชาเทคโนโลยีทางพืช 

1.5 ภาควิชาเทคโนโลยีทางสัตว์

  1. คณะธุรกิจการเกษตร แบ่งออกเป็น 3 ภาควิชา คือ

2.1 ภาควิชาบริหารธุรกิจและการตลาดการเกษตร

2.2 ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและสหกรณ์การเกษตร

2.3 ภาควิชาศึกษาทั่วไป

สาขาวิชาที่เปิดสอน

เนื่องจากสถาบันแห่งนี้รับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี เป็นปีแรก จึงไม่สามารถที่จะรับนักศึกษาเป็นจำนวนมากได้ และได้เปิดเฉพาะสาขาวิชาที่ เห็นว่าเหมาะสมกับท้องถิ่น และสามารถให้การศึกษาได้เป็นอย่างดี คณะผลิต กรรมการเกษตรจึงเปิดสอน 3 สาขาวิชาเท่านั้น คือ

1) สาขาพืชไร่ (ยาสูบ)

2) สาขาพืชสวนประดับ (กล้วยไม้)

3) สาขาสัตว์ปีก

ในอนาคต ทางสถาบันฯ มีโครงการที่จะเปิดสอนสาขาวิชาอื่น ๆ เพิ่มขึ้นอีกเช่น พืชผัก โคเนื้อ โคนม เกษตรกลวิธานและอุตสาหกรรมเกษตร เป็นต้น จำนวนนัก ศึกษาที่จะรับเข้าศึกษาก็มีเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน

ส่วนคณะธุรกิจการเกษตร เริ่มเปิดสอนในปี 2519 สอนสาขาวิชาบริหาร ธุรกิจและการตลาดการเกษตร และมีโครงการที่จะเปิดสอนสาขาสหกรณ์ และ สาขาพัฒนาชุมชนชนบทในปีต่อไป

ในรอบปีที่ผ่านมา สถาบัน ฯ ได้จัดดำเนินงานด้านการศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และเป็นบริการแก่สังคม ตลอดจนจัดการฝึกอบรมให้ ความร่วมมือกับส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของคณะต่าง ๆ โดย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณแผ่นดินในปีงบประมาณ 2520 ประมาณ 14 ล้าน บาท รวมกับเงินรายได้ของสถาบันฯ อีกประมาณ 1 ล้าน 6 แสนบาท นอกจากนี้ สถาบัน ฯ ยังได้รับเงินสนับสนุนการฝึกอบรม การวิจัย และการจัดนิทรรศการ ทางการเกษตรจากบริษัทและห้างหุ้นส่วนมีมูลค่าประมาณ 1 หมื่น 3 พันบาท

ปัจจุบันสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร มีคณาจารย์ ข้าราชการและลูกจ้างรวม 212 คน โดยแยกเป็น

อาจารย์ประจํา   67 คน

ข้าราชการ 46 คน

ลูกจ้างประจํา 99 คน

มีอาจารย์ที่กำลังศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศโดยได้รับทุนจากองค์การของรัฐบาล และหน่วยงานของต่างประเทศ จำนวน 4คน ศึกษาต่อภายในประเทศ 2 คน

ในปีการศึกษา 2520 สถาบันฯ มีนักศึกษาทั้งสิ้น 184 คน ผู้สำเร็จการศึกษาใน ปีการศึกษา 2519 ซึ่งเป็นรุ่นแรกที่จะขอรับพระราชทานปริญญาบัตรในวันนี้76 คน

ในด้านการสอน สถาบันฯได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรและเพิ่มสาขาวิชา พืชผักในปี 2521 และสาขาโคนมในปี 2522 ขึ้นในคณะผลิตกรรมการเกษตร

ในด้านการวิจัย ทำการวิจัยร่วมกับคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียง ใหม่ เรื่องอาหารสุกร ทำการทดลองเลี้ยงนกกระทาเพื่อศึกษาข้อมูลต่าง ๆ

ในด้านงานส่งเสริม ได้ทำการส่งเสริมการเกษตรให้กับชาวเขาในพระบรม ราชานุเคราะห์ในท้องที่อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอเชียงแสน อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เป็นประจำเดือนละ 1 ครั้ง จัดรายการ เผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 จังหวัดลำปาง จัดทำ เอกสารคำแนะนำเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จัดทำวารสารแม่โจ้ – เพื่อเผยแพร่ความรู้และเทคโนโลยีการเกษตรแผนใหม่ สาธิตและส่งเสริมให้ เกษตรกรได้รู้จักการผลิตแก๊สจากมูลสัตว์ ได้ริเริ่มจัดตั้งกลุ่ม Credit Union ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่

งานฝึกอบรม และ นิทรรศการ

  1. จัดฝึกอบรมการทําเชื้อและการเพาะเห็ด
  2. จัดฝึกอบรมร่วมกับสํานักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท เรื่องการปลูกพืชตระกูลถั่ว
  3. จัดนิทรรศการทางการเกษตรในงานรื่นเริงฤดูหนาว จังหวัดเชียงใหม่
  4. จัดฝึกอบรมร่วมกับสหกรณ์การปศุสัตว์เชียงใหม่ จํากัด และศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติเรื่องการเลี้ยงสุกรในระบบสหกรณ์
  5. จัดฝึกอบรมเรื่องการเลี้ยงโคเนื้อแผนใหม่ในภาคเหนือ
  6. จัดฝึกอบรมร่วมกับสํานักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทเรื่องการเลี้ยงและดูแลสัตว์
  7. จัดฝึกอบรมร่วมกับมูลนิธิเอเซีย เรื่องการพัฒนาผู้นําแม่บ้าน
  8. จัดฝึกอบรมเรื่องการเลี้ยงไก่ร่วมกับสํานักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท ที่จังหวัดแม่ ฮ่องสอน
  9. จัดการฝึกอบรมการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตวให้กับนายทหารของกองทัพภาคที่ 3
  10. จัดฝึกอบรมร่วมกับ โครงการสนับสนุนการผลิตเครื่องจักรกลเกษตร สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ เรื่องการใช้เครื่องมือทุ่นแรงขนาดเล็กเพื่อการเกษตร

ในส่วนของคณาจารย์ในสถาบัน ๆ นอกจากมีภาระผูกพันทางด้านการสอนการ วิจัย และการฝึกอบรมแล้ว ยังได้สร้างความสัมพันธ์อันดีกับสถาบันอื่น และสื่อมวล ชน เพื่อก่อให้เกิดความสามัคคี และความเข้าใจอันดีต่อกัน

ในส่วนที่เกี่ยวกับนักศึกษา ได้ฝึกให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในความ เป็นเอกลักษณ์ของไทย สนับสนุนให้ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่มี พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ให้ทราบถึงการปฏิบัติตนระหว่างอาจารย์และศิษย์โดย อาศัยหลักแห่งเหตุและผล สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคณาจารย์ และนักศึกษา ซึ่งก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยโดยทั่วไปในสถาบัน ๆ นอกจากนี้ยังส่งเสริมกิจ กรรมนอกหลักสูตรของนักศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการกีฬาและด้านศิลปวัฒนธรรม

บัดนี้ ได้เวลาอันเป็นมหามงคลฤกษ์ ท่ามกลางสันนิบาตแห่งคณาจารย์ บัณฑิต รวมทั้งผู้มีเกียรติทั้งหลาย ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส – กราบบังคมทูลอัญเชิญฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าโปรด กระหม่อม พระราชทานปริญญาบัตรและเหรียญรางวัลเรียนดี แก่ผู้สําเร็จการ ศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร แม่โจ้ เชียงใหม่ ดังที่ข้าพระพุทธเจ้า และคณบดี แต่ละคณะจะได้กราบบังคมทูลต่อไปตามลําดับ กับใคร่ขอรับพระราช ทานพระบรมราโชวาทเพื่อเป็นสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล แก่ผู้สําเร็จการศึกษาทั้ง หลายสืบไป ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ


คณะผลิตกรรมการเกษตร

ประจําภาคที่ 2 ปีการศึกษา 2519 สภาสถาบันอนุมัติให้สําเร็จตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2520

ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1

นายเสถียร บุญฤทธิ์

ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต

นายฉัตรชัย กาญจนธาร

นายชาติชาย ชัยเลิศ

นายทนงศักดิ์ มณีวรรณ

นายทวีศักดิ์ คุ้มเดช

นายดํารงค์ กันยานนท์

นายนาเคนทร์ ดุสิตากร

นายนิวัฒน์ ทองกอบเพชร

นายบรรชา สุมนาพันธุ์

นายบุญสร้าง พี่พานิช

นายประชัน บุญยืน

นายปรีชา วิชาเรือง        

นายพนม อัตตนาถ

นายวรพงษ หอมแก่นจันทร์

นายวันชัย พรหมโชติ

นายวิศิษฏชัย นุใหม่

นายวีระชาติ บรรจง

นายวีระศักดิ์ วาระเลิศ

นายราเชนทร์ ไชยวงศ์

นายสมนึก ศรีปลั่ง

นายสมาน บุญสม

นายสราวุธ นักสอน

นายสว่าง สอนง่าย

นายสัมพันธ์ สุขุมินท

นายโสภณ ธุระเสน

นายอนันต์ ปินตารักษ์

นายอาจหาญ คงเจริญ

นายอํานวย อ่อนละมูล

 

สาขาพืชสวนประดับ

ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 2

นายสมพร สุขแก้ว

นายโสภณ มงคลวัจน์

 

ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต

นายกษิณ ทวีกาญจน์

นายเชาว อบแย้ม

นายดําเกิง ป้องพาล

นายทินกร หาญกล้า

นายธงชัย มะลิสุวรรณ

นายนภดล ชัยกิจ

นายบรรเจิด อัคนิจ

นายปรีชา สว่างสุข

นางสาวผ่องพรรณ ชัยเขต

นายพิษณุ รองเงิน

นายพินิจ มั่งมี

นายยุทธภูมิ สุขพินิจ

นายสมหมาย ขันคลาย

นายสมอาจ ธรรมลังกา

นายสัมพันธ์ ใจดี

นายสิทธิพร ฉายวัฒนา

นายสุริยันต์ อนุวรรณ

 

สาขาสัตว์ปีก

ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1

นายจําเนียร ยศราช

 

ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต

นายกฤษณะ ทองทิพย์

นายเชษฐ สินธุประภา

นายเทียมประดิษฐ์ ศรีประมวล

นายนิกร เมทธนัง

นายประดิษฐ์ นายอง

นายประสิทธิ์ พรินทร์

นายปัญญา แซ่ย่าง

นายพน พันธ์วร

นายวิชิต ชีระพุทธ

นายวีระศักดิ์ เกิดแสง

นายศิลป์ชัย เชาวณาพรรณ์

นายสาคร สุรยกิจ

นายสุชาติ อ้ายเจริญ

นายสุทธิพงศ์ ชมชื่น

นายสุรพล อินตาพรหม

นายสุรศักดิ์ จํารูญศิริ

นายสุรัตน นิจนันท์

นายสุริยันต์ เต้าชัยภูมิ

นายไสว คงคารักษ

นายอดุลย์ สายหยุด

นายอธิคม ตันกานนท์

นายอนันต์ ปัญญาวีร์

นายอภิชาติ มั่นศิลป์

 

ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต

ประจําภาคที่ 1 ปีการศึกษา 2520 สภาสถาบันอนุมัติให้สําเร็จตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2520

สาขาพืชไร่

ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต

นายไชยวัฒน วัฒนไชย

 

สาขาพืชสวนประดับ

ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต

นายกิตติ มลาลินน

 

สาขาสัตว์ปีก

ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต

นางสาวปริศนา เดชะรัฐ

นายสมคิด บุญรอด

นายอังคาร ทั่วประโคน

รวม 76 คน เป็นชาย 74 คน เป็นหญิง 2 คน

รายนามบัณฑิตที่ได้รับรางวัลเรียนดี

ประจําปีการศึกษา 2519-2520

 

สาขาพืชไร่

เหรียญทอง ได้แก่

นายเสถียร บุญฤทธิ์

 

สาขาพืชสวนประดับ

เหรียญทอง ได้แก่

นายสมพร สุขแกว

 

สาขาสัตว์ปีก

เหรียญทอง ได้แก่

นายจําเนียร ยศราช

รายนามนักศึกษาที่ได้รับรางวัลเรียนดี

ประจําปีการศึกษา 2519

 

สาขาพืชไร่

เหรียญทองแดง ได้แก่

นายปรีชา ปรียาวงศากุล

นายเม่งนัก โทสินธิติ

 

สาขาพืชสวนประดับ

เหรียญทองแดง ได้แก่

นายทวีศักดิ์ สัตยานุการ

 

สาขาบริหารธุรกิจ

เหรียญทองแดง ได้แก่

นายวิน นิยมกูล

ทุนการศึกษาที่ได้มอบให้นักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร ประจําปีการศึกษา 2519-2520

เงินงบประมาณแผ่นดิน

  1. ทุนคณะผลิตกรรมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร ได้รับงบประมาณแผ่นดิน ประจําปี 2520 จํานวน 50,000 บาท จัดสรรเป็นทุนอุดหนุนการศึกษาแก่นักศึกษาที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ จํานวน 20 ทุน ทุนละ 2,500 บาท
  2. ทุนคณะธุรกิจการเกษตร คณะธุรกิจการเกษตร ได้รับงบประมาณ แผ่นดิน ประจําปี 2520 จํานวน 30,000 บาท จัดสรรเป็นทุนอุดหนุนการศึกษา แก่นักศึกษาที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ จํานวน 12 ทุน ทุนละ 2,500 บาท

ทุนการศึกษาขององค์การบริษัทและผู้มีจิตศรัทธาบริจาค

  1. ทุนหอการค้าอเมริกัน จํานวน 9,000 บาท เป็นทุนอุดหนุนการศึกษา แก่นักศึกษาที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ จํานวน 3 ทุน ทุนละ 3,000 บาท
  2. ทุนพระช่วงเกษตรศิลปการ จํานวน 4,000 บาท เป็นทุนอุดหนุน การศึกษาแก่นักศึกษาที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ จํานวน 2 ทุน ทุนละ 2,000 บาท
  3. ทุนพัลลภ หมอสมบูรณ์ จํานวน 2,000 บาท เป็นทุนอุดหนุนการศึกษา แก่นักศึกษาที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ จํานวน 1 ทุน
  4. ทุนการศึกษางานฤดูหนาวจังหวัดเชียงใหม่ จํานวน 4,500 บาทเป็น ทุนอุดหนุนการศึกษาแก่นักศึกษาที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ 3 ทุน ทุนละ 1,500 บาท

คําปฏิญาณของผู้ได้รับพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 1 ประจําปีการศึกษา 2519 2520

ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม

ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส นบัณฑิตซึ่ง สําเร็จการศึกษาได้รับพระราชทานปริญญาบัตรในวันนี้กล่าวคําปฏิญาณ

“ข้าพระพุทธเจ้าขอปฏิญาณว่า จะประกอบอาชีพโดยใช้ศิลปวิทยาการ ที่ได้รับประสิทธิประสาทจากสถาบัน ฯ นี้ โดยยึดมั่นในความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้ความเคารพสักการะแด่ ครู อาจารย์ จะใช้ศิลป วิทยาการแต่ในทางที่เป็นคุณประโยชน์ ไม่เกลือกกล้วในโทษ อกุศลกรรมชั่วร้าย จะแผ่ขยายเกียรติคุณ และวิชาชีพให้ไพศาล จะสมานสามัคคีพลีประโยชน์ตนเพื่อ ส่วนรวม จะยึดมั่นและปฏิบัติตามคําปฏิญาณนี้ตราบชั่วชีวิต”

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ