การเรียนการสอน

  • ฝ่ายจดหมายเหตุฯ กับการเรียนการสอนฐานเรียนรู้ในรายวิชาเกษตรเพื่อชีวิต

    ฝ่ายจดหมายเหตุฯ กับการเรียนการสอนฐานเรียนรู้ในรายวิชาเกษตรเพื่อชีวิต

    ฝ่ายจดหมายเหตุและคอลเล็กชั่นพิเศษ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับเกียรติให้เป็นส่วนหนึ่งของฐานเรียนรู้ในรายวิชาเกษตรเพื่อชีวิต (ผษ 101) สำหรับนักศึกษาปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โดยมีเป้าหมายเผยแพร่ความรู้ด้านจดหมายเหตุเพื่อสร้างความเข้าใจประวัติศาสตร์การเกษตรและประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้  การมีส่วนร่วมของฝ่ายจดหมายเหตุฯ ไม่เพียงส่งเสริมความรู้ด้านประวัติศาสตร์และการเกษตร แต่ยังปลูกฝังจิตสำนึกในการตระหนักถึงความสำคัญของรากเหง้าทางการเกษตรของมหาวิทยาลัย นักศึกษาจะได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของการจัดการข้อมูลประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบ สร้างความเข้าใจในการใช้ฐานข้อมูลงานจดหมายเหตุ โดยนำเสนอเนื้อหาที่หลากหลายและน่าสนใจ ที่ถ่ายทอดโดยบุคลากรฝ่ายจดหมายเหตุฯ ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของงานจดหมายเหตุ นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมกับฝ่ายจดหมายเหตุฯ ไม่เพียงแค่กระตุ้นความสนใจของนักศึกษา แต่ยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สัมผัสกับแหล่งความรู้ที่ไม่มีวันหมดสิ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาและการพัฒนาตนเองในอนาคตเพื่อที่จะสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และถือเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างไม่สิ้นสุด หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเรียนการสอนหรือกิจกรรมที่จะจัดขึ้นตลอดภาคการศึกษา สามารถสอบถามได้ที่ฝ่ายจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชั้น […]

  • การศึกษากสิกรรม

    การศึกษากสิกรรม

    ธรรมเนียมโบราณ การศึกษาเป็นงานเฉพาะตัว ไม่จำเป็นต้องเรียนทั่วหน้า วิชาที่เรียนก็คือเลขและหนังสือ ซึ่งในภาษาอังกฤษ เรียกว่า The 3 Rs. ธรรมเนียมเป็นเช่นนี้เหมือนกันทั้งตะวันออกและตะวันตก ต่อมาได้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นในเมื่อไม่กี่ศตวรรษที่แล้วมานี้เอง ว่าชาติหรือประเทศจะเจริญก็เพราะคนทั้งชาติเจริญ โดยได้รับการศึกษาทั่วหน้า จึงเกิดวางแผน “ศึกษาชาติ” กันขึ้น ในแผนศึกษาชาตินี้เอง ต้องวางชั้นการศึกษาเป็น ประถม, มัธยม, อุดม, เพื่อให้ชนทุกชั้นเลือกได้ตามภูมิปัญญา กับให้มีทั้งสามัญและวิสามัญศึกษา เพื่อทุกคนได้มีความรู้ทางอาชีพพอควรแก่อัตภาพ วิสามัญศึกษานี้ กล่าวโดยประเภท เป็น กสิกรรม, อุตสาหกรรม และพาณิชการ […]