โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม

  • ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้

    ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้

    ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้นำพระพิรุณทรงนาคเป็นตราสัญลักษณ์มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม และได้ถูกเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องและเหมาะสมกับยุคสมัย จวบจนปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้มีการปรับเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ดังกล่าวประมาณ 10 แบบ เป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวกับการเกษตร ตราสัญลักษณ์แรก ตราสัญลักษณ์ของโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ เมื่อปี พ.ศ. 2477 ได้นำพระพิรุณทรงนาค ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวกับการเกษตรมาเป็นตราสัญลักษณ์ขึ้นในปีเปิดการศึกษาแรก พ.ศ. 2477 ตราสัญลักษณ์ ครั้งที่ 2 โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ภาคเหนือมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพอีกหลายครั้ง จนเป็นวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้ย้ายจากแม่โจ้ไปตั้งที่บางเขน แม่โจ้ได้ถูกจัดตั้งเป็น “โรงเรียนเตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” ตราสัญลักษณ์ของแม่โจ้ จึงมีการเปลี่ยนแปลง เป็นแบบที่ 2 […]

  • อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปการ “บิดาเกษตรแม่โจ้”

    อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปการ “บิดาเกษตรแม่โจ้”

    อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปะการ(ช่วง โลจายะ) ขอเทิคพระคุณและบูชาบูรพาจารย์ อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปะการ(ช่วงโลจายะ) “บิดาเกษตรแม่โจ้” ผู้บุกเบิกงานหนักเพื่อสร้างแม่โจ้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรของประเทศไทย เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๔๒  ปีกุน รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๘ ณ บ้านแข่ ตำบลพระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรคนเล็กในจำนวนพี่น้องสองคนของร้อยเอก หลวงศรีแผ้ว ร.น. (ขาว โลจายะ)กับนางทองหยด โลจายะ   การศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนวัดทรงธรรม อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการและระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมัธยมวัดสุทัศน์ […]

  • ประวัติโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ

    ประวัติโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ

    ประวัติโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม: จากบันทึก พระช่วงเกษตรศิลปการ โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมที่สามที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น เพราะแต่เดิมนั้น มีโรงเรียนฝึกหัดครูอยู่แล้วที่โนนวัด โรงเรียนฝึกหัดครูที่สองจัดตั้งขึ้นที่คอหงษ์หาดใหญ่ ทั้งสองโรงเรียนนั้นได้ร่วมงานไปกับสถานีทดลองกสิกรรมของกรมเกษตร โรงเรียนนี้ได้จัดตั้งขึ้้นเมื่อต้น พ.ศ.2477 ข้าพเจ้าจำได้อย่างแม่นยำว่า เมื่อกลางเดือน เมษายน พ.ศ.2477 กระทรวงธรรมการได้ให้ข้าพเจ้ายืมเงิน 3000 บาท มาจัดการก่อสร้างโรงเรียนชั่วคราวขึ้น และเริ่มประกาศรับนักเรียน แต่เดือน พฤษภาคม มีนักเรียนเดินทางมาเล่าเรียนอยู่เรื่อยๆ เป็นนักเรียนในบำรุง 35 คน นอกบำรุง 11 คน อุปสรรคแรกที่ต้องวิตกมากก็คือน้ำใช้ แม้ว่าได้จัดตอกบ่อลึกถึง […]