Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

Author page: sittichai-w

จุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

นายจุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร นายจุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา สําเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเครื่องกล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา และจาก วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 21 เข้ารับราชการในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2494 เคย ดํารงตําแหน่งนายช่างพิเศษ กรมชลประทาน ผู้ตรวจการชั้น 1 รองปลัดกระทรวง และปัจจุบันดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิก วุฒิสภา อนุกรรมการ ก.พ. เกี่ยวกับตําแหน่ง กรรมการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ กรรมการองค์การสวนยาง ประธานกรรมการกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร และกรรม การบริษัทไม้อัดไทย จํากัด นายจุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยาเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างระบบ ชลประทานทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เพื่อส่งน้ําให้เกษตรกรใช้ในการเกษตรทั่ว ประเทศ เป็นการช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ได้มีส่วนร่วม…

Read More

แก้วขวัญ วัชโรทัย

นายแก้วขวัญ วัชโรทัย ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ นายแก้วขวัญ วัชโรทัย สําเร็จการศึกษาด้านการจัดการชั้นสูง จาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2515 และได้ดํารงตําแหน่งเลขาธิการพระราชวังข้าราชการพลเรือนในพระองค์ มีหน้าที่พิเศษหลาย ด้าน อาทิ เป็นประธานกรรมการอํานวยการพระคลังข้างที่ ประธานกรรมการวัด พระศรีรัตนศาสดาราม กรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ผู้อํานวยการส่วนพระองค์เกี่ยว กับการเกษตรสวนจิตรลดา บังคับบัญชากองบํารุงรักษาพระราชฐานทุกแห่ง และเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของสหกรณ์หนองโพจังหวัดราชบุรี นายแก้วขวัญ วัชโรทัย เป็นผู้ที่มีผลงานดีเด่นทางด้านวิชาการและอาชีพ ซึ่งแสดงถึงความสําเร็จอันเป็นแบบอย่างที่ดี ได้แก่ การออกแบบสวนจิตรลดาถวาย ใช้เป็นต้นแบบออกแบบสวนในการปรับปรุงบริเวณพิพิธภัณฑ์พระที่นั่งวิมานเมฆ ออก แบบสวนในพระราชฐานต่างจังหวัดหลายแห่ง ได้ประยุกต์ใช้วิชาที่ศึกษามาปฏิบัติ การถวายตั้งแต่เริ่มรับราชการจนถึงปัจจุบัน สนองพระมหากรุณาธิคุณโดยตั้งแต่เป็นผู้ กํากับราชการส่วนสวน เป็นผู้จัดการโรงโคนมและโรงงานต่าง ๆ จนเป็นผู้อํานวย การโครงการฯ สวนจิตรลดา ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้รับผิดชอบโครง การเกี่ยวกับการเกษตร ตั้งแต่ยังเป็นโครงการเล็ก ๆ ถึงปัจจุบัน โครงการนี้เป็น…

Read More

ชวลิต ลัทธิ์ถีระสุวรรณ

นายชวลิต ลัทธิถีระสุวรรณ ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจการเกษตร นายชวลิต ลัทธิ์ถีระสุวรรณ สําเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพเกษตร กรรม และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงเกษตรกรรม สาขาสัตวบาล จากวิทยาลัยเกษตร กรรมแม่โจ้ เมื่อปี พ.ศ. 2510 เริ่มทํางานครั้งแรกโดยการประกอบธุรกิจส่วนตัวที่จังหวัด บุรีรัมย์, ระหว่าง พ.ศ. 2512 ถึง พ.ศ. 2515 เป็นลูกจ้างชั่วคราว กรมประมง ต่อมา ได้ลาออกมาประกอบอาชีพส่วนตัว ปัจจุบันเป็นผู้จัดการฟาร์ม "ท่าพระฟาร์ม” จังหวัดขอน แก่น นายชวลิต ลัทธิ์ถีระสุวรรณ เป็นผู้ดําเนินธุรกิจการเกษตร มีความรู้ความสามารถและมีความคิดริเริ่มในการประกอบอาชีพธุรกิจการเกษตร โดยการคิดค้นวิธีการผสม เทียมปลาดุกขึ้น และนํามาใช้ในเชิงธุรกิจได้ดี ริเริ่มระบบการทําฟาร์มแบบผสมผสานครบ วงจร ประกอบด้วย ปลา ไก่ โค และไม้ผลยืนต้น ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรับ ปรุงวิถีการตลาด การค้าไก่กระทงอย่างเฉลียวฉลาดรอบคอบ สามารถต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคจน ประสบผลสําเร็จในชีวิต…

Read More

ทองหล่อ รักไพบูลย์สมบัติ

นายทองหล่อ รักไพบูลย์สมบัติ ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ นายทองหล่อ รักไพบูลย์สมบัติ สําเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 จากโรง เรียนเทศบาลวัดกําแพงขาว จังหวัดลพบุรี และได้เป็นประธานนักธุรกิจรุ่นที่ 17 ของกอง อํานวยการรักษาความมั่นคงภายใน ปัจจุบันมีอาชีพค้าขาย เป็นเจ้าของ และผู้อํานวยการ ห้างหุ้นส่วนจํากัด ทองหล่อ ออคิดส์ ค้าขายกล้วยไม้ นายทองหล่อ รักไพบูลย์สมบัติ ได้ประสบความสําเร็จเป็นอย่างดีในการประ กอบธุรกิจ โดยการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ จนสามารถส่งกล้วยไม้เป็นสินค้าออกไปจําหน่ายต่าง ประเทศ ซึ่งนับว่าเป็นผลงานอาชีพที่แสดงถึงความสําเร็จอันเป็นแบบอย่างที่ดี จึงได้รับประ กาศนียบัตรเกียรติคุณจากสมาคมวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้อุทิศตน ให้กับการส่งเสริมการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เป็นสินค้าส่งออกไปจําหน่ายต่างประเทศ ด้วยความรู้ความชํานาญทางด้านพฤกษชาติ จึงได้รับเกียรติให้เป็นนายกสมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 จนถึงปัจจุบัน และเป็นประธานกรรมการอํานวยการจัดงานวันกล้วยไม้แห่งชาติ ปี พ.ศ. 2530 ได้ร่วม กับสมาคมพฤกษศาสตร์จัดให้มีการอบรมหลักสูตรความมั่นคงของชาติ ให้กับสมาชิกของสมา คมและประชาชนทั่วไป และหลักสูตรเทคนิคการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้และการตลาดแก่ชาวไทย และชาวต่างประเทศหลายรุ่น…

Read More

สว่าง เลาหทัย

นายสว่าง เลาหทัย ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจการเกษตร นายสว่าง เลาหทัย สําเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ และปริญญาตรีด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัย ซึบายูระ โตเกียว ได้ดํารงตําแหน่ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เจ้าพระยาพืชไร่ จํากัด และยังดํารงตําแหน่งกรรมการ องค์การด้านการสังคมสงเคราะห์ อาทิ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย และกรรมการ บริษัทต่าง ๆ ที่ทําธุรกิจเกี่ยวข้องกับการผลิตและผลผลิตทางการเกษตรอีกหลายแห่ง นายสว่าง เลาหทัย เป็นผู้คิดและพัฒนาสูตรปุ๋ยข้าวจากสูตรมาตรฐาน 16-20-0 และ 16-16-18 เพิ่มขึ้นอีก 2 สูตร ได้แก่ 16-8-8 และ 18-12-6 เป็นผล ให้ได้ปุ๋ยที่มีราคาถูกลง ผลผลิตเพิ่มขึ้นและคุณภาพดีขึ้น เป็นผู้บุกเบิกพัฒนาการผลิตมันอัดเม็ดแข็ง ทําให้ลดการสูญเสียระหว่างการขนส่งและสร้างความเชื่อถือในคุณภาพมันอัดเม็ด จากประเทศไทยให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นผู้สนับสนุนทุนให้มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ทําการวิจัยการใช้ปุ๋ยกับมันสําปะหลังและการวิเคราะห์ดินทั่วประเทศ ผลงานที่แสดงถึงความสําเร็จอันเป็นแบบอย่างที่ดีในการแก้ปัญหาผลผลิตการเกษตรล้นตลาดคือ เป็นผู้ดําเนินการด้านการค้าต่างประเทศ จนบรรลุข้อตกลงในการทํา สัญญาการค้าแลกเปลี่ยนกับประเทศต่าง ๆ…

Read More

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี พ.ศ. 2560

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี พ.ศ. 2560 ระดับดี สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา เรื่อง “เจ้าก่ำหอมแม่โจ้ 1 เอ : ข้าวหอมเพื่อสุขภาพ” หน่วยงานเจ้าของรางวัล : สภาวิจัยแห่งชาติ สายพันธุ์ข้าว เจ้าก่ำหอมแม่โจ้ 1 เอ เป็นข้าวสายพันธุ์ใหม่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วงที่ใช้บริโภคในแบบ ข้าวกล้อง โดยสายพันธุ์ข้าว เจ้าก่ำหอมแม่โจ้ 1 เอ เกิดจากการปรับปรุงพันธุ์ให้ได้ข้าวเจ้าสีดำที่มีกลิ่นหอม ซึ่งเป็นกลิ่นหอมของใบเตย (2AP) ที่ได้ยีนหอมมาจากข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 กับกลิ่นหอมของข้าวสีดำซึ่งได้มาจากเจ้าหอมนิล เป็นข้าว ต้นเตี้ยต้านทานต่อการหักล้ม ไม่ไวต่อช่วงแสงทำให้ปลูกได้ตลอดทั้งปี ใช้วิธีปรับปรุงพันธุ์แบบมาตรฐาน คือ พันธุ์ประวัติร่วมกับการใช้เครื่องหมายโมเลกุลที่เป็นส่วนหนึ่งของยีนควบคุมความหอม BADH2/badh2 ช่วยในการคัดเลือก การปรับปรุงพันธุ์ใช้เวลาทั้งหมด 17 ฤดู เริ่มจากในฤดูนาปี 2551 ผลิตเมล็ด F1 โดยทำการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ปทุมธานี 1 ที่เป็นข้าวเจ้า สีขาว มีกลิ่นหอม…

Read More

Maejo Hall of Fame ฐานข้อมูลรางวัลเกียรติยศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

Office

ฝ่ายจดหมายเหตุและคอลเล็กชั่นพิเศษ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชั้น 3 เลขที่ 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร
อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 5029

Maejo University Archives © 2025. All Rights Reserved.

Go to Top