Skip to content Skip to footer

Professor Dr. Yoshiaki Matsumae

ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารการพัฒนา

Professor Dr. Yoshiaki Matsumae สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโตไก (Tokai University) โดยได้ สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีและปริญญาเอกในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ในปี คริสตศักราช 19 7 8 และ 1995 ตามลำดับ ท่านทำงานเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยคิวชูโตไก รวมทั้งยังเป็นประธานคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา และอาจารย์ผู้สอนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยดังกล่าว นอกจากนี้ท่านยังมีงานพิเศษเป็นวิศวกร ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Semiconductor Electric ได้แก่วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและวิศวกรรมดาวเทียม และท่านยัง เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบกำลังไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในรถยนต์

ท่านเป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านวิชาการ ได้ทำงานวิจัยและนำเสนอผลงานวิชาการในที่ประชุมวิชาการนานาชาติ อาทิ ในปีคริสตศักราช 1994 เรื่อง “Space Charge Limited Current in Semiconducting Diamond Films” ซึ่งได้ ตีพิมพ์ในวารสาร “Japan Journal Applied Physics (JJAP)” นอกจากนี้ท่านยังได้นำเสนอผลงานในที่ประชุม วิชาการนานาชาติต่าง ๆ เช่น “The Third International Symposium on Diamond Materials the Electro Chemical Society(ECS)” ซึ่งจัดขึ้นในปีคริสตศักราช 1993 และที่ประชุม “International Geoscience and Remote Sensing Symposium (IGARSS’89)”

ท่านเป็นผู้มีผลงานซึ่งแสดงถึงความสำเร็จอันเป็นแบบอย่างอันดี โดยเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในวิชาชีพของ การเป็นนักบริหาร ในฐานะอธิการบดี และผู้อำนวยการบริหารของศูนย์วิจัย Research and Information Center ของมหาวิทยาลัยคิวชู โตไก ท่านเป็นสมาชิกสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ ของญี่ปุ่น เช่น Japan Society of Applied Physics และ The Remote Sensing Society of Japan ผลงานต่าง ๆ ของท่านได้เผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณชน อย่างกว้างขวาง มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับนานาชาติ นอกจากนี้ท่านยังมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็น นักวิจัยด้าน Remote Sensing ด้านพลังงานแสงอาทิตย์ และด้านพลังงานทดแทน

โดยที่ Professor Dr. Yoshiaki Matsumae เป็นนักวิชาการผู้มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ เป็นนักบริหารที่ ประสบความสำเร็จ และมีผลงานค้นคว้าวิจัยด้านพลังงานทดแทนอันเอื้อประโยชน์ต่อมนุษยชาติในอนาคต ท่านยังเป็น ผู้ทำคุณประโยชน์สำคัญแก่มหาวิทยาลัยแม่โจ้มาเป็นระยะเวลายาวนาน ทั้งในด้านความร่วมมือทางวิชาการ การแลก เปลี่ยนบุคลากร และยังส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ โดยการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม วิชาการนานาชาติ “ 14th Asian Agricultural Symposium” เรื่อง “The Environmental Management for Resource Conservation” ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปีพุทธศักราช 2547 เพื่อร่วมฉลองงานครบรอบ 70 ปีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงนับเป็นบุคคลที่มีเกียรติประวัติและคุณสมบัติเหมาะสม สมควรได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารการพัฒนา เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

หมายเหตุ: ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 28 วันพุธ ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2549

Go to Top