Skip to content Skip to footer

นางดรุณี สิมธาราแก้ว
ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการประมง

นางดรุณี สิมธาราแก้ว สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชา การบัญชี จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง เมื่อปีพุทธศักราช 2526 ดำเนินธุรกิจด้านการ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยเป็นเจ้าของฟาร์ม เอ็น.เอส. เนเจอรัลฟาร์มมิ่ง ทำฟาร์มเพาะเลี้ยง ปลาบึกในเชิงอุตสาหกรรม ในจังหวัดเชียงราย ดำเนินธุรกิจด้านการผลิตปลานิลแช่แข็ง ภายในประเทศและเพื่อการส่งออก โดยมีโรงงานผลิตที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย และเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท เอ็น. เอส. เว็ท ซัพพลาย จำกัด ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ดำเนินธุรกิจด้านการผลิตอาหารสัตว์และอุปกรณ์เครื่องมือ ด้านการเกษตร นางดรุณี สิมธาราแก้ว ยังนับเป็นเกษตรกรที่สามารถดำเนินการเพาะ เลี้ยงปลาบึกเชิงอุตสาหกรรมได้สำเร็จ เป็นผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจด้าน การเพาะเลี้ยงปลาบึกในบ่อดิน และผลิตปลานิลในกระชัง มีฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาบึกเพื่อ จำหน่าย และได้ดำเนินกิจการโดยร่วมมือกับคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากร ทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับปลาบึก และการเพาะเลี้ยง ปลาบึกในเชิงอุตสาหกรรมเป็นอย่างดียิ่ง

นางดรุณี สิมธาราแก้ว ได้ใช้ความรู้ความสามารถด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในการเป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงปลาบึกแก่นักศึกษา ในระดับปริญญาบัณฑิต และปริญญามหาบัณฑิต ของคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทั้งยังมีผลงานวิจัยด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำร่วมกับคณาจารย์ ได้แก่ การเพาะเลี้ยงปลาบึกในเชิงพาณิชย์ การประเมินคุณภาพของน้ำเพื่อการจัดการผลผลิต ปลาบึกที่เลี้ยงแบบหนาแน่น ผลของชนิดอาหารต่อการเจริญเติบโตของปลาบึก ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากปลานิลและปลาบึก เป็นต้น นางดรุณี สิมธาราแก้ว ยังได้เคย นำเสนอผลงานวิจัยดังกล่าวในงานประชุมวิชาการของคณะเทคโนโลยีทางการประมง และงานนิทรรศการด้านการประมง กรุงเทพมหานคร ในภาคโปสเตอร์ ซึ่งได้รับ ความสนใจจากผู้เข้าประชุมเป็นจำนวนมาก

โดยเหตุที่ นางดรุณี สิมธาราแก้ว เป็นผู้มีความสามารถและมีประสบการณ์ด้าน การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะด้านการจัดการอาหารสัตว์น้ำ และการเพาะเลี้ยง ปลาบึกเชิงอุตสาหกรรม เป็นผู้มีผลงานทางวิชาการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ เป็นผู้ประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมในงานวิชาชีพเกี่ยวกับการ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจนปรากฏเป็นที่ยอมรับ ได้อุทิศตนให้การสนับสนุนการเรียนรู้ต่าง ๆ ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแก่สถานศึกษา ทั้งยังเป็นผู้บำเพ็ญกรณียกิจด้วยความคิดริเริ่ม จนเกิดประโยชน์แก่สังคม นับเป็นบุคคลที่มีเกียรติประวัติและคุณสมบัติเหมาะสม สมควรได้รับปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการประมง เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

หมายเหตุ: ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 31 วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552

Go to Top