นายกิตติ ดําเนินชาญวนิชย์
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการชุมชน
นายกิตติ ดําเนินชาญวนิชย์ สําเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานจาก อําเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เริ่มต้นประกอบอาชีพจากการจําหน่าย สินค้าทั่วไป ต่อมาเริ่มกิจการค้าข้าว ประกอบกิจการโรงสี และพัฒนากิจการ ของตนเองสู่การค้าพืชไร่ส่งออกระดับโลก จนเจริญก้าวหน้าเรื่อยมาตามลําดับ ปัจจุบันเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสําเร็จ ดํารงตําแหน่งประธานผู้ก่อตั้ง กลุ่มเกษตรรุ่งเรืองพืชผล ประธานผู้ก่อตั้งและกรรมการบริษัท ดับเบิ้ล เอ (1991) จํากัด (มหาชน) และเป็นประธานผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท สวนกิตติ ซึ่งเป็น กิจการปลูกสร้างสวนไม้เศรษฐกิจที่เป็นเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจร และริเริ่ม อาชีพการปลูกไม้โตเร็ว (ต้นกระดาษ) ครบวงจร
ในด้านอาชีพ นายกิตติ ดําเนินชาญวนิชย์ มีผลงานที่แสดงถึงความสําเร็จ อย่างยอดเยี่ยม โดยได้เริ่มต้นพัฒนาระบบการปลูกสร้างสวนป่าในพื้นที่ของตนเอง และได้ขยายผลสู่การส่งเสริมให้เกษตรกรและชาวบ้านที่สนใจ ได้ปลูกเป็นพืช เศรษฐกิจ ในบริเวณหัวไร่ คันนา หน้าบ้าน ท้ายครัว และขอบรั้ว ตลอดจน ที่รกร้างต่าง ๆ อันเป็นการใช้ประโยชน์จากที่ดินที่ไม่เคยสร้างประโยชน์ ให้มีประโยชน์ ได้บุกเบิกกิจการโดยลงมือปฏิบัติให้เห็นจริง ด้วยการจัดตั้งโรงเรียน เผยแพร่ความรู้การปลูกต้นกระดาษ เพื่อให้เกษตรกร ชาวบ้าน และผู้สนใจ ได้เรียนรู้และปฏิบัติตาม ส่งผลให้มีการปลูกแพร่หลายในชุมชน ช่วยสร้าง เศรษฐกิจในครัวเรือนและระดับชุมชนทําให้เกษตรกรและชาวบ้านมีเงินออม จากการปลูกต้นกระดาษบนพื้นที่ว่างเปล่า ทั้งนี้การดําเนินกิจการดังกล่าว มุ่งเน้นในการสร้างบุคลากรและคณะทํางานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ของกิจการ เริ่มตั้งแต่การวิจัยปรับปรุงพันธุ์จนเป็นต้นกระดาษ การเตรียมพื้นที่ การปลูกบํารุงรักษา การเก็บเกี่ยวผลผลิต ระบบการขนส่ง และขยายผลสู่การ ส่งเสริมแก่เกษตรกร การประกันราคารับซื้อผลผลิต ทําให้ชาวบ้านและผู้ที่สนใจนําไปสร้างอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปลูกต้นกระดาษ นอกจากนี้ นายกิตติ ดําเนินชาญวนิชย์ ได้บุกเบิกการต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าการเกษตร เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต ที่ทําให้คนในชุมชนที่หลากหลาย สามารถเข้าถึงวงจรอาชีพนี้ได้ โดยการสร้างกิจการให้ครบวงจร ตั้งแต่การเพาะ กล้าไม้ การปลูก แปรรูป ไปจนเป็นกระดาษพิมพ์เขียน สิ่งพิมพ์ สร้างตราสินค้า กระดาษของคนไทย (กระดาษดับเบิ้ลเอ) ส่งออกไปยังต่างประเทศนําเงินตราเข้า ประเทศอย่างมหาศาล
นายกิตติ ดําเนินชาญวนิชย์ เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ในการทํางาน โดยเป็น ผู้ศึกษาเจาะลึกถึงแก่นแท้ของงานด้วยความสนใจ ตั้งใจศึกษาค้นคว้าวิจัย จนเข้าใจ จึงตัดสินใจเริ่มพัฒนาพันธุ์ไม้ สร้างสายพันธุ์ต้นกระดาษที่ให้ผลผลิตสูง เติบโตได้ดีและเหมาะสมตามที่เกษตรกรต้องการ รวมทั้งพัฒนาให้มีคุณภาพ ด้านอุตสาหกรรม โดยมีปริมาณเยื่อกระดาษสูงตามที่โรงงานต้องการการพัฒนา วิธีการจัดการแปลงปลูกให้รักษาปริมาณธาตุอาหารและความชื่นเก็บไว้ในดิน การส่งเสริมการปลูกต้นกระดาษที่หลากหลายรูปแบบ สอดคล้องเหมาะสมกับ ความต้องการในการปลูกบนที่ดินประเภทต่าง ๆ ของเกษตรกร พัฒนา อุตสาหกรรมที่ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ําจนถึงปลายน้ํา นําของเหลือที่ไม่ใช้ประโยชน์ จากภาคการเกษตรมาผลิตกระแสไฟฟ้า โดยการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล พัฒนา ที่ดินในชนบทที่ห่างไกลเป็นเขตอุตสาหกรรมที่มีสาธารณูปโภคที่สมบูรณ์ เชิญชวนนักลงทุนมาสร้างโรงงาน เกิดการจ้างงานสร้างอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ ให้กับชนบท ไม่ต้องทิ้งถิ่นฐานไปทํางานในเมืองหลวง ทําให้ชุมชนมีส่วนเกี่ยวข้อง ในกิจการ ช่วยสร้างรายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ ท่าน มีแนวคิดว่า การพัฒนาคน เป็นหัวใจสําคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จึงได้ก่อตั้ง “มูลนิธิดําเนินชาญวนิชย์” ขึ้นเพื่อส่งเสริม สนับสนุนด้านการศึกษาและ พัฒนาการวิจัย โดยมุ่งเน้นที่เยาวชน พัฒนาครอบครัวเกษตรกรในท้องถิ่น สนับสนุนการศึกษาและการวิจัยพัฒนาของสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างบุคลากร ในชุมชนให้มีคุณภาพและทําให้ทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาร่วมกัน นับว่า นายกิตติ ดําเนินชาญวนิชย์ เป็นผู้ที่พัฒนาอุตสาหกรรมการใช้ประโยชน์ จากไม้ โดยมีแนวคิดของการจัดการที่ทําให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมและได้ประโยชน์ร่วมกันเป็นการจัดการที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ชุมชนโดยรวมอย่าง มหาศาล เป็นการสร้างคน สร้างเศรษฐกิจ และสร้างสังคมอย่างแท้จริง
โดยที่ นายกิตติ ดําเนินชาญวนิชย์ เป็นผู้ที่มีผลงานทางวิชาการดีเด่น จนเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการและเป็นผู้ที่ประสบความสําเร็จอย่างยอดเยี่ยม ในงานวิชาชีพจนปรากฏเป็นที่ยอมรับ เป็นประโยชน์และแบบอย่างที่ดี แก่บุคคลทั่วไป อีกทั้งเป็นผู้บําเพ็ญกรณียกิจด้วยความริเริ่มจนเกิดประโยชน์ แก่สังคมและประเทศชาติ จึงนับเป็นบุคคลผู้มีเกียรติประวัติและคุณสมบัติ เหมาะสมอย่างยิ่ง สมควรได้รับพระราชทานปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาวิชา การจัดการชุมชน เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป
หมายเหตุ: ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 34 อาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555