นายอมร พงษ์เภตรารัตน์
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
นายอมร พงษ์เภตรารัตน์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเคมี เมื่อพุทธศักราช 2521 และระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เมื่อพุทธศักราช 2523 จาก Purdue University ประเทศสหรัฐอเมริกา
นายอมร พงษ์เภตรารัตน์ เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท ดาสโก้ จำกัด เมื่อพุทธศักราช 2532 และดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัท ดาสโก้ จำกัด ตั้งแต่พุทธศักราช 2532
ด้านผลงานอาชีพซึ่งแสดงถึงความสำเร็จอันเป็นแบบอย่างที่ดีนั้น นายอมร พงษ์เภตรารัตน์ ได้บริหารจัดการบริษัท คาสโก้ จำกัด ให้เป็นบริษัท ชั้นนำในการผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับเด็ก เช่น เบาะรองนั่งเด็กในรถยนต์ เป้อุ้มเด็กและรถเข็นเด็กเพื่อส่งออกให้แก่บริษัทชั้นนำระดับโลก โดยมีจุดเริ่มต้น เมื่อพุทธศักราช 2531 โดย นายอมร พงษ์เภตรารัตน์ ได้รับการติดต่อให้ผลิตเป้อุ้มเด็ก (Baby Carrier) ส่งจำหน่ายให้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกาในนามสินค้า “Evenflo” ด้วยเหตุนี้ จึงได้เช่าโกดังสินค้า เพื่อผลิตสินค้าดังกล่าวเป็นเวลา 3 ปี มีพนักงานในช่วงเริ่มต้นเพียง 30 คน จากนั้น จึงได้ขยายกิจการมาสร้างโรงงานใหม่ ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง และเป็นจุดเริ่มต้นของบริษัท คาสโก้ จำกัด ที่เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2533 จำนวนพนักงานเพิ่มขึ้นเป็น 150 คน โดยบริษัทได้ผลิตเป้อุ้มเด็ก (Baby Carrier) และอุปกรณ์ (Accessories) อื่นๆ ที่เกี่ยวกับสินค้าเด็กส่งออกไปยังตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกาและเริ่มผลิตเบาะ รองนั่งรถเข็น (Stroller Seat) ให้โรงงานผลิตรถเข็นเด็ก (Stroller) ซึ่งตั้งอยู่ใน นิคมอุตสาหกรรมเดียวกัน นอกจากนี้ ได้ผลิตรถเข็น (Stroller) ให้แก่ “Graco” ซึ่งเป็นบริษัทผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและเป็นผู้ผลิตเบาะรองนั่งรถเข็นเด็ก โดยส่งให้ลูกค้า “Graco” ในประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งได้ส่งออกเบาะหุ้ม เก้าอี้เด็ก (Safety Carseat Cover) ให้ผู้ผลิตเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก (Safety Carseat) ชั้นนำระดับโลก เช่น Maxi Cosi, Britax, Recaro ทั้งในประเทศ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียและในทวีปยุโรป กิจการของบริษัท ดาสโก้ จำกัด เจริญก้าวหน้าตามลำดับ จากการเริ่มต้นดำเนินธุรกิจที่มีพนักงานเพียง 30 คน จนถึงปัจจุบัน 1,000 คน จากยอดจำหน่ายจากปีละ 30 ล้านบาท เป็น 800 กว่าล้านบาท
นายอมร พงษ์เภตรารัตน์ได้บริหาร บริษัท ดาสโก้ จำกัด ให้เติบโต อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าบริษัทจะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ อันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจโลก แต่ด้วยความสามารถในการบริหารและแนวคิดที่กว้างไกล จึงมีแนวคิดในการวางแผนปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิตดังตัวอย่าง เมื่อพุทธศักราช 2545 บริษัทเริ่มส่งผู้บริหารทุกระดับเข้าอบรมโครงการ Six Sigma และได้เริ่มโครงการ Six Sigma 2002 ขึ้น โดยส่งเสริมให้พนักงาน ทุกฝ่ายสามารถวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบเพื่อการปรับปรุงพัฒนา กระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ หลังจากเริ่มโครงการดังกล่าว บริษัท ดาสโก้ จำกัด ได้เริ่มพัฒนาองค์กรและพัฒนาพนักงานระดับบังคับบัญชาให้มีความรู้ความสามารถด้านการจัดการ มีการตั้งแผนกพัฒนาทรัพยากรบุคคล หรือ Human Resource Development (HRD) และแผนกบริหารทรัพยากรบุคคล หรือ Human Resource Management (HRM) เพื่อการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ด้านการผลิต นอกจากนี้ บริษัท ดาสโก้ จำกัดยังพัฒนาความสามารถของบุคลากร โดยเข้าร่วมโครงการ ต่างๆ ที่รัฐบาลสนับสนุน และด้วยความร่วมมือของบุคลากรทุกระดับจึงทำให้ได้ รับรางวัลองค์กรดีเด่นมาโดยตลอด การเข้าร่วมโครงการต่างๆ นำไปสู่การเรียนรู้ และพัฒนาบุคลากรจากปรัชญา “เก่ง ดี มีคุณธรรมความสุขนำ” ทำให้องค์กรได้ รับการพัฒนาทั้งโครงสร้าง กระบวนการทำงานและสวัสดิการของพนักงาน ดังเช่นโครงการ “อดออม ลดหนี้” ที่ส่งเสริมความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีของ พนักงาน เพื่อการเป็น “องค์กรแห่งสุข”
นายอมร พงษ์เภตรารัตน์ บริหารจัดการองค์กรโดยเน้นการปรับตัว ค้นหาและพัฒนาองค์ประกอบอื่น ๆ เพื่อการแข่งขันในตลาด อาทิ ปรับปรุงพัฒนา องค์ในด้านการบริการ การส่งมอบ คุณภาพ และการสื่อสารเพื่อแข่งขันกับคู่ค้าใน ประเทศจีนซึ่งมีต้นทุนที่ต่ำกว่า จนบริษัท ดาสโก้ จำกัดสามารถยืนหยัดธุรกิจนี้ได้ สำเร็จ และเป็นที่ยอมรับของลูกค้า โดยมีวิสัยทัศน์ (Vision) และพันธกิจ (Mission) ขององค์กร ที่มุ่งพัฒนาด้านการตลาด การผลิตและพัฒนาบุคลากร ภายใต้ระบบ คุณภาพ ISO 9001 : 2009 , ISO : 16949 และมาตรฐาน Oeko-Tex 100 Class 1 นอกจากความสำเร็จด้านอาชีพอันเป็นแบบอย่างที่ดี ท่านยังเป็นผู้มีบทบาท ทำคุณประโยชน์แก่สาธารณชน โดยมอบทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ตั้งแต่พุทธศักราช 2548 เป็นต้นมา
โดยที่ นายอมร พงษ์เภตรารัตน์ เป็นผู้ประสบความสำเร็จอย่าง ยอดเยี่ยมในงานวิชาชีพจนปรากฏเป็นที่ยอมรับ เป็นประโยชน์และแบบอย่างที่ดี แก่คนทั่วไป เป็นผู้บำเพ็ญกรณียกิจด้วยความคิดริเริ่มจนเกิดประโยชน์แก่สังคม รวมทั้งเป็นผู้ทำคุณประโยชน์สำคัญให้แก่สถาบันเป็นอเนกประการ นับเป็นบุคคลที่มีเกียรติประวัติและมีคุณสมบัติเหมาะสมอย่างยิ่ง สมควรได้รับ พระราชทานปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป
หมายเหตุ: ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 37 วันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2558