Skip to content Skip to footer

รางวัลเหรียญทองแดง (Bronze Medal Poster Competition Sub-theme : Food Engineering) เรื่อง “การพัฒนากระบวนการผลิตเม็ดมุกจากเฉาก๊วย” (Process development of food beads from grass jelly)

ข้อมูลรางวัล

ชื่อรางวัล : รางวัลเหรียญทองแดง (Bronze Medal Poster Competition Sub-theme : Food Engineering)

องค์กร/หน่วยงานผู้จัด :  Universiti Putra Malaysia Bintulu Campus เมือง Sarawak ประเทศมาเลเซีย

รายละเอียด : งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 7th Agricultural Engineering Annual Regional Convention 2021 (7th ARC2021) เป็นงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติของอาจารย์และนักศึกษาระดับปริญญาตรี โท และเอก ในภูมิภาคอาเซียนเข้านำเสนอผลงาน จัดโดย Universiti Putra Malaysia Bintulu Campus เมือง Sarawak ประเทศมาเลเซีย

ภายในงาน มีโปรแกรมการแข่งขันผลงานวิชาการและงานวิจัย ที่สามารถสร้างเครือข่ายของสถาบันในด้านอุตสาหกรรม และสังคม ระดับชาติและระดับนานาชาติ ผู้เข้าร่วมมาจากนักศึกษาระดับปริญญาตรี, โท, เอก และนักวิชาการจากหลายประเทศ เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และบรูไน

จากผลงานดังกล่าวเห็นได้ว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ส่งเสริม สนับสนุนเรียนรู้ การศึกษาวิจัย ในทุกระดับการศึกษาอย่างจริงจัง ซึ่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มุ่งสู่กลุ่มมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 2 กลุ่มการพัฒนาเทคโนโลยี และส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม ที่ตรงตามวิสัยทัศน์ในการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีความเป็นเลิศในระดับนานาชาติ และมียุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ปีที่ 100 (2477-2577) ในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต สร้างสังคมแห่งการ “กินดี” (Organiclive) “อยู่ดี” (Green growth) และ “มีสุข” (Eco System) สอดคล้องกับเป้าหมาย วิสัยทัศน์ของชาติ ในการสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเป้าหมายสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

ประเภทรางวัล : การประกวดโปสเตอร์ผลงานวิจัย

ระดับรางวัล (รางวัล) : รางวัลเหรียญเงิน Silver Medal

ระดับรางวัล (ภูมิประเทศ) : ระดับประเทศ/ระดับนานาชาติ

ปีที่ได้รับรางวัล : วันที่ 28 กรกฎาคม – 10 สิงหาคม พ.ศ. 2564 (ระยะเวลาตัดสินรางวัล 28 ก.ค. – 4 ส.ค. 2564), (พิธีปิดงาน 10 ส.ค. 2564)

สถานที่รับรางวัล : ออนไลน์

ชื่อของผลงาน : รางวัลจากผลงานวิจัย เรื่อง การพัฒนากระบวนการผลิตเม็ดมุกจากเฉาก๊วย (Process development of food beads from grass jelly) โดยนักศึกษาปริญญาโท นายอาทิตย์ ดุเจโตะ นายสิปปกร สวัสดิ์สุขโข และนายวีรวัฒน์ วงษ์ภักดี มีอาจารย์ที่ปรึกษาคือ ผศ.ดร.นักรบ นาคประสม และ ผศ.ดร.กาญจนา นาคประสม

เฉาก๊วยเป็นขนมหวานที่ได้รับความนิยมในไทยมาช้านาน และชานมไข่มุกกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบันเนื่องจากลักษณะกลมสีดำและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว การผลิตเฉาก๊วยเป็นทรงกลมจึงเป็นทางเลือกใหม่ให้ผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพ เนื่องจากเฉาก๊วยทำมาจากพืชที่รู้จักกันในชื่อ Hsian-Tsao หรือว่าหญ้าเฉาก๊วย ซึ่งอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระรวมถึงสารประกอบฟีนอลิก การผลิตเฉาก๊วยรูปทรงกลมนั้นจะต้องใช้แม่พิมพ์ในการขึ้นรูป ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาและแรงงานในการผลิต แต่ผลงานวิจัยนี้ได้ทำการนำเทคโนโลยีนวัตกรรมการห่อหุ้ม (encapsulation) มาใช้ในการผลิตซึ่งเป็นการช่วยลดระยะเวลาและลดแรงงาน อีกทั้งยังสามารถห่อหุ้มสารต้านอนุมูลอิสระรวมถึงสารประกอบฟีนอลิกที่อยู่ภายในเฉาก๊วยไว้ได้มากกว่า 80% ดังนั้นผู้บริโภคจะได้รับทั้งประโยชน์ และความแปลกใหม่ในการบริโภคไข่มุกเฉาก๊วยอีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิง : อาจารย์ – นศ.ป.โท/ป.เอก วิศวกรรมอาหาร ม.แม่โจ้ ได้รับ 4 รางวัลวิชาการระดับนานาชาติ งาน The 7th Agricultural Engineering Annual Regional Convention 2021 (7th ARC2021) ประเทศมาเลเซีย – Chiang Mai News

ข้อมูลผู้รับรางวัล : อาทิตย์ ดุเจโตะ, สิปปกร สวัสดิ์สุขโข, วีรวัฒน์ วงษ์ภักดี

 

Go to Top